ซีรีส์วิถีคน
ซีรีส์วิถีคน

วิถีคนทำนาดอกบัว อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

หน้ารายการ
23 ก.ย. 66

พื้นที่แถบรอยต่อสามจังหวัด อย่าง กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และนครปฐม ถือว่าเป็นแหล่งปลูกบัวแห่งใหญ่แหล่งหนึ่งในประเทศไทย ที่นี่ปลูกบัวเพื่อเก็บดอกบูชาพระ เก็บฝัก และใบบัวขาย โดยส่วนใหญ่ทำสืบต่อมารุ่นต่อรุ่น แม้ปัจจุบันจะมีความเจริญเข้ามาพร้อมถนนหนทางที่สะดวกสบาย แต่ในพื้นที่แถบนี้ก็ยังมีนาบัวให้เราเห็นอยู่ทั่วไป โดยบัวที่ปลูกในนาจะเป็นบัวหลวง สี่สายพันธุ์ตามที่ชาวบ้านเรียก คือ ฉัตรแดง ฉัตรขาว แหลมแดง แหลมขาว "ป้านา - จินตนา คล้ายโชติคล่อง" เจ้าของนาบัวหลวงปลูกเพื่อขายฝักบัว ทำอาชีพนี้มาตั้งแต่ ป.4 เล่าว่าการทำนาบัวนั้นไม่ยาก แค่พื้นที่อยู่ติดน้ำก็สามารถทำได้ สมัยก่อนการทำนาบัวแถบนี้เยอะ แต่ปัจจุบันทำน้อยลงมากเพราะคนนิยมขายที่ดินไปอยู่ที่อื่น

  • การเก็บฝักและดอกต้องเริ่มและจบตอนเช้า

การเก็บฝักและดอกบัวก็ต้องแข่งกับเวลา วันหนึ่งต้องเก็บให้หมดเพื่อส่งขาย การเก็บบัวก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ คนที่เก็บจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันตัวหลาย อย่าง เช่นถุงเท้าใส่หลายชั้น เพื่อป้องกันการขีดข่วนของบัว และป้องกันเท้าไม่ให้เหยียบสิ่งของใต้น้ำระหว่างการเดินเก็บ อาจจะเจอสัตว์มีพิษ เช่นงู แมงป่องน้ำ หนอน เข้ามากัดได้

การทำนาบัวต้องวางแผนเพื่อให้มีดอกและฝักขายทั้งปี เนื่องจากบัวที่นี่บัวเป็นที่ต้องการของตลาดเพราะดอกและฝักใหญ่ รวมถึงคนที่นี่เชี่ยวชาญในการดูแลสินค้าไม่ให้เสียก่อนส่งขาย เทคนิคการดูแลรักษาดอกบัวและฝักบัวหลังจากเก็บมาแล้วคือ ต้องหมั่นรดน้ำ เพื่อไม่ให้ดอกและฝักเหี่ยว และไม่ให้ก้านคออ่อน ฉะนั้นทุกขั้นตอนในการทำบัว เช่นการเรียงบัว การกำบัว ต้องใช้น้ำรดเพื่อไม่ให้บัวชอกช้ำจะได้ขายได้ราคา ในอดีตนั้นจะไปขายกันเองที่ปากคลองตลาด ปัจจุบันเหลือน้อยลง เพราะว่ามีคนเข้าไปรับ ราคาดอกบัวจะคิดราคาตามขนาดของดอกบัว ซึ่งจะแบ่งเป็น เล็ก รอง ใหญ่ ราคาจะแตกต่างออกไปตามขนาดและฤดูกาล

ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

วิถีคนทำนาดอกบัว อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

23 ก.ย. 66

พื้นที่แถบรอยต่อสามจังหวัด อย่าง กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และนครปฐม ถือว่าเป็นแหล่งปลูกบัวแห่งใหญ่แหล่งหนึ่งในประเทศไทย ที่นี่ปลูกบัวเพื่อเก็บดอกบูชาพระ เก็บฝัก และใบบัวขาย โดยส่วนใหญ่ทำสืบต่อมารุ่นต่อรุ่น แม้ปัจจุบันจะมีความเจริญเข้ามาพร้อมถนนหนทางที่สะดวกสบาย แต่ในพื้นที่แถบนี้ก็ยังมีนาบัวให้เราเห็นอยู่ทั่วไป โดยบัวที่ปลูกในนาจะเป็นบัวหลวง สี่สายพันธุ์ตามที่ชาวบ้านเรียก คือ ฉัตรแดง ฉัตรขาว แหลมแดง แหลมขาว "ป้านา - จินตนา คล้ายโชติคล่อง" เจ้าของนาบัวหลวงปลูกเพื่อขายฝักบัว ทำอาชีพนี้มาตั้งแต่ ป.4 เล่าว่าการทำนาบัวนั้นไม่ยาก แค่พื้นที่อยู่ติดน้ำก็สามารถทำได้ สมัยก่อนการทำนาบัวแถบนี้เยอะ แต่ปัจจุบันทำน้อยลงมากเพราะคนนิยมขายที่ดินไปอยู่ที่อื่น

  • การเก็บฝักและดอกต้องเริ่มและจบตอนเช้า

การเก็บฝักและดอกบัวก็ต้องแข่งกับเวลา วันหนึ่งต้องเก็บให้หมดเพื่อส่งขาย การเก็บบัวก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ คนที่เก็บจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันตัวหลาย อย่าง เช่นถุงเท้าใส่หลายชั้น เพื่อป้องกันการขีดข่วนของบัว และป้องกันเท้าไม่ให้เหยียบสิ่งของใต้น้ำระหว่างการเดินเก็บ อาจจะเจอสัตว์มีพิษ เช่นงู แมงป่องน้ำ หนอน เข้ามากัดได้

การทำนาบัวต้องวางแผนเพื่อให้มีดอกและฝักขายทั้งปี เนื่องจากบัวที่นี่บัวเป็นที่ต้องการของตลาดเพราะดอกและฝักใหญ่ รวมถึงคนที่นี่เชี่ยวชาญในการดูแลสินค้าไม่ให้เสียก่อนส่งขาย เทคนิคการดูแลรักษาดอกบัวและฝักบัวหลังจากเก็บมาแล้วคือ ต้องหมั่นรดน้ำ เพื่อไม่ให้ดอกและฝักเหี่ยว และไม่ให้ก้านคออ่อน ฉะนั้นทุกขั้นตอนในการทำบัว เช่นการเรียงบัว การกำบัว ต้องใช้น้ำรดเพื่อไม่ให้บัวชอกช้ำจะได้ขายได้ราคา ในอดีตนั้นจะไปขายกันเองที่ปากคลองตลาด ปัจจุบันเหลือน้อยลง เพราะว่ามีคนเข้าไปรับ ราคาดอกบัวจะคิดราคาตามขนาดของดอกบัว ซึ่งจะแบ่งเป็น เล็ก รอง ใหญ่ ราคาจะแตกต่างออกไปตามขนาดและฤดูกาล

ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

23:00

ข่าวดึก

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย