โลกหลังโควิดกับแง่มุมที่น่าสนใจและสะท้อนประเด็นสิ่งแวดล้อมได้หลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 7% นับเป็นผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นกับโลกใบนี้ หลังจากโควิด-19 อุบัติขึ้น
นักวิจัยคาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงประมาณ 2.4 พันล้านตัน จากผลการระบาด และมาตรการล็อกดาวน์ นับว่าเป็นการทำลายสถิติมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ปัจจัยสำคัญที่แฝงมากับโลกหลังโควิดและส่งผลเช่นนี้คือปริมาณการปล่อยก๊าซจากภาคการบินลดลง 40% กิจกรรมทางอุตสาหกรรมลดลง 22% และในบางประเทศมีปริมาณการปล่อยลดลงถึง 30%
มาที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่หลายบริษัทต่าง Work From Home ท้องถนนโล่ง จนกลายเป็นภาพที่ไม่ชินตาเหมือนก่อนหน้าโควิด-19 จะแพร่ระบาด การจราจรที่เบาบางลงเช่นนี้ ส่งผลให้ PM2.5 ลดลง 30% อย่างมีนัยสำคัญ คุณภาพอากาศที่ประเทศจีน หรืออินเดีย ซึ่งปกติจะติดอันดับของเมืองที่มีปัญหามลพิษทางอากาศสูงก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
แต่แน่นอนว่าหากมองโลกตามความเป็นจริง คงไม่มีใครอยากให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น โดยที่ต้องแลกกับความสูญเสียชีวิตคนที่รัก เพราะการติดเชื้อโควิด-19 ไม่มีใครอยากแลกกับพิษเศรษฐกิจและปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นตามมา ไม่มีใครอยากเห็นขยะพลาสติกกองโตที่เกิดขึ้นจากดีลิเวอรี ไม่มีใครอยากให้เกิดขยะจากหน้ากากอนามัยและชุด PPE
โลกหลังโควิดนี้จึงเป็นการตั้งคำถาม ที่อาจจะดูเป็นเรื่องที่หลายคนคงถกแถลงกันมาพอสมควร แต่กลับหาคำตอบได้ยาก คือ “แล้วอะไรคือทางออกที่ยั่งยืนและเป็นผลดีกับสิ่งแวดล้อม ?” คำตอบที่ทางทีมงาน โลกหลังโควิดมองคือ พฤติกรรมมนุษย์และนโยบายรัฐ เพราะถ้าไม่มีนโยบายรัฐ ที่วางกรอบและกฎระเบียบไปสู่การออกเป็นกฎหมายให้คนในสังคมได้ยึดถือปฏิบัติ ก็อาจจะไม่มีทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสำเร็จ ทำไมเราจึงมองเช่นนั้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ หากรัฐปล่อยให้มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ แล้วละเลยไม่ควบคุมการปล่อยน้ำเสีย แหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นสมบัติสาธารณะก็คงจะคุณภาพแย่ หรือถ้ารัฐเข้าข้างนายทุน ปล่อยให้โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยควันพิษออกมา โดยที่ไม่มีกฎหมายควบคุม เมืองก็จะเต็มไปด้วยฝุ่นควัน หรือถ้ารัฐไม่ควบคุมการเผาป่า และเข้มงวดจริงจัง ผืนป่าก็คงหมดไป และทิ้งไว้แค่โรคทางเดินหายใจให้กับประชาชน
ในเวลาเดียวกัน หากรัฐเข้มแข็ง มีกฎหมายชัดเจน แต่ถ้าพฤติกรรมมนุษย์ ฝ่าฝืนกฎหมายและกฎธรรมชาติ และมองข้ามการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นมิตรแท้ที่พึ่งพาอาศัยกัน สิ่งแวดล้อมก็ไม่อาจดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน
โลกหลังโควิดที่เราอยากเห็นและอยากให้เป็นคือสองปัจจัยนี้ไปด้วยกัน เกาะยาวใหญ่ จ.พังงา จึงกลายเป็นจุดหมายที่เราปักหมุดไว้ว่าจะมาร่วมถอดบทเรียน เพื่อเป็นอีกหนึ่งบทสะท้อนในหลากหลายแง่มุม ทั้งเรื่องพฤติกรรมชาวบ้านที่พยายามรักษาสิ่งแวดล้อมบนเกาะของพวกเขา การต่อสู้กับนโยบายรัฐในอดีต ปัญหาขยะทะเล ขยะพลาสติก ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก รวมถึงการมองหาตัวเองให้เจอและพึ่งพาตัวเองให้ได้ ภายใต้โลกที่ผันผวนอยู่ทุกวัน ผ่านสองคนเดินเรื่องอย่าง "เวฟ คูเป่ยจง" และ "จรีรัตน์ เพชรโสม"
ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "โลกหลังโควิด The Disruption" วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
