ซีรีส์วิถีคน
ซีรีส์วิถีคน

วิถีคนบ้านตะพิโจ จ.ตาก

หน้ารายการ
9 ก.ย. 66

บ้านตะพิโจ ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก หมู่บ้านปกาเกอะญอในหุบเขาที่ยังมีวิถีความเชื่อของลูกผู้ชายตั้งแต่อดีต เกี่ยวกับการสักขาลายโบราณ ที่ใกล้สูญหาย

"อาจารย์ละดา ศรีอุเบท" ปัจจุบันเป็นช่างสักขาลายโบราณ เพียงคนเดียวในหมู่บ้านที่สักลายโบราณด้วยมือ โดยใช้หัวเข็มที่มีลักษณะแบน ๆ ขั้นตอนการสักเริ่มจากการใช้ตอก ในการมาวัดตีเส้นเพื่อแบ่งช่องโครงร่างบริเวณขา จากนั้นก็เริ่มลงเข็มสัก การสักนั้นจะสักทีละช่อง ซึ่งทั้งหมดไม่ต้องวาดลายลงไป เพราะลวดลายทุกอย่างนั้น อ.ละดา จำได้หมด ลายที่ต้องมีในการสักขาลาย หลัก ๆ จะประกอบไปด้วยลายขาบัว ลายปะลู ลายมอม ลายกรรไกร และลายโบราณอื่น ๆ หมึกที่ใช้เป็นหมึกสักทั่วไป แต่ในอดีตเดิมใช้สีหมึกจากดีเสือ ดีหมี ดีหมู ผสมกับเขม่าไฟ การสักกว่าจะได้ครบทุกช่องและครบทุกส่วนใช้เวลาถึง 3 วัน เพราะการ "สักขาลาย" แบบโบราณนั้นจะสักตั้งแต่ใต้เข่าไปถึงเอว โดยคนที่จะสักก็คือ "ผู้ชาย" เท่านั้น โดยการสักขาลายนั้นถือเป็นเรื่องศักดิ์ศรีของลูกผู้ชาย มากกว่านั้นยังสะท้อนไปในเรื่องของความกตัญญูในเรื่องที่จะได้รับรู้ความเจ็บปวดที่แม่นั้นมีในยามที่ต้องคลอดลูกออกมา

ปัจจุบันนี้การสักขาลายของบ้านตะพิโจนั้นโด่งดัง ทำให้ชาวปกาเกอะญอที่อยู่ในพื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดตาก ก็จะเดินทางเข้ามาที่นี่เพื่อสักกับอาจารย์ละดา ซึ่งตัวอาจารย์เองในปัจจุบันถือว่าเป็นช่างสักเพียงคนเดียวของหมู่บ้านที่ยังหลงเหลืออยู่ หากอาจารย์ไม่สามารถทำได้ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีใครมาสานต่อหรือไม่

ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

วิถีคนบ้านตะพิโจ จ.ตาก

9 ก.ย. 66

บ้านตะพิโจ ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก หมู่บ้านปกาเกอะญอในหุบเขาที่ยังมีวิถีความเชื่อของลูกผู้ชายตั้งแต่อดีต เกี่ยวกับการสักขาลายโบราณ ที่ใกล้สูญหาย

"อาจารย์ละดา ศรีอุเบท" ปัจจุบันเป็นช่างสักขาลายโบราณ เพียงคนเดียวในหมู่บ้านที่สักลายโบราณด้วยมือ โดยใช้หัวเข็มที่มีลักษณะแบน ๆ ขั้นตอนการสักเริ่มจากการใช้ตอก ในการมาวัดตีเส้นเพื่อแบ่งช่องโครงร่างบริเวณขา จากนั้นก็เริ่มลงเข็มสัก การสักนั้นจะสักทีละช่อง ซึ่งทั้งหมดไม่ต้องวาดลายลงไป เพราะลวดลายทุกอย่างนั้น อ.ละดา จำได้หมด ลายที่ต้องมีในการสักขาลาย หลัก ๆ จะประกอบไปด้วยลายขาบัว ลายปะลู ลายมอม ลายกรรไกร และลายโบราณอื่น ๆ หมึกที่ใช้เป็นหมึกสักทั่วไป แต่ในอดีตเดิมใช้สีหมึกจากดีเสือ ดีหมี ดีหมู ผสมกับเขม่าไฟ การสักกว่าจะได้ครบทุกช่องและครบทุกส่วนใช้เวลาถึง 3 วัน เพราะการ "สักขาลาย" แบบโบราณนั้นจะสักตั้งแต่ใต้เข่าไปถึงเอว โดยคนที่จะสักก็คือ "ผู้ชาย" เท่านั้น โดยการสักขาลายนั้นถือเป็นเรื่องศักดิ์ศรีของลูกผู้ชาย มากกว่านั้นยังสะท้อนไปในเรื่องของความกตัญญูในเรื่องที่จะได้รับรู้ความเจ็บปวดที่แม่นั้นมีในยามที่ต้องคลอดลูกออกมา

ปัจจุบันนี้การสักขาลายของบ้านตะพิโจนั้นโด่งดัง ทำให้ชาวปกาเกอะญอที่อยู่ในพื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดตาก ก็จะเดินทางเข้ามาที่นี่เพื่อสักกับอาจารย์ละดา ซึ่งตัวอาจารย์เองในปัจจุบันถือว่าเป็นช่างสักเพียงคนเดียวของหมู่บ้านที่ยังหลงเหลืออยู่ หากอาจารย์ไม่สามารถทำได้ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีใครมาสานต่อหรือไม่

ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย