โควิด-19 ที่พากันตบเท้าเข้าทุกประเทศ สร้างมิติของความเปลี่ยนแปลงในหลากหลายแง่มุม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ปากท้อง สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา แรงงาน รวมทั้งยังเป็นโจทย์สำคัญของผู้นำทั่วโลกกับการจัดการและก้าวผ่าน Disruptor ลูกใหญ่นี้ เชื้อเชิญให้คนบนโลกใบนี้ต่างสับสน สงสัย ตั้งคำถาม และกระเสือกกระสน ดิ้นรนหาทางออกไปพร้อมกับหนทางที่แสนจะมืดมน
ในวันที่การเดินทางถูกชัตดาวน์อย่างกะทันหัน แน่นอนว่าการท่องเที่ยวคงเป็นสิ่งแรกที่เราจะเห็นผลกระทบมากที่สุด ฉะนั้นเราจะพยายามสะท้อนเรื่องราวของ จ.ภูเก็ต, จ.เชียงใหม่, ไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์ ประมวลเรื่องราวและประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นมา ความผันผวนที่เกิดขึ้นตลอด ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน สะท้อนให้เห็นปริศนาที่มาพร้อมกับโลกหลังโควิด-19
เราเดินทางไปที่แรกคือ จ.ภูเก็ต ในวันที่เงียบเหงา ไร้เงาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ หาดป่าตองที่เคยเป็นสีสันของไข่มุกอันดามัน กลับกลายเป็นความรู้สึกหม่น ๆ บนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่ไม่เคยพบเจอของชาวภูเก็ต
จ.เชียงใหม่ ที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวจีนอยู่แทบทุกพื้นที่ กลับกลายเป็นเป็นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง
จุดอันตรายของโควิด-19 ในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเราต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก หรืออาจจะพึ่งพารายได้ส่วนนี้มากเกินไปด้วยซ้ำ หากเราย้อนภาพกลับไปเมื่อปี 2562 ดูเหมือนจะเป็นโอกาสทองของประเทศไทย ที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึง 4.2% หรืออยู่ที่ 39,900,000 คน สร้างรายได้มากถึง 11.8% ของ GDP แต่เวลาเพียงชั่วข้ามคืน กับการก้าวสู่ปี 2563 กลับกลายเป็นฝันร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สร้างผลกระทบกับทุกธุรกิจ ตั้งแต่กลุ่มผู้ประกอบการร่มเตียง ลูกจ้างร้านอาหาร ธุรกิจที่พัก โรงแรม เจ้าของกิจการ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ให้บริการรถสองแถวแดง ที่เคยไปทุกซอกทุกมุมของเชียงใหม่ กลายเป็นส่วนเกินบทความต้องการของคนในพื้นที่ ปางช้างที่ต้องหยุดชะงัก ยังมีผลกระทบไปถึงช้างในเวลาเดียวกัน จึงไม่ใช่แค่เรื่องปัญหาการท่องเที่ยว แต่ข้องเกี่ยวกับปากท้องของผู้คน ไม่เว้นแม้แต่สัตว์คู่บ้านคู่เมือง เกิดคำถามว่า New Normal ที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ควรจะเป็นแบบไหน ? และอะไรน่าจะเป็นความยั่งยืนของการท่องเที่ยวไทยบนความผันผวนของโลกใบนี้ ?
กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เคยคึกคักและเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวก็เงียบเชียบจนกลายเป็นภาพที่แปลกตา พิพิธภัณฑ์ที่เคยเนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยวเข้าชม จนทำให้คนในอัมสเตอร์ดัมส่วนหนึ่ง ไม่ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่คนในท้องถิ่นได้หวนกลับมาใช้เวลากับบ้านเมืองของพวกเขามากขึ้น ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาแห่งโอกาสที่ทำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้หันมาไตร่ตรองและมองไปข้างหน้าร่วมกันว่าการท่องเที่ยวในอนาคตที่พวกเขาต้องการเป็นอย่างไร ? กลุ่มเป้าหมายที่ควรหันกลับมาใส่ใจควรเป็นคนในท้องถิ่นมากกว่าคนต่างชาติใช่หรือไม่
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตั้งคำถามและแง่คิดจากผู้คนใน จ.ภูเก็ต, จ.เชียงใหม่, ไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์ คุณค่าที่ได้จากการพบปะพูดคุยกับทุกคนในสารคดีชุดนี้ อาจทำให้เราได้นำไปเป็นบทเรียนและ How to เพื่อสร้างทางเลือกและหาทางรอดให้กับทุกท่าน แต่จะแง่มุมไหน เชิญติดตามได้จาก 2 คนเดินเรื่อง "เวฟ คูเป่ยจง" และ "อรุณณภา พาณิชจรูญ"
ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "โลกหลังโควิด The Disruption" วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
