การระบาดของโควิด-19 ที่กินระยะเวลายาวนานกว่า 1 ปีครึ่ง เป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายความสามารถ ทักษะการตัดสินใจในการรับมือและแก้ไขปัญหาของผู้นำทุกประเทศทั่วโลก “การควบคุมโรคระบาด” ให้ได้ ภายใต้การกลายพันธุ์ของไวรัส ยิ่งเพิ่มความซับซ้อนของปัญหามากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สิ่งที่อยากชวนทุกคนมองให้ยาวและไกลไปกว่านั้น คือวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ มันมีโจทย์ที่หนักอึ้งและเรื้อรังไปกว่านั้น คือพิษเศรษฐกิจและสังคม ที่ตบเท้าเข้ามาเคาะประตูผู้บริหารทุกประเทศ เราเห็นความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวยถ่างออกไปมากขึ้นกว่าเดิม เราเห็นผลกระทบของแรงงานที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี เราเห็นโลกและสังคมที่ตัดขาดออกจากกันเพราะต้องระวังการติดเชื้อ เราต่างสะเทือนใจกับความสูญเสียรายวัน ที่นำมาซึ่งสภาพจิตใจของคนในสังคมโดยรวม
เราจึงมองหาแบบอย่างของผู้นำในแต่ละประเทศ ที่น่าหยิบยกมาเป็นบทเรียนและประยุกต์ใช้ในประเทศเรา แน่นอนว่าผู้นำประเทศหลายท่านฉายแววความสามารถ การสื่อสารกับประชาชนท่ามกลางวิกฤตและทักษะการแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน รวมถึงเข้าใจความเป็นมนุษย์ไปพร้อม ๆ กัน จากการศึกษาในหลาย ๆ ประเทศกับการตัดสินใจในช่วงเวลาที่แสนจะยากลำบากเช่นนี้ เรามองว่า “ก่อนมาเป็นผู้นำประเทศ ควรเป็นมนุษย์ให้ได้ก่อน” ดูเหมือนเป็นเรื่องพื้นฐานง่าย ๆ แต่มันคือเรื่องสำคัญในวันที่ปัญหารุมเร้าคนในสังคม การมองเห็นความเป็นมนุษย์อย่างเข้าอกเข้าใจ จึงเป็นทักษะสำคัญที่ผู้นำทุกคนควรมี
มาที่ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง เรามักจะเห็น "ลีเซียนลุง" ผู้นำของประเทศสิงคโปร์ สื่อสารกับประชาชนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย การแต่งกายที่ดูเหมือนเป็นคนในครอบครัว โอบอ้อมอารี แสดงจุดยืนและความคิดที่บอกประชาชนให้รู้ว่าตัวเขาเองก็เข้าใจในความทุกข์ของประชาชนไม่ต่างกัน รวมถึงทำความเข้าใจกับประชาชนว่าขั้นต่อไป รัฐบาลจะทำอะไรต่อจากนี้ เพื่อไม่ให้คนในสังคมตื่นตระหนกเกินไป พร้อมทั้งให้ประชาชนมองข้ามขั้นไปอีก ว่าสุดท้ายแล้วเราจะใช้ชีวิตอยู่กับไวรัสนี้ต่อไปอย่างไรในระยะยาว ?
"ไช่อิงเหวิน" ผู้นำรัฐบาลไต้หวัน กับการมีทีมงานเก่ง ๆ ทั้งนักวิชาการ นายแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และบุคลากรอีกหลากหลายสาขา บนฐานข้อมูลหรือ Big Data เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างแม่นยำที่สุด นี่จึงเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งและจุดเด่นของไต้หวัน
"จาซินดา อาร์เดิร์น" นายกรัฐมนตรีหญิงของประเทศนิวซีแลนด์ กับการบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจ ที่มาพร้อมกับความเข้าใจความเป็นมนุษย์ สิ่งเล็ก ๆ ที่เราหยิบยกมาเล่าถึงคือประเทศนี้ตัดสินใจขยายทางเท้าในช่วงล็อกดาวน์ การที่ทางรัฐบาลตัดสินใจขยายทางเท้าในช่วงล็อกดาวน์เพราะอะไร ?
นี่เป็นเพียง “ผู้นำประเทศ” ส่วนหนึ่งที่เราหยิบยกมาเป็นตัวอย่างให้ทุกคนเห็นภาพเบื้องต้น แต่ยังมีผู้นำอีกหลายท่านที่เราพูดถึงในรายการ เพื่อสะท้อนแง่มุมการตัดสินใจแก้ปัญหา การจินตนาการใหม่ การคิดใหม่ การทำใหม่ เพื่อแก้ปัญหาใหม่ ๆ ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงทุกวินาที
และท้ายที่สุดคือการถอดบทเรียน “ผู้นำท้องถิ่น, หน่วยงานสาธารณสุข และทีม อสม.” จากสองพื้นที่ใน จ.สิงห์บุรี และ จ.น่าน เพื่อให้ทุกท่านเห็นถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นบริหารจัดการและแก้ปัญหาในพื้นที่เป็นไปอย่างคล่องตัว ตรงกับบริบทและรวดเร็วมากที่สุด ทั้งหมดนี้จะเป็นอย่างไร ติดตามไปพร้อมกับสองคนเดินเรื่อง "เวฟ คูเป่ยจง" และ "พิมพ์พจี เย็นอุรา"
ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "โลกหลังโควิด The Disruption" วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
การระบาดของโควิด-19 ที่กินระยะเวลายาวนานกว่า 1 ปีครึ่ง เป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายความสามารถ ทักษะการตัดสินใจในการรับมือและแก้ไขปัญหาของผู้นำทุกประเทศทั่วโลก “การควบคุมโรคระบาด” ให้ได้ ภายใต้การกลายพันธุ์ของไวรัส ยิ่งเพิ่มความซับซ้อนของปัญหามากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สิ่งที่อยากชวนทุกคนมองให้ยาวและไกลไปกว่านั้น คือวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ มันมีโจทย์ที่หนักอึ้งและเรื้อรังไปกว่านั้น คือพิษเศรษฐกิจและสังคม ที่ตบเท้าเข้ามาเคาะประตูผู้บริหารทุกประเทศ เราเห็นความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวยถ่างออกไปมากขึ้นกว่าเดิม เราเห็นผลกระทบของแรงงานที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี เราเห็นโลกและสังคมที่ตัดขาดออกจากกันเพราะต้องระวังการติดเชื้อ เราต่างสะเทือนใจกับความสูญเสียรายวัน ที่นำมาซึ่งสภาพจิตใจของคนในสังคมโดยรวม
เราจึงมองหาแบบอย่างของผู้นำในแต่ละประเทศ ที่น่าหยิบยกมาเป็นบทเรียนและประยุกต์ใช้ในประเทศเรา แน่นอนว่าผู้นำประเทศหลายท่านฉายแววความสามารถ การสื่อสารกับประชาชนท่ามกลางวิกฤตและทักษะการแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน รวมถึงเข้าใจความเป็นมนุษย์ไปพร้อม ๆ กัน จากการศึกษาในหลาย ๆ ประเทศกับการตัดสินใจในช่วงเวลาที่แสนจะยากลำบากเช่นนี้ เรามองว่า “ก่อนมาเป็นผู้นำประเทศ ควรเป็นมนุษย์ให้ได้ก่อน” ดูเหมือนเป็นเรื่องพื้นฐานง่าย ๆ แต่มันคือเรื่องสำคัญในวันที่ปัญหารุมเร้าคนในสังคม การมองเห็นความเป็นมนุษย์อย่างเข้าอกเข้าใจ จึงเป็นทักษะสำคัญที่ผู้นำทุกคนควรมี
มาที่ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง เรามักจะเห็น "ลีเซียนลุง" ผู้นำของประเทศสิงคโปร์ สื่อสารกับประชาชนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย การแต่งกายที่ดูเหมือนเป็นคนในครอบครัว โอบอ้อมอารี แสดงจุดยืนและความคิดที่บอกประชาชนให้รู้ว่าตัวเขาเองก็เข้าใจในความทุกข์ของประชาชนไม่ต่างกัน รวมถึงทำความเข้าใจกับประชาชนว่าขั้นต่อไป รัฐบาลจะทำอะไรต่อจากนี้ เพื่อไม่ให้คนในสังคมตื่นตระหนกเกินไป พร้อมทั้งให้ประชาชนมองข้ามขั้นไปอีก ว่าสุดท้ายแล้วเราจะใช้ชีวิตอยู่กับไวรัสนี้ต่อไปอย่างไรในระยะยาว ?
"ไช่อิงเหวิน" ผู้นำรัฐบาลไต้หวัน กับการมีทีมงานเก่ง ๆ ทั้งนักวิชาการ นายแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และบุคลากรอีกหลากหลายสาขา บนฐานข้อมูลหรือ Big Data เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างแม่นยำที่สุด นี่จึงเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งและจุดเด่นของไต้หวัน
"จาซินดา อาร์เดิร์น" นายกรัฐมนตรีหญิงของประเทศนิวซีแลนด์ กับการบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจ ที่มาพร้อมกับความเข้าใจความเป็นมนุษย์ สิ่งเล็ก ๆ ที่เราหยิบยกมาเล่าถึงคือประเทศนี้ตัดสินใจขยายทางเท้าในช่วงล็อกดาวน์ การที่ทางรัฐบาลตัดสินใจขยายทางเท้าในช่วงล็อกดาวน์เพราะอะไร ?
นี่เป็นเพียง “ผู้นำประเทศ” ส่วนหนึ่งที่เราหยิบยกมาเป็นตัวอย่างให้ทุกคนเห็นภาพเบื้องต้น แต่ยังมีผู้นำอีกหลายท่านที่เราพูดถึงในรายการ เพื่อสะท้อนแง่มุมการตัดสินใจแก้ปัญหา การจินตนาการใหม่ การคิดใหม่ การทำใหม่ เพื่อแก้ปัญหาใหม่ ๆ ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงทุกวินาที
และท้ายที่สุดคือการถอดบทเรียน “ผู้นำท้องถิ่น, หน่วยงานสาธารณสุข และทีม อสม.” จากสองพื้นที่ใน จ.สิงห์บุรี และ จ.น่าน เพื่อให้ทุกท่านเห็นถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นบริหารจัดการและแก้ปัญหาในพื้นที่เป็นไปอย่างคล่องตัว ตรงกับบริบทและรวดเร็วมากที่สุด ทั้งหมดนี้จะเป็นอย่างไร ติดตามไปพร้อมกับสองคนเดินเรื่อง "เวฟ คูเป่ยจง" และ "พิมพ์พจี เย็นอุรา"
ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "โลกหลังโควิด The Disruption" วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live