งานจักสานลายโบราณ บ้านโพธิ์ศรี
บ้านโพธิ์ศรี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีอาชีพทำนาเป็นหลัก แต่ก็ยังสามารถแบ่งเวลาว่างมาทำอาชีพเสริมโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาสานต่องานฝีมือที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษสำหรับชาวไทพวนแห่งบ้านโพธิ์ศรีเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการจักสานจากไผ่และหวาย ลวดลายโบราณ (ลายดอกพิกุล) เป็นหนึ่งในหมู่บ้านสินค้า OTOP เมื่อก่อนทำเพื่อใช้สอยในครัวเรือน ต่อมาเห็นว่าขายได้ จึงรวมกลุ่มกันทำเพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้หลังว่างเว้นจากการทำนาหรือใช้เวลาว่างในช่วงไปออกนา ทำงานจักสาน เช่น ตะแกรงตากปลา กระบุงสำหรับหว่านข้าว และทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านจึงทำงานด้านการจักสานมายาวนาน และช่วยกันสืบทอดกันรุ่นสู่รุ่น
วัฒนธรรมถิ่นชาวไทพวน
หมู่บ้านไทพวน เอกลักษณ์ของชาวบ้านก็คือจะอยู่กันอย่างพี่น้อง มีภาษาพูดที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน มีความเอื้ออารีต่อกัน มีความรัก ความสามัคคีในชุมชน มีการจัดสรรหมู่บ้านอย่างสวยงาม มีถนนหนทางตัดรอบไปทั้งหมู่บ้านทุกซอกทุกซอย รั้วบ้านทุกหลังในหมู่บ้านเป็นต้นไม้เล็กๆ จะไม่มีรั้วที่เป็นปูนหรือเหล็กให้เห็น บ้านเรือนของชาวไทพวนสวยงามเป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรมการปลูกบ้านทรงไทยเพื่ออยู่อาศัย มีวัฒนธรรมการแต่งกายของชาย หญิง วัฒนธรรมการบายศรีสู่ขวัญ วัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดงและเครื่องดนตรีจากพิณและแคน และวัฒนธรรมการหาบสำรับกับข้าวคาวหวานเพื่อต้อนรับแขกบ้านในลานโล่ง เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจในวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทพวนที่หาชมไม่ได้ในจังหวัดอื่น
ทำมาหากิน ถิ่นอู่ข้าว อู่น้ำ
บ้านโพธิ์ศรีเป็นชุมชนชาวไทพวน ทำการเกษตรปลูกข้าว เลี้ยงปลา ทำปลาร้า เรื่องอาหารพื้นบ้านของชาวบ้านที่นี่คือ ปลาดุกต้มน้ำปลาร้า แจ่วปลาป่นแกล้มกับผักต้มต่างๆ ที่หาได้ตามธรรมชาติและแกงหน่อไม้เปรี้ยวใส่กระดูกหมู รสชาติ แซ่บ หอม ถึงเครื่อง สมเป็นถิ่นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของชาวบ้านที่นี่ คือ ชุมชนที่มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ ชาวบ้านอัธยาศัยดี และในชุมชนบ้านโพธิ์ศรียังมีบ้านพักโฮมสเตย์ อยู่ทั้งหมด 10 หลัง บรรยากาศที่ยังคงรักษาวิถีถิ่นของชาวบ้านในชุมชนชาวไทพวน ยังรอให้นักท่องเที่ยวเข้าสัมผัสกับความน่ารักของชาวบ้าน ที่บ้านโพธิ์ศรี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย ตอน วิถีไทพวนบ้านโพธิ์ศรี บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี วันเสาร์ที่ 30 กันยายนนี้ เวลา 16.30 -17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
งานจักสานลายโบราณ บ้านโพธิ์ศรี
บ้านโพธิ์ศรี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีอาชีพทำนาเป็นหลัก แต่ก็ยังสามารถแบ่งเวลาว่างมาทำอาชีพเสริมโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาสานต่องานฝีมือที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษสำหรับชาวไทพวนแห่งบ้านโพธิ์ศรีเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการจักสานจากไผ่และหวาย ลวดลายโบราณ (ลายดอกพิกุล) เป็นหนึ่งในหมู่บ้านสินค้า OTOP เมื่อก่อนทำเพื่อใช้สอยในครัวเรือน ต่อมาเห็นว่าขายได้ จึงรวมกลุ่มกันทำเพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้หลังว่างเว้นจากการทำนาหรือใช้เวลาว่างในช่วงไปออกนา ทำงานจักสาน เช่น ตะแกรงตากปลา กระบุงสำหรับหว่านข้าว และทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านจึงทำงานด้านการจักสานมายาวนาน และช่วยกันสืบทอดกันรุ่นสู่รุ่น
วัฒนธรรมถิ่นชาวไทพวน
หมู่บ้านไทพวน เอกลักษณ์ของชาวบ้านก็คือจะอยู่กันอย่างพี่น้อง มีภาษาพูดที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน มีความเอื้ออารีต่อกัน มีความรัก ความสามัคคีในชุมชน มีการจัดสรรหมู่บ้านอย่างสวยงาม มีถนนหนทางตัดรอบไปทั้งหมู่บ้านทุกซอกทุกซอย รั้วบ้านทุกหลังในหมู่บ้านเป็นต้นไม้เล็กๆ จะไม่มีรั้วที่เป็นปูนหรือเหล็กให้เห็น บ้านเรือนของชาวไทพวนสวยงามเป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรมการปลูกบ้านทรงไทยเพื่ออยู่อาศัย มีวัฒนธรรมการแต่งกายของชาย หญิง วัฒนธรรมการบายศรีสู่ขวัญ วัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดงและเครื่องดนตรีจากพิณและแคน และวัฒนธรรมการหาบสำรับกับข้าวคาวหวานเพื่อต้อนรับแขกบ้านในลานโล่ง เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจในวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทพวนที่หาชมไม่ได้ในจังหวัดอื่น
ทำมาหากิน ถิ่นอู่ข้าว อู่น้ำ
บ้านโพธิ์ศรีเป็นชุมชนชาวไทพวน ทำการเกษตรปลูกข้าว เลี้ยงปลา ทำปลาร้า เรื่องอาหารพื้นบ้านของชาวบ้านที่นี่คือ ปลาดุกต้มน้ำปลาร้า แจ่วปลาป่นแกล้มกับผักต้มต่างๆ ที่หาได้ตามธรรมชาติและแกงหน่อไม้เปรี้ยวใส่กระดูกหมู รสชาติ แซ่บ หอม ถึงเครื่อง สมเป็นถิ่นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของชาวบ้านที่นี่ คือ ชุมชนที่มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ ชาวบ้านอัธยาศัยดี และในชุมชนบ้านโพธิ์ศรียังมีบ้านพักโฮมสเตย์ อยู่ทั้งหมด 10 หลัง บรรยากาศที่ยังคงรักษาวิถีถิ่นของชาวบ้านในชุมชนชาวไทพวน ยังรอให้นักท่องเที่ยวเข้าสัมผัสกับความน่ารักของชาวบ้าน ที่บ้านโพธิ์ศรี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย ตอน วิถีไทพวนบ้านโพธิ์ศรี บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี วันเสาร์ที่ 30 กันยายนนี้ เวลา 16.30 -17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live