ความเชื่อสู่การละเล่น
ผีขนน้ำ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวนาซ่าว ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย การเล่นผีขนน้ำของชาวบ้านนาซ่าว ไม่มีประวัติว่าเล่นครั้งแรกเมื่อใด แต่ชาวบ้านได้สืบสานมาเป็นประเพณีเช่นบรรพบุรุษที่เคยปฏิบัติกันมาทุกปี ชาวบ้านถือเอาช่วงก่อนที่จะมีการลงมือทำการเกษตร จัดทำบุญเดือนหก ประมาณวันแรม 1 ค่ำ ของทุกปีเพื่อเป็นการขอฟ้าขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล และก่อนการละเล่นผีขนน้ำต้องจัดพิธีการเลี้ยงบ้าน เพื่อเป็นการบวงสรวงศาลเจ้าปู่ ชาวบ้านจัดหาข้าวปลาอาหารและของบวงสรวงต่าง ๆ ไปประกอบพิธีกันที่ดอนหอ "ศาลเจ้าปู่" ของหมู่บ้าน การทำพิธีบวงสรวงนั้นจะอัญเชิญผีเจ้าปู่และผีบรรพบุรุษต่าง ๆ ลงมากินเครื่องเซ่นตามที่จัดหาไว้ หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการเลี้ยงผีบ้านก็จะมีการฉลองด้วยการร้องรำทำเพลง ซึ่งพิธีเลี้ยงบ้านนี้จะทำกันปีละครั้งเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ ที่ผีปู่ผีย่า ตลอดจนผีบรรพบุรุษในหมู่บ้าน ได้ปกปักรักษา คุ้มครองตนและชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขทำมาหากินได้อย่างอุดมสมบูรณ์
แห่ดอกไม้เข้าผาม พิธีของชาวนาซ่าว
วันโฮมเป็นเป็นแรกของชาวนาซ่าวที่มารวมตัวกัน เพื่อเปิดพิธีของประเพณีบุญเดือนหก ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก ชาวบ้านรวมกันแห่ดอกไม้เข้าผาม เพื่อเป็นการนำดอกไม้เข้าไปกราบไหว้ บูชายังวัดโพธิ์ศรี ขบวนแห่นั้นประกอบด้วยนางเทียมร่างทรงของเจ้าปู่จิรมาณพ นางเทียมเจ้าปู่ผ่านพิภพ จ้ำ นางแต่ง ผีขน และชาวบ้านจากคุ้มต่าง ๆ ในหมู่บ้านเดินแห่เป็นขบวนไปรอบหมู่บ้าน ตีฆ้อง ตีกลอง ปรบมือ ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน
สืบสานเพื่อคงอยู่
ประเพณีบุญเดือนหก หรือ " ผีขนน้ำ" หากผู้เล่นยังเก็บรักษาของเดิมไว้ก็สามารถนำกลับมาเล่นใหม่ได้อีก โดยตกแต่งทาสีใหม่ ให้ดูสดและเข้มขึ้น แต่ส่วนมากผู้เล่นผีขนน้ำมักจะทำหัวผีขนน้ำขึ้นมาใหม่ ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ก็หาได้ไม่ยาก ใช้เวลาทำและตกแต่งไม่นาน หน้ากากหัวผีขนน้ำนั้นจะนำเอาไม้เนื้ออ่อนที่มีขนาดพอเหมาะมาเกาะสลักเป็นรูปหน้ากากตามจินตนาการของแต่ละคนเพื่อให้ดูน่ากลัว แล้วตกแต่งให้หลากสี ส่วนตัวผีโขนจะใช้ผ้าที่นอนเก่าที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นตัวเสื้อ ซึ่งให้นุ่นที่ติดอยู่กับที่นอนนั้นฟุ้งกระจายไปทั่วตอนที่เต้นรำ และมีการให้จังหวะด้วยการตีเคาะหรือขอลอ และโป่ง มัดติดด้านหลังลำตัว สำหรับผู้ที่เดินร่วมขบวนก็จะตีกลองตีเคาะ เป่าแคนดีดพิณ เพื่อให้เกิดจังหวะอย่างสนุกสนานสลับกันไป
มีการประกวดแข่งขันการเดินขนวบการทำหน้ากากของแต่ละคุ้มงานบุญนี้ยังมีจุดบั้งไฟให้เสียงดัง เพื่อเป็นการขอฟ้าขอฝนอีกด้วย หากนักท่องเที่ยวที่ได้เข้าไปสัมผัสกับประเพณีนี้จะมีความตื่นตาตื่นใจ ทั้งหน้ากากผีขนน้ำและชุดที่แปลกตาที่จะไม่ได้พบเจอในจังหวัดอื่น
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย ตอน สืบสาน ประเพณีผีขนน้ำ บ้านนาซ่าว จ.เลย วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายนนี้ เวลา 16.30 -17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ความเชื่อสู่การละเล่น
