ท่ามกลางความผันผวนของสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก ดูเป็นโจทย์ใหม่และใหญ่กว่าที่เคย โลกหลังโควิด The Disruption พยายามหาหนทางใหม่ ๆ เพื่อให้ทุกท่านได้นำตำราเล่มนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมของตัวเอง ภายใต้ 4 โจทย์ที่เราพยายามแก้ปมออกมา
โจทย์ที่ 1 เราพยายามมองหาและแก้สมการ ภายใต้คำถามที่ว่า “ธุรกิจที่ต้องพึ่งพาห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply chain จากต่างประเทศ ในวันที่โลกเดินทางไปมาหาสู่กันไม่ได้ การขนส่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปแบบเดิมจะมีทางออกอย่างไร ? เราจึงถอดบทเรียนจากอุตสาหกรรมขนาดกลางแห่งหนึ่ง ที่ต้องพึ่งพาห่วงโซ่อุปทาน วัตถุดิบบางอย่างจากต่างประเทศ โรงงานที่มีพนักงานมากหลายร้อยคน รวมถึงการเดินทางของพนักงานที่ต้องไปมาระหว่างประเทศคู่ค้าอยู่บ่อยครั้ง ทั้งหมดนี้ ดูเป็นโจทย์ที่ซับซ้อนมากพอสมควร สำหรับการหาทางออกในเวลาอันสั้น ทั้งเรื่องการบริหารคน เวลา การตัดสินใจอย่างแม่นยำ สุขอนามัยภายในโรงงานที่มีผู้คนมาอยู่รวมกัน และสุดท้ายการหันกลับมาพึ่งพาตนเอง ในวันที่ธุรกิจนี้ไม่สามารถใช้ต้นทุนบางอย่างจากต่างประเทศได้อีกต่อไป
โจทย์ที่ 2 ในบางธุรกิจ หรือสตาร์ตอัปที่รายได้กลายเป็นศูนย์บาท เพราะลูกค้าชาวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทยไม่ได้ เขาจะใช้วิทยายุทธ์ใดในการก้าวข้ามวิกฤตที่แสนจะหนักหน่วงนี้ไปได้ เราสนใจในเชิงของการตัดสินใจที่รวดเร็วของสตาร์ตอัปเจ้านี้ โดยการพลิกธุรกิจประเภทท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์มาเป็นบริษัทที่ทำด้านกฎหมายอย่าง PDPA ภายในระยะเวลาอันสั้น กับการเปลี่ยนธุรกิจที่ใช้ทักษะกันคนละประเภทต้อง Re-skill, Up-skill และ New skill ทั้งผู้บริหารและบุคลากรในเวลาอันรวดเร็ว เขาจะเดินหน้าและประคับประคองธุรกิจของเขาให้พ้นสายน้ำอันเชี่ยวกราดนี้ไปได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ไม่แพ้กัน
โจทย์ที่ 3 ธุรกิจที่ต้องรวมตัวของคนหมู่มาก อย่างบริษัทจัดงาน Event งานประชุมสัมมนา งานเปิดตัวสินค้า หรือภาพยนตร์ งานคอนเสิร์ต และอื่น ๆ ที่เราเห็นว่าทยอยยกเลิก เพราะมาตรการล็อกดาวน์ มันดูเป็นหนทางที่เต็มไปด้วยความมืดมนและไร้ทางออก แต่เราก็ไปถอดบทเรียนจากธุรกิจที่พยายามปรับตัวยกเอา Event ที่เคยจัดตามโรงแรมใหญ่ ๆ ห้างสรรพสินค้า หรือ Hall ต่าง ๆ มาไว้บนโลกเสมือนจริงคือโลกออนไลน์ กลายเป็นโอกาสใหม่ภายใต้ New Normal นั่นก็คือ Virtual Event กิจกรรม หรือการจัดงานที่เคยสร้างประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วมาอยู่บนโลกออนไลน์ คงต้องงัดความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงทักษะที่หลากหลาย ทั้งเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความเข้าใจมนุษย์ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ต้องนำมาปรับใช้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็พูดได้ แต่ทำให้สำเร็จนั้น ไม่ง่ายเลย เราลองมาดูกันว่าเขาผ่านช่วงเวลานั้นมาได้อย่างไร ?
