การพัฒนาควบคู่กับการอนุรักษ์ โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณตลาดน้ำอัมพวา เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนานำที่ดินที่คุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ชาวอัมพวา น้อมเกล้าฯ ถวายมาดำเนินการพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอัมพวา สืบสานภูมิปัญญาชาวบ้าน และอนุรักษ์วิถีการดำเนินชีวิตของชาวอัมพวา
โดยนำหลักการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภูมิสังคมและ พระราชดำริ -เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางและหลักการดำเนินงานที่สำคัญ เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนาและชาวอัมพวา ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีการดำรงชีวิตชุมชนอัมพวาให้สามารถอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง เรียบง่าย ยั่งยืน และมีความสุข
โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ เป็นเหมือนห้องรับแขกของชุมชนที่บอกเล่าวิถีแห่งอัมพวาในอดีตได้เป็นอย่างดี ภายในโครงการแบ่งพื้นที่ออกเป็นโซนต่างๆ ได้แก่ การเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง สวนสาธิตการเกษตรเพื่อการเรียนรู้ ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับจัดกิจกรรมและจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมีร้านค้าชุมชน ร้านชานชาลาที่จำหน่าย เครื่องดื่มและของว่าง ท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่นและวิถีชีวิตริมคลองอัมพวา เครื่องดื่มแสนพิเศษของที่นี่คือ น้ำม่วงชื่นชานชาลา สูตรของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นอกจากนี้ภายในโครงการยังมีกิจกรรมต่างๆให้เรียนรู้ รวมถึงภูมิปัญญาด้านการทำขนมไทยและขนมท้องถิ่นต่างๆ น้ำตาลมะพร้าว ของดีอัมพวา สู่การเพิ่มมูลค่าสินค้าชาวสวน
โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาโดยใช้องค์ความรู้สมัยใหม่ที่คำนึงถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อมๆกัน เช่นการเพิ่มมูลค่าน้ำตาลมะพร้าวจากสินค้าธรรมดาที่ชาวสวนเชื่อว่าขายไม่ได้ นำมาเปลี่ยนรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ และผสานกับหลักการตลาด เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาที่สวนเพื่อมาดูวิธีการทำเห็นกระบวนการทำงาน และลองชิม จนกลายเป็นสินค้าของฝากที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ ทำให้ชาวสวนมีรายได้
ทั้งหมดเป็นการสร้างอาชีพ สร้างสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดคุณค่าและประโยชน์สูงสุด ดังเช่นที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงวางรากฐานไว้
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย วันเสาร์ที่ 7 มกราคมนี้ เวลา 16.30 -17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
การพัฒนาควบคู่กับการอนุรักษ์ โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณตลาดน้ำอัมพวา เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนานำที่ดินที่คุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ชาวอัมพวา น้อมเกล้าฯ ถวายมาดำเนินการพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอัมพวา สืบสานภูมิปัญญาชาวบ้าน และอนุรักษ์วิถีการดำเนินชีวิตของชาวอัมพวา
โดยนำหลักการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภูมิสังคมและ พระราชดำริ -เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางและหลักการดำเนินงานที่สำคัญ เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนาและชาวอัมพวา ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีการดำรงชีวิตชุมชนอัมพวาให้สามารถอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง เรียบง่าย ยั่งยืน และมีความสุข
โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ เป็นเหมือนห้องรับแขกของชุมชนที่บอกเล่าวิถีแห่งอัมพวาในอดีตได้เป็นอย่างดี ภายในโครงการแบ่งพื้นที่ออกเป็นโซนต่างๆ ได้แก่ การเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง สวนสาธิตการเกษตรเพื่อการเรียนรู้ ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับจัดกิจกรรมและจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมีร้านค้าชุมชน ร้านชานชาลาที่จำหน่าย เครื่องดื่มและของว่าง ท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่นและวิถีชีวิตริมคลองอัมพวา เครื่องดื่มแสนพิเศษของที่นี่คือ น้ำม่วงชื่นชานชาลา สูตรของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นอกจากนี้ภายในโครงการยังมีกิจกรรมต่างๆให้เรียนรู้ รวมถึงภูมิปัญญาด้านการทำขนมไทยและขนมท้องถิ่นต่างๆ น้ำตาลมะพร้าว ของดีอัมพวา สู่การเพิ่มมูลค่าสินค้าชาวสวน
โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาโดยใช้องค์ความรู้สมัยใหม่ที่คำนึงถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อมๆกัน เช่นการเพิ่มมูลค่าน้ำตาลมะพร้าวจากสินค้าธรรมดาที่ชาวสวนเชื่อว่าขายไม่ได้ นำมาเปลี่ยนรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ และผสานกับหลักการตลาด เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาที่สวนเพื่อมาดูวิธีการทำเห็นกระบวนการทำงาน และลองชิม จนกลายเป็นสินค้าของฝากที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ ทำให้ชาวสวนมีรายได้
ทั้งหมดเป็นการสร้างอาชีพ สร้างสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดคุณค่าและประโยชน์สูงสุด ดังเช่นที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงวางรากฐานไว้
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย วันเสาร์ที่ 7 มกราคมนี้ เวลา 16.30 -17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live