บ้านนี้ของดีคือข้าว
อาชีพหลักของชาวบ้านเหม้าที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นนั่นก็คือ การประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก เราอาจเคยได้ยินชื่อเสียงของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้กันมาบ้าง ซึ่งที่บ้านเหม้านี่เอง ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญ นอกเหนือจากความหอมเฉพาะตัว และความนุ่มของข้าวหอมมะลิที่ทำให้คนทั่วโลกติดใจแล้ว ชาวบ้านที่นี่ยังรู้จักพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในช่วงที่ข้าวราคาตกต่ำ ด้วยการคิดทำชาใบข้าวหอมมะลิ เพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วย ซึ่งชาจากใบอ่อนของข้าวหอมมะลิก็ยังมีความหอม จิบอุ่น ๆ แล้วยังให้ประโยชน์อีกด้วย
มาเยือนแล้วต้องมากิน
นอกจากที่บ้านเหม้า จะเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญแล้ว ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมในหมู่บ้าน ก็ทำให้อาหารการกินของผู้คนที่นี่อุดมสมบูรณ์ตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นพืชผักต่าง ๆ หรือแม้แต่ปลาที่อยู่ตามแหล่งน้ำ ก็ล้วนแล้วแต่นำมาทำอาหารง่าย ๆ ตามแบบฉบับของชาวบ้านเหม้าได้ทั้งสิ้น ซึ่งอาหารแต่ละชนิดของที่นี่ ก็จะมีชื่อน่ารัก ๆ ที่ชาวบ้านตั้งเพื่อเรียกกันเอง เช่น ห่อหมกเสน่ห์หา แกงลุยสวน น้องนางแปลงกาย หรือแม้แต่อาหารกินเล่นอย่าง ข้าวต้มมัดใจ และบวดสามเกลอ ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารหลักประจำบ้านทั้งสิ้น
สัมผัสวิถีชาวบ้านเหม้า
ชาวบ้านเหม้ามีวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย คงความเป็นตัวตนของตนเองอยู่เสมอ ในช่วงเช้าของทุกวัน ชาวบ้านจะเข้าวัด ทำบุญ ฟังเทศน์ฟังธรรมกันอย่างสม่ำเสมอ หลังกลับจากวัดก็จะแยกย้ายกันไปทำภารกิจของตนเอง ซึ่งนอกจากการทำนาและปลูกผักแล้ว ยังมีชาวบ้านบางส่วนที่เลี้ยงไหมและทอผ้า ซึ่งมีทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ร่วมกัน อีกหนึ่งเสน่ห์ของชาวบ้านเหม้า คือไม่ว่าจะทำอะไร มักจะร่วมมือร่วมใจกัน ช่วยเหลือกันด้วยความสามัคคี เมื่อถึงช่วงคล้อยบ่าย ชาวบ้านก็จะนำผลิตผลของตนไปวางขายที่ตลาดวังมัจฉา ซึ่งเป็นตลาดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านได้นำผลิตภัณฑ์และผลิตผลของตนมาวางขาย เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน นอกจากนี้ผู้ซื้อยังได้ของที่ดี มีคุณภาพ ในราคาไม่แพงอีกด้วย
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย ตอน อบอุ่นด้วยไมตรี ที่บ้านเหม้า จ.ร้อยเอ็ด วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2561 เวลา 16.30 - 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านนี้ของดีคือข้าว
อาชีพหลักของชาวบ้านเหม้าที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นนั่นก็คือ การประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก เราอาจเคยได้ยินชื่อเสียงของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้กันมาบ้าง ซึ่งที่บ้านเหม้านี่เอง ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญ นอกเหนือจากความหอมเฉพาะตัว และความนุ่มของข้าวหอมมะลิที่ทำให้คนทั่วโลกติดใจแล้ว ชาวบ้านที่นี่ยังรู้จักพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในช่วงที่ข้าวราคาตกต่ำ ด้วยการคิดทำชาใบข้าวหอมมะลิ เพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วย ซึ่งชาจากใบอ่อนของข้าวหอมมะลิก็ยังมีความหอม จิบอุ่น ๆ แล้วยังให้ประโยชน์อีกด้วย
มาเยือนแล้วต้องมากิน
นอกจากที่บ้านเหม้า จะเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญแล้ว ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมในหมู่บ้าน ก็ทำให้อาหารการกินของผู้คนที่นี่อุดมสมบูรณ์ตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นพืชผักต่าง ๆ หรือแม้แต่ปลาที่อยู่ตามแหล่งน้ำ ก็ล้วนแล้วแต่นำมาทำอาหารง่าย ๆ ตามแบบฉบับของชาวบ้านเหม้าได้ทั้งสิ้น ซึ่งอาหารแต่ละชนิดของที่นี่ ก็จะมีชื่อน่ารัก ๆ ที่ชาวบ้านตั้งเพื่อเรียกกันเอง เช่น ห่อหมกเสน่ห์หา แกงลุยสวน น้องนางแปลงกาย หรือแม้แต่อาหารกินเล่นอย่าง ข้าวต้มมัดใจ และบวดสามเกลอ ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารหลักประจำบ้านทั้งสิ้น
สัมผัสวิถีชาวบ้านเหม้า
ชาวบ้านเหม้ามีวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย คงความเป็นตัวตนของตนเองอยู่เสมอ ในช่วงเช้าของทุกวัน ชาวบ้านจะเข้าวัด ทำบุญ ฟังเทศน์ฟังธรรมกันอย่างสม่ำเสมอ หลังกลับจากวัดก็จะแยกย้ายกันไปทำภารกิจของตนเอง ซึ่งนอกจากการทำนาและปลูกผักแล้ว ยังมีชาวบ้านบางส่วนที่เลี้ยงไหมและทอผ้า ซึ่งมีทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ร่วมกัน อีกหนึ่งเสน่ห์ของชาวบ้านเหม้า คือไม่ว่าจะทำอะไร มักจะร่วมมือร่วมใจกัน ช่วยเหลือกันด้วยความสามัคคี เมื่อถึงช่วงคล้อยบ่าย ชาวบ้านก็จะนำผลิตผลของตนไปวางขายที่ตลาดวังมัจฉา ซึ่งเป็นตลาดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านได้นำผลิตภัณฑ์และผลิตผลของตนมาวางขาย เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน นอกจากนี้ผู้ซื้อยังได้ของที่ดี มีคุณภาพ ในราคาไม่แพงอีกด้วย
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย ตอน อบอุ่นด้วยไมตรี ที่บ้านเหม้า จ.ร้อยเอ็ด วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2561 เวลา 16.30 - 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live