*** รายการท่องโลกกว้าง เป็นรายการที่ติดลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จึงไม่มีให้บริการชมย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์ รับชมได้เฉพาะหน้าจอไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3
สุดยอดวิศวกรรมน่าทึ่ง ตอน สถานีอวกาศนานาชาติ IMPOSSIBLE ENGINEERING : INTERNATIONAL SPACE STATION
การสำรวจอวกาศได้เข้าสู่ยุคใหม่ หลังความก้าวหน้าทางเทคนิคหลายทศวรรษ วิศวกรอวกาศใกล้จะส่งนักบินอวกาศชุดแรกไปสำรวจดาวอังคารแล้ว สิ่งที่พวกเขาพบที่นั่น อาจเปลี่ยนเส้นทางมนุษยชาติ และเป็นคำตอบให้การตั้งอาณานิคมอวกาศ
หัวใจสำคัญของการทำให้ภารกิจนี้เป็นไปได้คืองานของสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งเป็นที่ตั้งของการทดลองใหม่ ๆ และสถานีนี้ก็ถูกตั้งค่าใหม่ให้สามารถจอดยานอวกาศเอกชนฝูงใหม่ได้ ซึ่งจะไม่เพียงแต่นำเสบียงมาให้ แต่ในปี 2017 จะนำส่งนักบินอวกาศด้วย
ไอเอสเอสเป็นหนึ่งในโครงการทางวิศวกรรมวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนที่สุดที่เคยเกิดขึ้น และเป็นเทหวัตถุเทียมที่ใหญ่ที่สุดในอวกาศ สถานีที่สร้างขึ้นในวงโคจรนี้ประกอบด้วยโมดูลอัดความดัน ใช้พลังไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ที่กว้างถึง 58 เมตร ผลิตไฟฟ้าได้แผงละ 32.8 กิโลวัตต์ เดินทางได้เร็ว 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โคจรรอบโลกวันละเกือบ 16 รอบ เครื่องจักรน่าทึ่งนี้กำลังทำงานได้เต็มศักยภาพ และเป็นจุดที่เหมาะกับการทดสอบเทคโนโลยีสำหรับยุคใหม่
ติดตามชมรายการท่องโลกกว้าง วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 18.00 - 18.50 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
*** รายการท่องโลกกว้าง เป็นรายการที่ติดลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จึงไม่มีให้บริการชมย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์ รับชมได้เฉพาะหน้าจอไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3
สุดยอดวิศวกรรมน่าทึ่ง ตอน สถานีอวกาศนานาชาติ IMPOSSIBLE ENGINEERING : INTERNATIONAL SPACE STATION
การสำรวจอวกาศได้เข้าสู่ยุคใหม่ หลังความก้าวหน้าทางเทคนิคหลายทศวรรษ วิศวกรอวกาศใกล้จะส่งนักบินอวกาศชุดแรกไปสำรวจดาวอังคารแล้ว สิ่งที่พวกเขาพบที่นั่น อาจเปลี่ยนเส้นทางมนุษยชาติ และเป็นคำตอบให้การตั้งอาณานิคมอวกาศ
หัวใจสำคัญของการทำให้ภารกิจนี้เป็นไปได้คืองานของสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งเป็นที่ตั้งของการทดลองใหม่ ๆ และสถานีนี้ก็ถูกตั้งค่าใหม่ให้สามารถจอดยานอวกาศเอกชนฝูงใหม่ได้ ซึ่งจะไม่เพียงแต่นำเสบียงมาให้ แต่ในปี 2017 จะนำส่งนักบินอวกาศด้วย
ไอเอสเอสเป็นหนึ่งในโครงการทางวิศวกรรมวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนที่สุดที่เคยเกิดขึ้น และเป็นเทหวัตถุเทียมที่ใหญ่ที่สุดในอวกาศ สถานีที่สร้างขึ้นในวงโคจรนี้ประกอบด้วยโมดูลอัดความดัน ใช้พลังไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ที่กว้างถึง 58 เมตร ผลิตไฟฟ้าได้แผงละ 32.8 กิโลวัตต์ เดินทางได้เร็ว 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โคจรรอบโลกวันละเกือบ 16 รอบ เครื่องจักรน่าทึ่งนี้กำลังทำงานได้เต็มศักยภาพ และเป็นจุดที่เหมาะกับการทดสอบเทคโนโลยีสำหรับยุคใหม่
ติดตามชมรายการท่องโลกกว้าง วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 18.00 - 18.50 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live