ในยุคที่โลกออนไลน์เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน การสร้างมิตรภาพผ่านความชอบหรือความสนใจที่คล้ายคลึงกันเป็นเรื่องง่าย แต่น่าเป็นห่วงว่า "มิตรภาพ" เหล่านี้อาจกลายเป็น "มิจฉาชีพ" หรือ "สแกมเมอร์" ที่หลอกล่อให้เราตายใจและหลงเชื่อ จนยอมให้ข้อมูลส่วนตัวสำคัญ ก่อให้เกิดความสูญเสียโดยไม่ทันตั้งตัว
TIC TAC TECH เรื่องไม่เล็กเทคโนโลยี ได้ทดสอบภูมิคุ้มกันการหลอกลวงออนไลน์ผ่านกิจกรรม "ภารกิจลับจับจุดคนใจอ่อน" โดยทีมงานได้จัดบูธกิจกรรมให้นักศึกษามหาวิทยาลัยกรอกแบบสอบถามเพื่อหาเพื่อนร่วมกลุ่มคอมมิวนิตี้ตามไลฟ์สไตล์ที่ชื่นชอบ แบบสอบถามนี้แบ่งเป็นระดับของข้อมูลที่ต้องกรอก ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวอย่างเลขบัตรประชาชนและเลขบัญชีธนาคาร
ผลการทดสอบพบว่าจากอาสาสมัคร 35 คน มีถึง 26 คนที่หลงให้ข้อมูลกับทีมงานทั้งหมด มีเพียง 9 คนเท่านั้นที่ไหวตัวทัน นักศึกษาหลายคนเอะใจกับแบบสอบถาม โดยสังเกตว่าไม่มีชื่อบริษัทหรือแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน รวมถึงการถามข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายที่ควรระวัง ขณะที่บางคนกรอกข้อมูลไปแบบมั่วๆ เพื่อป้องกันตัวเอง แต่หลายคนก็ยังให้ข้อมูลไปด้วยความไว้ใจหรือถูกล่อด้วยของแถม ที่น่าสนใจคือ นักศึกษาหลายคนเคยมีประสบการณ์โดนสแกมเมอร์หลอกมาก่อน โดยเฉพาะการชวนทำงานออนไลน์ หรือแอดมินตอบแชท แต่กระนั้นก็ยังหลงเชื่อและให้ข้อมูลกับทีมงานอยู่ดี สะท้อนให้เห็นว่าแม้จะเคยมีประสบการณ์ แต่หากไม่ระมัดระวังก็ยังมีโอกาสตกเป็นเหยื่อได้อีก
รองศาสตราจารย์จากศูนย์ทนายความไซเบอร์ ได้อธิบายเทคนิคการหลอกลวงของสแกมเมอร์ว่า เริ่มจากการค่อยๆ สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ เมื่อมีการพูดคุยกันระยะหนึ่ง เหยื่อจะเริ่มเปิดใจ จากนั้นมิจฉาชีพจะเริ่มชักชวนให้ลงทุน โดยอาจให้ยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดกับเหยื่อเพื่อสร้างภาพลวงตาว่ามีกำไร เมื่อเหยื่อหลงเชื่อและโอนเงินเข้าไป กราฟผลตอบแทนก็จะถูกปรับให้สูงขึ้น ทำให้เหยื่อเพิ่มเงินลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ
กรณีที่พบว่ามีความเสียหายสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 23 ล้านบาท เป็นการหลอกลวงผ่านอินสตาแกรมและชักชวนให้ลงทุน งานวิจัยระดับชาติระบุว่า การพูดคุยกับคนแปลกหน้าออนไลน์เพิ่มโอกาสถูกหลอกถึง 57% หรือมากกว่าครึ่ง สแกมเมอร์มักจะหลอกด้วยผลตอบแทนที่สูงเกินจริง เช่น ลงทุน 1,000 บาท ได้คืน 300 บาทในวันเดียว ซึ่งไม่มีอยู่จริง