โจทย์ที่ 4 เรามองไปถึงชุมชนคนตัวเล็ก ตัวน้อยของสังคม ร้านต่าง ๆ ที่เป็นกลุ่มคนสูงวัย ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น หรือง่าย ๆ เลยคือสมาร์ตโฟน อาจเป็นเรื่องซับซ้อนสำหรับพวกเขา การเข้าร่วมกับธุรกิจดีลิเวอรีไม่ต้องพูดถึง โจทย์นี้จะหาทางออกและแก้สมการอย่างไร เป็นคำถามทิ้งท้ายไว้สำหรับทุกคนในวันที่ต้องเผชิญกับการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนของโจทย์ที่เราเก็บเกี่ยวจากไทย, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และเนเธอร์แลนด์ แล้วนำมาร้อยเรียงเป็นตำราเล่มใหม่ผ่านสองคนเดินเรื่องอย่าง "เวฟ คูเป่ยจง" และ "ชาวิศา เฉิน"
ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "โลกหลังโควิด The Disruption" วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ท่ามกลางความผันผวนของสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก ดูเป็นโจทย์ใหม่และใหญ่กว่าที่เคย โลกหลังโควิด The Disruption พยายามหาหนทางใหม่ ๆ เพื่อให้ทุกท่านได้นำตำราเล่มนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมของตัวเอง ภายใต้ 4 โจทย์ที่เราพยายามแก้ปมออกมา
โจทย์ที่ 1 เราพยายามมองหาและแก้สมการ ภายใต้คำถามที่ว่า “ธุรกิจที่ต้องพึ่งพาห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply chain จากต่างประเทศ ในวันที่โลกเดินทางไปมาหาสู่กันไม่ได้ การขนส่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปแบบเดิมจะมีทางออกอย่างไร ? เราจึงถอดบทเรียนจากอุตสาหกรรมขนาดกลางแห่งหนึ่ง ที่ต้องพึ่งพาห่วงโซ่อุปทาน วัตถุดิบบางอย่างจากต่างประเทศ โรงงานที่มีพนักงานมากหลายร้อยคน รวมถึงการเดินทางของพนักงานที่ต้องไปมาระหว่างประเทศคู่ค้าอยู่บ่อยครั้ง ทั้งหมดนี้ ดูเป็นโจทย์ที่ซับซ้อนมากพอสมควร สำหรับการหาทางออกในเวลาอันสั้น ทั้งเรื่องการบริหารคน เวลา การตัดสินใจอย่างแม่นยำ สุขอนามัยภายในโรงงานที่มีผู้คนมาอยู่รวมกัน และสุดท้ายการหันกลับมาพึ่งพาตนเอง ในวันที่ธุรกิจนี้ไม่สามารถใช้ต้นทุนบางอย่างจากต่างประเทศได้อีกต่อไป
โจทย์ที่ 2 ในบางธุรกิจ หรือสตาร์ตอัปที่รายได้กลายเป็นศูนย์บาท เพราะลูกค้าชาวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทยไม่ได้ เขาจะใช้วิทยายุทธ์ใดในการก้าวข้ามวิกฤตที่แสนจะหนักหน่วงนี้ไปได้ เราสนใจในเชิงของการตัดสินใจที่รวดเร็วของสตาร์ตอัปเจ้านี้ โดยการพลิกธุรกิจประเภทท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์มาเป็นบริษัทที่ทำด้านกฎหมายอย่าง PDPA ภายในระยะเวลาอันสั้น กับการเปลี่ยนธุรกิจที่ใช้ทักษะกันคนละประเภทต้อง Re-skill, Up-skill และ New skill ทั้งผู้บริหารและบุคลากรในเวลาอันรวดเร็ว เขาจะเดินหน้าและประคับประคองธุรกิจของเขาให้พ้นสายน้ำอันเชี่ยวกราดนี้ไปได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ไม่แพ้กัน
โจทย์ที่ 3 ธุรกิจที่ต้องรวมตัวของคนหมู่มาก อย่างบริษัทจัดงาน Event งานประชุมสัมมนา งานเปิดตัวสินค้า หรือภาพยนตร์ งานคอนเสิร์ต และอื่น ๆ ที่เราเห็นว่าทยอยยกเลิก เพราะมาตรการล็อกดาวน์ มันดูเป็นหนทางที่เต็มไปด้วยความมืดมนและไร้ทางออก แต่เราก็ไปถอดบทเรียนจากธุรกิจที่พยายามปรับตัวยกเอา Event ที่เคยจัดตามโรงแรมใหญ่ ๆ ห้างสรรพสินค้า หรือ Hall ต่าง ๆ มาไว้บนโลกเสมือนจริงคือโลกออนไลน์ กลายเป็นโอกาสใหม่ภายใต้ New Normal นั่นก็คือ Virtual Event กิจกรรม หรือการจัดงานที่เคยสร้างประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วมาอยู่บนโลกออนไลน์ คงต้องงัดความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงทักษะที่หลากหลาย ทั้งเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความเข้าใจมนุษย์ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ต้องนำมาปรับใช้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็พูดได้ แต่ทำให้สำเร็จนั้น ไม่ง่ายเลย เราลองมาดูกันว่าเขาผ่านช่วงเวลานั้นมาได้อย่างไร ?
โจทย์ที่ 4 เรามองไปถึงชุมชนคนตัวเล็ก ตัวน้อยของสังคม ร้านต่าง ๆ ที่เป็นกลุ่มคนสูงวัย ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น หรือง่าย ๆ เลยคือสมาร์ตโฟน อาจเป็นเรื่องซับซ้อนสำหรับพวกเขา การเข้าร่วมกับธุรกิจดีลิเวอรีไม่ต้องพูดถึง โจทย์นี้จะหาทางออกและแก้สมการอย่างไร เป็นคำถามทิ้งท้ายไว้สำหรับทุกคนในวันที่ต้องเผชิญกับการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนของโจทย์ที่เราเก็บเกี่ยวจากไทย, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และเนเธอร์แลนด์ แล้วนำมาร้อยเรียงเป็นตำราเล่มใหม่ผ่านสองคนเดินเรื่องอย่าง "เวฟ คูเป่ยจง" และ "ชาวิศา เฉิน"
ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "โลกหลังโควิด The Disruption" วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live