เสียงดนตรีจากถิ่นบ้านเกิด
บ้านท่าเรือ นับเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีความเป็นอยู่บนวิถีแห่งภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น สานต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะการร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาในเรื่องการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน แหล่งผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ได้รับฉายาว่า "หมู่บ้านแห่งเสียงดนตรี" ภูมิปัญญาในด้านการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน คือ การทำแคน พิณ โหวต โปงลาง นับเป็นเอกลักษณ์ที่สร้างคุณค่า และรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่องจากบรรพบุรุษ ยังมีการทอผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ ประณีต มีลวดลายพื้นบ้าน เพื่อช่วยกันสืบสานคุณค่าแห่งภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
หลังฤดูทำนา ชาวบ้านบ้านท่าเรือจะออกมานั่งทำเครื่องดนตรีตามร่มไม้ชายคาหน้าบ้าน ไม่ว่าหญิงหรือชาย ก็ทำเครื่องดนตรีกันทุกบ้าน ในยามว่างเว้นจากการทำเครื่องดนตรี ก็ยังมีการทำการเกษตร เกือบทุกครัวเรือนจะไปร่วมกันปลูกพืช ผักสวนครัว สวนแตง ไว้กิน เหลือจากการกินก็นำไปขาย
และในหมู่บ้านยังมี โครงการธนาคารโค กระบือเพื่อการเกษตรกร ตามพระราชดำริ มีศูนย์หัตถกรรมผ้าไหม ที่ได้รับรางวัลจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
เป็นการสร้างและต่อยอดงานและอาชีพให้แข็งแรงมากขึ้น บ้านท่าเรือยังมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาถึงสามร้อยกว่าปี คือ เนินประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่ยากที่จะเข้าไปสัมผัส ความสวยงามแห่งธรรมชาติและการรักษาวิถีท้องถิ่นที่เหนียวแน่นจะทำให้การสืบสานแห่งเสียงดนตรีพื้นบ้าน บ้านท่าเรือจะยังคงอยู่ตลอดไป
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคมนี้ เวลา 16.30 -17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เสียงดนตรีจากถิ่นบ้านเกิด
บ้านท่าเรือ นับเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีความเป็นอยู่บนวิถีแห่งภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น สานต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะการร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาในเรื่องการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน แหล่งผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ได้รับฉายาว่า "หมู่บ้านแห่งเสียงดนตรี" ภูมิปัญญาในด้านการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน คือ การทำแคน พิณ โหวต โปงลาง นับเป็นเอกลักษณ์ที่สร้างคุณค่า และรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่องจากบรรพบุรุษ ยังมีการทอผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ ประณีต มีลวดลายพื้นบ้าน เพื่อช่วยกันสืบสานคุณค่าแห่งภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
หลังฤดูทำนา ชาวบ้านบ้านท่าเรือจะออกมานั่งทำเครื่องดนตรีตามร่มไม้ชายคาหน้าบ้าน ไม่ว่าหญิงหรือชาย ก็ทำเครื่องดนตรีกันทุกบ้าน ในยามว่างเว้นจากการทำเครื่องดนตรี ก็ยังมีการทำการเกษตร เกือบทุกครัวเรือนจะไปร่วมกันปลูกพืช ผักสวนครัว สวนแตง ไว้กิน เหลือจากการกินก็นำไปขาย
และในหมู่บ้านยังมี โครงการธนาคารโค กระบือเพื่อการเกษตรกร ตามพระราชดำริ มีศูนย์หัตถกรรมผ้าไหม ที่ได้รับรางวัลจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
เป็นการสร้างและต่อยอดงานและอาชีพให้แข็งแรงมากขึ้น บ้านท่าเรือยังมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาถึงสามร้อยกว่าปี คือ เนินประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่ยากที่จะเข้าไปสัมผัส ความสวยงามแห่งธรรมชาติและการรักษาวิถีท้องถิ่นที่เหนียวแน่นจะทำให้การสืบสานแห่งเสียงดนตรีพื้นบ้าน บ้านท่าเรือจะยังคงอยู่ตลอดไป
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคมนี้ เวลา 16.30 -17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live