โควิด-19 ที่พากันตบเท้าเข้าทุกประเทศ สร้างมิติของความเปลี่ยนแปลงในหลากหลายแง่มุม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ปากท้อง สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา แรงงาน รวมทั้งยังเป็นโจทย์สำคัญของผู้นำทั่วโลกกับการจัดการและก้าวผ่าน Disruptor ลูกใหญ่นี้ เชื้อเชิญให้คนบนโลกใบนี้ต่างสับสน สงสัย ตั้งคำถาม และกระเสือกกระสน ดิ้นรนหาทางออกไปพร้อมกับหนทางที่แสนจะมืดมน
ในวันที่การเดินทางถูกชัตดาวน์อย่างกะทันหัน แน่นอนว่าการท่องเที่ยวคงเป็นสิ่งแรกที่เราจะเห็นผลกระทบมากที่สุด ฉะนั้นเราจะพยายามสะท้อนเรื่องราวของ จ.ภูเก็ต, จ.เชียงใหม่, ไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์ ประมวลเรื่องราวและประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นมา ความผันผวนที่เกิดขึ้นตลอด ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน สะท้อนให้เห็นปริศนาที่มาพร้อมกับโลกหลังโควิด-19
เราเดินทางไปที่แรกคือ จ.ภูเก็ต ในวันที่เงียบเหงา ไร้เงาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ หาดป่าตองที่เคยเป็นสีสันของไข่มุกอันดามัน กลับกลายเป็นความรู้สึกหม่น ๆ บนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่ไม่เคยพบเจอของชาวภูเก็ต
จ.เชียงใหม่ ที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวจีนอยู่แทบทุกพื้นที่ กลับกลายเป็นเป็นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง
จุดอันตรายของโควิด-19 ในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเราต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก หรืออาจจะพึ่งพารายได้ส่วนนี้มากเกินไปด้วยซ้ำ หากเราย้อนภาพกลับไปเมื่อปี 2562 ดูเหมือนจะเป็นโอกาสทองของประเทศไทย ที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึง 4.2% หรืออยู่ที่ 39,900,000 คน สร้างรายได้มากถึง 11.8% ของ GDP แต่เวลาเพียงชั่วข้ามคืน กับการก้าวสู่ปี 2563 กลับกลายเป็นฝันร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สร้างผลกระทบกับทุกธุรกิจ ตั้งแต่กลุ่มผู้ประกอบการร่มเตียง ลูกจ้างร้านอาหาร ธุรกิจที่พัก โรงแรม เจ้าของกิจการ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ให้บริการรถสองแถวแดง ที่เคยไปทุกซอกทุกมุมของเชียงใหม่ กลายเป็นส่วนเกินบทความต้องการของคนในพื้นที่ ปางช้างที่ต้องหยุดชะงัก ยังมีผลกระทบไปถึงช้างในเวลาเดียวกัน จึงไม่ใช่แค่เรื่องปัญหาการท่องเที่ยว แต่ข้องเกี่ยวกับปากท้องของผู้คน ไม่เว้นแม้แต่สัตว์คู่บ้านคู่เมือง เกิดคำถามว่า New Normal ที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ควรจะเป็นแบบไหน ? และอะไรน่าจะเป็นความยั่งยืนของการท่องเที่ยวไทยบนความผันผวนของโลกใบนี้ ?
กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เคยคึกคักและเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวก็เงียบเชียบจนกลายเป็นภาพที่แปลกตา พิพิธภัณฑ์ที่เคยเนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยวเข้าชม จนทำให้คนในอัมสเตอร์ดัมส่วนหนึ่ง ไม่ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่คนในท้องถิ่นได้หวนกลับมาใช้เวลากับบ้านเมืองของพวกเขามากขึ้น ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาแห่งโอกาสที่ทำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้หันมาไตร่ตรองและมองไปข้างหน้าร่วมกันว่าการท่องเที่ยวในอนาคตที่พวกเขาต้องการเป็นอย่างไร ? กลุ่มเป้าหมายที่ควรหันกลับมาใส่ใจควรเป็นคนในท้องถิ่นมากกว่าคนต่างชาติใช่หรือไม่
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตั้งคำถามและแง่คิดจากผู้คนใน จ.ภูเก็ต, จ.เชียงใหม่, ไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์ คุณค่าที่ได้จากการพบปะพูดคุยกับทุกคนในสารคดีชุดนี้ อาจทำให้เราได้นำไปเป็นบทเรียนและ How to เพื่อสร้างทางเลือกและหาทางรอดให้กับทุกท่าน แต่จะแง่มุมไหน เชิญติดตามได้จาก 2 คนเดินเรื่อง "เวฟ คูเป่ยจง" และ "อรุณณภา พาณิชจรูญ"
ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "โลกหลังโควิด The Disruption" วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live