การหลอกลวงไม่ได้มาในรูปแบบเดียว จากเรื่องราวของผู้เคยตกเป็นเหยื่อ พบว่ามีทั้งการแอบอ้างเป็นหมอ ชวนคุยจนเหมือนถูกจีบ การเสนอขายกระเป๋าแบรนด์เนมในราคาถูกผิดปกติ หรือแม้แต่การแอบอ้างเป็นครูจากต่างจังหวัดหยอดคำหวานเพื่อขอเงิน ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่าเป็นการนำรูปผู้อื่นมาสร้างบัญชีปลอม
การรู้เท่าทันมิจฉาชีพออนไลน์เริ่มต้นที่การไม่เชื่อใจคนแปลกหน้าง่าย ๆ และรักษาข้อมูลส่วนตัวไว้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หรือข้อมูลทางการเงิน หากพบว่าอีกฝ่ายมีพฤติกรรมน่าสงสัย เช่น รูปโปรไฟล์ดูไม่เป็นธรรมชาติ สนใจใส่ใจมากเกินไป สอบถามเรื่องส่วนตัวบ่อย หรือขอความช่วยเหลือทางการเงิน ควรทำการบล็อกทันทีเพื่อยุติการหลอกลวง
สำหรับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแล้ว ควรดำเนินการดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีการจำลองสถานการณ์สแกมเมอร์หลอกลวงผ่านเรื่องราวของแม่ลูกคู่หนึ่ง เมื่อแม่ถูกหลอกให้โอนเงิน 50,000 บาท ไปทำบุญจารึกชื่อบนกำแพงวัด ซึ่งปรากฏว่าเป็นมิจฉาชีพแก๊ง "ทำบุญลวงโลก" ที่ใช้บัญชีชื่อ "นางสาวบุญบารมี เลิศลาภนภาลัย" โกงเงินเหยื่อรายใหญ่ สะท้อนให้เห็นว่าการหลอกลวงทำได้หลายรูปแบบ แม้แต่การแอบอ้างเรื่องศาสนาและความเชื่อ
ติดตามชมได้ในรายการ TIC TAC TECH เรื่องไม่เล็กเทคโนโลยี วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2568 เวลา 06.05 - 06.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ในยุคที่โลกออนไลน์เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน การสร้างมิตรภาพผ่านความชอบหรือความสนใจที่คล้ายคลึงกันเป็นเรื่องง่าย แต่น่าเป็นห่วงว่า "มิตรภาพ" เหล่านี้อาจกลายเป็น "มิจฉาชีพ" หรือ "สแกมเมอร์" ที่หลอกล่อให้เราตายใจและหลงเชื่อ จนยอมให้ข้อมูลส่วนตัวสำคัญ ก่อให้เกิดความสูญเสียโดยไม่ทันตั้งตัว
TIC TAC TECH เรื่องไม่เล็กเทคโนโลยี ได้ทดสอบภูมิคุ้มกันการหลอกลวงออนไลน์ผ่านกิจกรรม "ภารกิจลับจับจุดคนใจอ่อน" โดยทีมงานได้จัดบูธกิจกรรมให้นักศึกษามหาวิทยาลัยกรอกแบบสอบถามเพื่อหาเพื่อนร่วมกลุ่มคอมมิวนิตี้ตามไลฟ์สไตล์ที่ชื่นชอบ แบบสอบถามนี้แบ่งเป็นระดับของข้อมูลที่ต้องกรอก ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวอย่างเลขบัตรประชาชนและเลขบัญชีธนาคาร
ผลการทดสอบพบว่าจากอาสาสมัคร 35 คน มีถึง 26 คนที่หลงให้ข้อมูลกับทีมงานทั้งหมด มีเพียง 9 คนเท่านั้นที่ไหวตัวทัน นักศึกษาหลายคนเอะใจกับแบบสอบถาม โดยสังเกตว่าไม่มีชื่อบริษัทหรือแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน รวมถึงการถามข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายที่ควรระวัง ขณะที่บางคนกรอกข้อมูลไปแบบมั่วๆ เพื่อป้องกันตัวเอง แต่หลายคนก็ยังให้ข้อมูลไปด้วยความไว้ใจหรือถูกล่อด้วยของแถม ที่น่าสนใจคือ นักศึกษาหลายคนเคยมีประสบการณ์โดนสแกมเมอร์หลอกมาก่อน โดยเฉพาะการชวนทำงานออนไลน์ หรือแอดมินตอบแชท แต่กระนั้นก็ยังหลงเชื่อและให้ข้อมูลกับทีมงานอยู่ดี สะท้อนให้เห็นว่าแม้จะเคยมีประสบการณ์ แต่หากไม่ระมัดระวังก็ยังมีโอกาสตกเป็นเหยื่อได้อีก
