"โตนเลสาบ" ประเทศกัมพูชา เป็นแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งหาปลาที่สำคัญของชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบ ๆ "หมู่บ้านกำปงพลก" เป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่และมีความพิเศษมาก เพราะว่าบ้านเรือนของชาวบ้านที่ต้องสร้างบ้านโดยใช้เสาไม้ที่สูง บางบ้านสูง ถึง 11 เมตร เมื่อมองไกล ๆ เหมือนมีถึง 3 ชั้น คือ ชั้นล่าง ชั้นกลาง และชั้นบน ซึ่งภูมิปัญญาการสร้างบ้านเสาสูงแบบนี้จะมีการทำชานบ้านคั่นแต่ละชั้น เพื่อห้อยของ เช่น อุปกรณ์ประมงและเก็บฟืน บ้านบางหลังจะสร้างสะพานเล็ก ๆ เชื่อมติดกันเดินไปมาหากันได้ ราคาบ้านเสาสูง เริ่มต้นประมาณ 200,000 กว่าบาท
ชีวิตในช่วงหน้าน้ำและหน้าแล้งของชาวบ้านที่นี่จะมีการใช้ชีวิตที่ต่างกัน นั่นคือ เมื่อหน้าน้ำถนนหน้าบ้านก็จะกลายเป็นลำคลองเนื่องจากน้ำจะท่วมหมด ต้องเปลี่ยนการเดินทางในหมู่บ้านจากการใช้รถจักรยานหรือเดินเป็นการใช้เรือพายไปมาหากัน นอกจากนั้นถนนเส้นหลักที่เดินทางเข้าหมู่บ้านก็จะจมน้ำหมด จากการที่สามารถใช้รถได้ระยะทางไกล ก็จะเหลือ พื้นที่ที่สามารถใช้รถได้สั้นลง
อาชีพของชาวบ้านก็คือการทำประมงในทะเลสาบ หาทั้งปลาใหญ่และปลาเล็ก ชนิดของปลาก็มีหลากหลายชนิด ปลาเหล่านี้จะถูกส่งไปขายตามตลาดทั่วประเทศกัมพูชาและส่งขายไปยังประเทศไทยและประเทศเวียดนามด้วย จุดต่าง ๆ ที่ชาวบ้านทำประมงนั้นจะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อปลาถึงพื้นที่ ราคาก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ด้วยจำนวนปลาที่มากมาย ทำให้ชาวบ้านต้องคิดค้น อุปกรณ์ที่เรียกว่า "เครื่องสะบัดปลา" กันเอง เพื่อทำหน้าที่เอาปลาตัวเล็กจำนวนมากที่หาได้มาออกจากอวน ซึ่งหากไม่มีเครื่องนี้ชาวบ้านต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะสามารถแกะเอาปลาออกได้หมด เนื่องจากอวนนั้นมีขนาดใหญ่
ปัจจุบันชาวบ้านที่อาศัยริมโตนเลสาบได้ช่วยกันดูแลแหล่งน้ำแห่งนี้ด้วยการดูแลเรื่องความสะอาด และมากกว่านั้นก็ไม่ตัดต้นไม้ที่มีอยู่ เนื่องจากเป็นที่วางไข่ของปลาในหน้าน้ำ
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"โตนเลสาบ" ประเทศกัมพูชา เป็นแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งหาปลาที่สำคัญของชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบ ๆ "หมู่บ้านกำปงพลก" เป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่และมีความพิเศษมาก เพราะว่าบ้านเรือนของชาวบ้านที่ต้องสร้างบ้านโดยใช้เสาไม้ที่สูง บางบ้านสูง ถึง 11 เมตร เมื่อมองไกล ๆ เหมือนมีถึง 3 ชั้น คือ ชั้นล่าง ชั้นกลาง และชั้นบน ซึ่งภูมิปัญญาการสร้างบ้านเสาสูงแบบนี้จะมีการทำชานบ้านคั่นแต่ละชั้น เพื่อห้อยของ เช่น อุปกรณ์ประมงและเก็บฟืน บ้านบางหลังจะสร้างสะพานเล็ก ๆ เชื่อมติดกันเดินไปมาหากันได้ ราคาบ้านเสาสูง เริ่มต้นประมาณ 200,000 กว่าบาท
ชีวิตในช่วงหน้าน้ำและหน้าแล้งของชาวบ้านที่นี่จะมีการใช้ชีวิตที่ต่างกัน นั่นคือ เมื่อหน้าน้ำถนนหน้าบ้านก็จะกลายเป็นลำคลองเนื่องจากน้ำจะท่วมหมด ต้องเปลี่ยนการเดินทางในหมู่บ้านจากการใช้รถจักรยานหรือเดินเป็นการใช้เรือพายไปมาหากัน นอกจากนั้นถนนเส้นหลักที่เดินทางเข้าหมู่บ้านก็จะจมน้ำหมด จากการที่สามารถใช้รถได้ระยะทางไกล ก็จะเหลือ พื้นที่ที่สามารถใช้รถได้สั้นลง
อาชีพของชาวบ้านก็คือการทำประมงในทะเลสาบ หาทั้งปลาใหญ่และปลาเล็ก ชนิดของปลาก็มีหลากหลายชนิด ปลาเหล่านี้จะถูกส่งไปขายตามตลาดทั่วประเทศกัมพูชาและส่งขายไปยังประเทศไทยและประเทศเวียดนามด้วย จุดต่าง ๆ ที่ชาวบ้านทำประมงนั้นจะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อปลาถึงพื้นที่ ราคาก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ด้วยจำนวนปลาที่มากมาย ทำให้ชาวบ้านต้องคิดค้น อุปกรณ์ที่เรียกว่า "เครื่องสะบัดปลา" กันเอง เพื่อทำหน้าที่เอาปลาตัวเล็กจำนวนมากที่หาได้มาออกจากอวน ซึ่งหากไม่มีเครื่องนี้ชาวบ้านต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะสามารถแกะเอาปลาออกได้หมด เนื่องจากอวนนั้นมีขนาดใหญ่
ปัจจุบันชาวบ้านที่อาศัยริมโตนเลสาบได้ช่วยกันดูแลแหล่งน้ำแห่งนี้ด้วยการดูแลเรื่องความสะอาด และมากกว่านั้นก็ไม่ตัดต้นไม้ที่มีอยู่ เนื่องจากเป็นที่วางไข่ของปลาในหน้าน้ำ
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live