"ลูกต๋าว" ก็คือ ลูกชิด ลูกชิด ก็คือ ลูกต๋าว วัตถุดิบที่ใช้เพิ่มเติมความอร่อยในไอศกรีมบ้านเรา แต่มีคนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าลูกชิดนั้น มีต้น มีผล และมีวิธีการผลิตอย่างไร พาไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของคนต้มลูกชิดที่บ้านผาสุก ต.ภูฟ้า จ.น่าน
ผู้ช่วยโย หรือ นายสถาพร ใจปิง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบ้านผาสุก เล่าว่าคนที่นี่เรียกว่า ลูกต๋าว หรือ มะต๋าว พืชดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม ลำต้นสูง 4 - 15 เมตร ออกลูกเป็นทลาย ในแต่ละลูกมีเมล็ดใสเรียงชิดกันอยู่ 3 เม็ด กว่าต้นต๋าวจะเติบโตจนออกลูกได้ต้องใช้เวลา 8 - 10 ปี ลูกต๋าว หล่อเลี้ยงชีวิตของคนบ้านผาสุกมานาน เพราะในสมัยก่อนหลังฤดูเก็บเกี่ยวไม่มีอาชีพ แทบทุกครอบครัวจึงเดินทางเข้าป่าลึกเพื่อตัดลูกต๋าวมาต้ม แล้วนำออกมาขาย จึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "คนต้มต๋าว"
วิถีคนต้มต๋าวนั้นเริ่มต้นประมาณต้นเดือนตุลาคม - มีนาคม ประมาณ 6 เดือนที่คนบ้านผาสุกสามารถหาลูกต๋าวได้ หากต้องไปต้มในป่าก็ต้องเตรียมสัมภาระ ข้าวสาร อาหารแห้ง เดินเท้าขึ้นเขาไปพักค้างแรมในป่า 10 - 30 วัน เพื่อให้ได้ต๋าวกลับมาให้มากที่สุด การต้มต๋าวในป่านั้นเป็นวิถีชีวิตของคนขยันและอดทน เพราะต้องลงมือลงแรงทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปีนต้นต๋าว แบกลูกต๋าวมาต้ม ทำไม้หนีบให้ได้เนื้อต๋าว และที่สำคัญต้องใช้เรี่ยวแรงมากในการขนต๋าวด้วยการแบกหรือขนด้วยแพออกจากป่ามาขาย ซึ่งแต่ละเที่ยวต้องขนออกมาไม่น้อยกว่า 200 กิโลกรัม
ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ปลูกในชุมชนมากขึ้น ทำให้คนเดินทางไปต้มต๋าวในป่าเหลือเพียง 2 - 3 ครอบครัว หนึ่งในนั้นคือ พี่ดร หรือนายดร จาระรักษ์ ผู้ที่ต้มต๋าวในป่ามานานถึง 20 ปี ซึ่งบอกว่าต๋าวมีบุญคุณมากให้ทั้งความสุขและเงินทอง เพราะปีนี้พ่อค้าในหมู่บ้านรับซื้อต๋าวกิโลกรัมละ 20 บาท ทำให้มีรายได้จากการต้มต๋าวไม่น้อยกว่า 4,000 - 5,000 บาท/เที่ยว แม้จะราคาไม่สูงนักแต่ก็คุ้มกับความเหนื่อยยาก
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"ลูกต๋าว" ก็คือ ลูกชิด ลูกชิด ก็คือ ลูกต๋าว วัตถุดิบที่ใช้เพิ่มเติมความอร่อยในไอศกรีมบ้านเรา แต่มีคนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าลูกชิดนั้น มีต้น มีผล และมีวิธีการผลิตอย่างไร พาไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของคนต้มลูกชิดที่บ้านผาสุก ต.ภูฟ้า จ.น่าน
ผู้ช่วยโย หรือ นายสถาพร ใจปิง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบ้านผาสุก เล่าว่าคนที่นี่เรียกว่า ลูกต๋าว หรือ มะต๋าว พืชดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม ลำต้นสูง 4 - 15 เมตร ออกลูกเป็นทลาย ในแต่ละลูกมีเมล็ดใสเรียงชิดกันอยู่ 3 เม็ด กว่าต้นต๋าวจะเติบโตจนออกลูกได้ต้องใช้เวลา 8 - 10 ปี ลูกต๋าว หล่อเลี้ยงชีวิตของคนบ้านผาสุกมานาน เพราะในสมัยก่อนหลังฤดูเก็บเกี่ยวไม่มีอาชีพ แทบทุกครอบครัวจึงเดินทางเข้าป่าลึกเพื่อตัดลูกต๋าวมาต้ม แล้วนำออกมาขาย จึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "คนต้มต๋าว"
วิถีคนต้มต๋าวนั้นเริ่มต้นประมาณต้นเดือนตุลาคม - มีนาคม ประมาณ 6 เดือนที่คนบ้านผาสุกสามารถหาลูกต๋าวได้ หากต้องไปต้มในป่าก็ต้องเตรียมสัมภาระ ข้าวสาร อาหารแห้ง เดินเท้าขึ้นเขาไปพักค้างแรมในป่า 10 - 30 วัน เพื่อให้ได้ต๋าวกลับมาให้มากที่สุด การต้มต๋าวในป่านั้นเป็นวิถีชีวิตของคนขยันและอดทน เพราะต้องลงมือลงแรงทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปีนต้นต๋าว แบกลูกต๋าวมาต้ม ทำไม้หนีบให้ได้เนื้อต๋าว และที่สำคัญต้องใช้เรี่ยวแรงมากในการขนต๋าวด้วยการแบกหรือขนด้วยแพออกจากป่ามาขาย ซึ่งแต่ละเที่ยวต้องขนออกมาไม่น้อยกว่า 200 กิโลกรัม
ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ปลูกในชุมชนมากขึ้น ทำให้คนเดินทางไปต้มต๋าวในป่าเหลือเพียง 2 - 3 ครอบครัว หนึ่งในนั้นคือ พี่ดร หรือนายดร จาระรักษ์ ผู้ที่ต้มต๋าวในป่ามานานถึง 20 ปี ซึ่งบอกว่าต๋าวมีบุญคุณมากให้ทั้งความสุขและเงินทอง เพราะปีนี้พ่อค้าในหมู่บ้านรับซื้อต๋าวกิโลกรัมละ 20 บาท ทำให้มีรายได้จากการต้มต๋าวไม่น้อยกว่า 4,000 - 5,000 บาท/เที่ยว แม้จะราคาไม่สูงนักแต่ก็คุ้มกับความเหนื่อยยาก
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live