รองศาสตราจารย์จากศูนย์ทนายความไซเบอร์ ได้อธิบายเทคนิคการหลอกลวงของสแกมเมอร์ว่า เริ่มจากการค่อยๆ สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ เมื่อมีการพูดคุยกันระยะหนึ่ง เหยื่อจะเริ่มเปิดใจ จากนั้นมิจฉาชีพจะเริ่มชักชวนให้ลงทุน โดยอาจให้ยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดกับเหยื่อเพื่อสร้างภาพลวงตาว่ามีกำไร เมื่อเหยื่อหลงเชื่อและโอนเงินเข้าไป กราฟผลตอบแทนก็จะถูกปรับให้สูงขึ้น ทำให้เหยื่อเพิ่มเงินลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ
กรณีที่พบว่ามีความเสียหายสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 23 ล้านบาท เป็นการหลอกลวงผ่านอินสตาแกรมและชักชวนให้ลงทุน งานวิจัยระดับชาติระบุว่า การพูดคุยกับคนแปลกหน้าออนไลน์เพิ่มโอกาสถูกหลอกถึง 57% หรือมากกว่าครึ่ง สแกมเมอร์มักจะหลอกด้วยผลตอบแทนที่สูงเกินจริง เช่น ลงทุน 1,000 บาท ได้คืน 300 บาทในวันเดียว ซึ่งไม่มีอยู่จริง
การหลอกลวงไม่ได้มาในรูปแบบเดียว จากเรื่องราวของผู้เคยตกเป็นเหยื่อ พบว่ามีทั้งการแอบอ้างเป็นหมอ ชวนคุยจนเหมือนถูกจีบ การเสนอขายกระเป๋าแบรนด์เนมในราคาถูกผิดปกติ หรือแม้แต่การแอบอ้างเป็นครูจากต่างจังหวัดหยอดคำหวานเพื่อขอเงิน ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่าเป็นการนำรูปผู้อื่นมาสร้างบัญชีปลอม
การรู้เท่าทันมิจฉาชีพออนไลน์เริ่มต้นที่การไม่เชื่อใจคนแปลกหน้าง่าย ๆ และรักษาข้อมูลส่วนตัวไว้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หรือข้อมูลทางการเงิน หากพบว่าอีกฝ่ายมีพฤติกรรมน่าสงสัย เช่น รูปโปรไฟล์ดูไม่เป็นธรรมชาติ สนใจใส่ใจมากเกินไป สอบถามเรื่องส่วนตัวบ่อย หรือขอความช่วยเหลือทางการเงิน ควรทำการบล็อกทันทีเพื่อยุติการหลอกลวง
สำหรับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแล้ว ควรดำเนินการดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีการจำลองสถานการณ์สแกมเมอร์หลอกลวงผ่านเรื่องราวของแม่ลูกคู่หนึ่ง เมื่อแม่ถูกหลอกให้โอนเงิน 50,000 บาท ไปทำบุญจารึกชื่อบนกำแพงวัด ซึ่งปรากฏว่าเป็นมิจฉาชีพแก๊ง "ทำบุญลวงโลก" ที่ใช้บัญชีชื่อ "นางสาวบุญบารมี เลิศลาภนภาลัย" โกงเงินเหยื่อรายใหญ่ สะท้อนให้เห็นว่าการหลอกลวงทำได้หลายรูปแบบ แม้แต่การแอบอ้างเรื่องศาสนาและความเชื่อ
ติดตามชมได้ในรายการ TIC TAC TECH เรื่องไม่เล็กเทคโนโลยี วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2568 เวลา 06.05 - 06.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live