โลกหลังโควิดกับแง่มุมที่น่าสนใจและสะท้อนประเด็นสิ่งแวดล้อมได้หลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 7% นับเป็นผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นกับโลกใบนี้ หลังจากโควิด-19 อุบัติขึ้น
นักวิจัยคาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงประมาณ 2.4 พันล้านตัน จากผลการระบาด และมาตรการล็อกดาวน์ นับว่าเป็นการทำลายสถิติมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ปัจจัยสำคัญที่แฝงมากับโลกหลังโควิดและส่งผลเช่นนี้คือปริมาณการปล่อยก๊าซจากภาคการบินลดลง 40% กิจกรรมทางอุตสาหกรรมลดลง 22% และในบางประเทศมีปริมาณการปล่อยลดลงถึง 30%
มาที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่หลายบริษัทต่าง Work From Home ท้องถนนโล่ง จนกลายเป็นภาพที่ไม่ชินตาเหมือนก่อนหน้าโควิด-19 จะแพร่ระบาด การจราจรที่เบาบางลงเช่นนี้ ส่งผลให้ PM2.5 ลดลง 30% อย่างมีนัยสำคัญ คุณภาพอากาศที่ประเทศจีน หรืออินเดีย ซึ่งปกติจะติดอันดับของเมืองที่มีปัญหามลพิษทางอากาศสูงก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
แต่แน่นอนว่าหากมองโลกตามความเป็นจริง คงไม่มีใครอยากให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น โดยที่ต้องแลกกับความสูญเสียชีวิตคนที่รัก เพราะการติดเชื้อโควิด-19 ไม่มีใครอยากแลกกับพิษเศรษฐกิจและปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นตามมา ไม่มีใครอยากเห็นขยะพลาสติกกองโตที่เกิดขึ้นจากดีลิเวอรี ไม่มีใครอยากให้เกิดขยะจากหน้ากากอนามัยและชุด PPE
โลกหลังโควิดนี้จึงเป็นการตั้งคำถาม ที่อาจจะดูเป็นเรื่องที่หลายคนคงถกแถลงกันมาพอสมควร แต่กลับหาคำตอบได้ยาก คือ “แล้วอะไรคือทางออกที่ยั่งยืนและเป็นผลดีกับสิ่งแวดล้อม ?” คำตอบที่ทางทีมงาน โลกหลังโควิดมองคือ พฤติกรรมมนุษย์และนโยบายรัฐ เพราะถ้าไม่มีนโยบายรัฐ ที่วางกรอบและกฎระเบียบไปสู่การออกเป็นกฎหมายให้คนในสังคมได้ยึดถือปฏิบัติ ก็อาจจะไม่มีทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสำเร็จ ทำไมเราจึงมองเช่นนั้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ หากรัฐปล่อยให้มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ แล้วละเลยไม่ควบคุมการปล่อยน้ำเสีย แหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นสมบัติสาธารณะก็คงจะคุณภาพแย่ หรือถ้ารัฐเข้าข้างนายทุน ปล่อยให้โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยควันพิษออกมา โดยที่ไม่มีกฎหมายควบคุม เมืองก็จะเต็มไปด้วยฝุ่นควัน หรือถ้ารัฐไม่ควบคุมการเผาป่า และเข้มงวดจริงจัง ผืนป่าก็คงหมดไป และทิ้งไว้แค่โรคทางเดินหายใจให้กับประชาชน
ในเวลาเดียวกัน หากรัฐเข้มแข็ง มีกฎหมายชัดเจน แต่ถ้าพฤติกรรมมนุษย์ ฝ่าฝืนกฎหมายและกฎธรรมชาติ และมองข้ามการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นมิตรแท้ที่พึ่งพาอาศัยกัน สิ่งแวดล้อมก็ไม่อาจดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน
โลกหลังโควิดที่เราอยากเห็นและอยากให้เป็นคือสองปัจจัยนี้ไปด้วยกัน เกาะยาวใหญ่ จ.พังงา จึงกลายเป็นจุดหมายที่เราปักหมุดไว้ว่าจะมาร่วมถอดบทเรียน เพื่อเป็นอีกหนึ่งบทสะท้อนในหลากหลายแง่มุม ทั้งเรื่องพฤติกรรมชาวบ้านที่พยายามรักษาสิ่งแวดล้อมบนเกาะของพวกเขา การต่อสู้กับนโยบายรัฐในอดีต ปัญหาขยะทะเล ขยะพลาสติก ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก รวมถึงการมองหาตัวเองให้เจอและพึ่งพาตัวเองให้ได้ ภายใต้โลกที่ผันผวนอยู่ทุกวัน ผ่านสองคนเดินเรื่องอย่าง "เวฟ คูเป่ยจง" และ "จรีรัตน์ เพชรโสม"
ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "โลกหลังโควิด The Disruption" วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live