ผีขนน้ำ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวนาซ่าว ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย การเล่นผีขนน้ำของชาวบ้านนาซ่าว ไม่มีประวัติว่าเล่นครั้งแรกเมื่อใด แต่ชาวบ้านได้สืบสานมาเป็นประเพณีเช่นบรรพบุรุษที่เคยปฏิบัติกันมาทุกปี ชาวบ้านถือเอาช่วงก่อนที่จะมีการลงมือทำการเกษตร จัดทำบุญเดือนหก ประมาณวันแรม 1 ค่ำ ของทุกปีเพื่อเป็นการขอฟ้าขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล และก่อนการละเล่นผีขนน้ำต้องจัดพิธีการเลี้ยงบ้าน เพื่อเป็นการบวงสรวงศาลเจ้าปู่ ชาวบ้านจัดหาข้าวปลาอาหารและของบวงสรวงต่าง ๆ ไปประกอบพิธีกันที่ดอนหอ "ศาลเจ้าปู่" ของหมู่บ้าน การทำพิธีบวงสรวงนั้นจะอัญเชิญผีเจ้าปู่และผีบรรพบุรุษต่าง ๆ ลงมากินเครื่องเซ่นตามที่จัดหาไว้ หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการเลี้ยงผีบ้านก็จะมีการฉลองด้วยการร้องรำทำเพลง ซึ่งพิธีเลี้ยงบ้านนี้จะทำกันปีละครั้งเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ ที่ผีปู่ผีย่า ตลอดจนผีบรรพบุรุษในหมู่บ้าน ได้ปกปักรักษา คุ้มครองตนและชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขทำมาหากินได้อย่างอุดมสมบูรณ์
แห่ดอกไม้เข้าผาม พิธีของชาวนาซ่าว
วันโฮมเป็นเป็นแรกของชาวนาซ่าวที่มารวมตัวกัน เพื่อเปิดพิธีของประเพณีบุญเดือนหก ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก ชาวบ้านรวมกันแห่ดอกไม้เข้าผาม เพื่อเป็นการนำดอกไม้เข้าไปกราบไหว้ บูชายังวัดโพธิ์ศรี ขบวนแห่นั้นประกอบด้วยนางเทียมร่างทรงของเจ้าปู่จิรมาณพ นางเทียมเจ้าปู่ผ่านพิภพ จ้ำ นางแต่ง ผีขน และชาวบ้านจากคุ้มต่าง ๆ ในหมู่บ้านเดินแห่เป็นขบวนไปรอบหมู่บ้าน ตีฆ้อง ตีกลอง ปรบมือ ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน
สืบสานเพื่อคงอยู่
ประเพณีบุญเดือนหก หรือ " ผีขนน้ำ" หากผู้เล่นยังเก็บรักษาของเดิมไว้ก็สามารถนำกลับมาเล่นใหม่ได้อีก โดยตกแต่งทาสีใหม่ ให้ดูสดและเข้มขึ้น แต่ส่วนมากผู้เล่นผีขนน้ำมักจะทำหัวผีขนน้ำขึ้นมาใหม่ ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ก็หาได้ไม่ยาก ใช้เวลาทำและตกแต่งไม่นาน หน้ากากหัวผีขนน้ำนั้นจะนำเอาไม้เนื้ออ่อนที่มีขนาดพอเหมาะมาเกาะสลักเป็นรูปหน้ากากตามจินตนาการของแต่ละคนเพื่อให้ดูน่ากลัว แล้วตกแต่งให้หลากสี ส่วนตัวผีโขนจะใช้ผ้าที่นอนเก่าที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นตัวเสื้อ ซึ่งให้นุ่นที่ติดอยู่กับที่นอนนั้นฟุ้งกระจายไปทั่วตอนที่เต้นรำ และมีการให้จังหวะด้วยการตีเคาะหรือขอลอ และโป่ง มัดติดด้านหลังลำตัว สำหรับผู้ที่เดินร่วมขบวนก็จะตีกลองตีเคาะ เป่าแคนดีดพิณ เพื่อให้เกิดจังหวะอย่างสนุกสนานสลับกันไป
มีการประกวดแข่งขันการเดินขนวบการทำหน้ากากของแต่ละคุ้มงานบุญนี้ยังมีจุดบั้งไฟให้เสียงดัง เพื่อเป็นการขอฟ้าขอฝนอีกด้วย หากนักท่องเที่ยวที่ได้เข้าไปสัมผัสกับประเพณีนี้จะมีความตื่นตาตื่นใจ ทั้งหน้ากากผีขนน้ำและชุดที่แปลกตาที่จะไม่ได้พบเจอในจังหวัดอื่น
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย ตอน สืบสาน ประเพณีผีขนน้ำ บ้านนาซ่าว จ.เลย วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายนนี้ เวลา 16.30 -17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live