คลองต่าง ๆ ในจังหวัดนนทบุรี เช่น คลองอ้อมนนท์ คลองหัวคู คลองบางม่วง คลองบางคูเวียง คลองบางราวนก ยังมีวิถีชีวิตของผู้คน 2 ฝั่งน้ำ ที่ยังคงวิถีดั้งเดิมอย่างชัดเจน ตี๋ สุริยัน บุญยมโนนุกุล ชาวคลองอ้อมนนท์ เล่าว่าบ้านเรือนของคนที่นี่ยังเป็นบ้านไม้ บางหลังเป็นทรงไทยมีศาลาท่าน้ำทุกหลัง และที่สำคัญตัวบ้านเรือนจะหันหน้าเข้าแม่น้ำ ปัจจุบันชาวคลองจำนวนมากยังใช้เรือในการสัญจร การค้าขาย พระสงฆ์ยังบิณฑบาตทางเรือ เช่น วัดสุนทรธรรมิการาม ต.ปลายบาง อ.บางกรวย พระสงฆ์ยังใช้เรือพายออกไปรับบาตรทุกวันจากชาวริมคลอง
ผู้ใหญ่สมเกียรติ สุขแป้น ผู้ใหญ่บ้านหัวคูใน คุยให้ฟังว่าชาวสวนของจังหวัดนนทบุรีนั้นได้รับดินดีจากธรรมชาติทุก ๆ 10 ปี เพราะจะมีน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ตะกอนแร่ธาตุที่มีค่ามารวมกันอยู่ในสวน การปลูกผลไม้และอื่นก็เลยได้ผลดีเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านแถวนี้มี นอกจากนี้การทำสวนจะใช้ภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมา โดยสวนของคนที่นี่นั้นเป็นสวนผสมผสาน สามารถเก็บเกี่ยวสลับสับเปลี่ยนไปได้ตลอดปี สุรพล สมจู เจ้าของสวนอ้อยเมืองนนท์ ชาวสวนขนานแท้ที่ปลูกอ้อยและผลไม้แบบผสมผสานไว้หลังบ้าน บอกเพิ่มอีกว่าชาวสวนยังมีภูมิปัญญาในการปลูกต้นทองหลางในร่องสวนทุเรียน เพราะทองหลางมีประโยชน์ต่อต้นทุเรียนมาก รากจะมีปมที่เก็บออกซิเจน และยังช่วยยึดดินต้นช่วยบังร่มเงาให้ต้นทุเรียน ใบที่ร่วงหล่นเป็นปุ๋ยหมักอย่างดีสำหรับทุเรียน คนที่ทำสวนทุเรียนแถบนี้นิยมที่จะปลูกต้นทองหลางเอาไว้ เพื่อเป็นการเพิ่มปุ๋ยให้กับต้น โดยที่ไม่ต้องลงทุนมาก
แพปลาทูวัดอินทร์ คือชื่อที่คนสมัยก่อนเรียกโรงต้มปลาทูเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคลองอ้อมนนท์มานานนับ 80 ปี เป็นทั้งโรงนึ่งและเป็นเสมือนร้านขายส่งปลาทู ซึ่งในอดีตปลาทูสดจะถูกลำเลียงมาทางเรือและนำไปขายทางเรือ อุดม แต่ประเสริฐ และบุษกร ทองรักษา ทายาทเจ้าของโรงต้มปลาทู เล่าว่าที่นี่ใช้วิธีการนึ่งต่อมาก็ปรับเปลี่ยนเป็นการต้ม โดยจะนำปลาทูสดที่ไปเลือกซื้อด้วยตัวเองแทบทุกวัน จากร้านประจำที่มหาชัย นำมาควักไส้ แช่เกลือ เรียงใส่เข่ง แล้ววางบนภาชนะหวายสานที่เรียกว่า "กระทะ" นำไปต้มในหม้อสแตนเลส ซึ่งใน 1 กระทะ สามารถใส่เข่งปลาทูซ้อนกันได้ประมาณ 40 - 50 เข่งโดยแต่ละวันจะต้มปลาทูประมาณ 400 - 500 กิโลกรัม
ปลาทูที่ต้มจนสุกจะถูกนำไปขายทั้งทางบกและทางเรือ เดิมเรือขายปลาทูมีประมาณนับ 10 ลำ แต่ได้ล้มหายตายจากและเลิกไป จนเหลือเพียง 3 ลำ โดยมีเรือของ ลุงรงค์ ธำรงค์ แต่ประเสริฐ ที่ถือว่าเป็นขับเรือขายปลาทูที่อายุเยอะที่สุด คืออายุ 81 ลุงจะไปขายฝั่ง อ.บางใหญ่ ในคลองบางคูรัด ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำที่บอกว่าซื้อตั้งแต่เป็นเด็กจนตอนนี้ตนเองนั้นเกษียณแล้วก็ยังเจอลุงรงค์ วิ่งเรือขายปลาทูอยู่ ลุงชัย วันชัย ฉ่ำนิตย์ ขายในเส้นทางคลองอ้อม ออกไปถึงประตูน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยา ลุงบอกว่ามีลูกค้าในคลองซอย ซึ่งในการขับเรือต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะสวะจะเยอะ ทำให้บางครั้งก็ติดสวะ หรือแม้กระทั่งตอไม้ คนสุดท้ายก็คือ พี่หนึ่ง พิเชษฐ์ แต่ประเสริฐ พ่อค้าปลาทูที่หนุ่มที่สุด ล่องเรือไปไกลที่สุดคือ สาย อ.บางกรวย เพราะระยะทางที่ไกลทำให้ต้องรีบทำเวลาเพราะลูกค้าจะรอ เวลาที่ขายก็เริ่มตั้งแต่เช้าถึงบ่าย ๆ ก็จะเข้าบ้าน ราคาของปลาทูจะต่างกัน ตามขนาด ตั้งแต่ 30 - 120 บาท ทั้งสามคนบอกว่าการค้าขายที่ซื่อสัตย์กับลูกค้า ทำให้อาชีพนี้ยังเลี้ยงตัวเองได้ จึงจะทำไปเรื่อย ๆ ตราบที่ยังมีเรี่ยวแรง
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ซีรีส์วิถีคน
วิถีริมโขง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
วิถีคนทำเกลือบ้านท่าสะอาด อ.เซกา จ.บึงกาฬ
วิถีหมู่บ้านนักขุดบ้านดอนดู่ ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม
วิถีรถคอกหมู อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
วิถีหมู่บ้านปั้นครกและสาก จ.นครพนม - ยโสธร
วิถีคนเลี้ยงควายในทะเลน้อย อ.ระโนด จ.สงขลา และ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
วิถีคนเกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
วิถีคนตีผึ้งผา อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
วิถีคนม้ง บ้านแม่สาน้อย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
วิถีเกาะมุกด์ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
วิถีรถม้าลำปาง บ้านวังหม้อ อ.เมือง จ.ลำปาง
วิถีคนบ้านกอมูเดอ จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีคนทำหมี่พิมายและข้าวโป่ง จ.นครราชสีมา
วิถีเรืออีโปง จ.นครราชสีมา
วิถีทุเรียน บ้านบันนังกระแจะ อ.ธารโต จ.ยะลา
วิถีคนชายแดนใต้ บ้านทุ่งพลา ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
วิถีริมคลอง จ.นนทบุรี
วิถีบุญวันสารทกูย บ้านตาโมม ต.สะกาด อ.สังขะ จ.สุรินทร์
วิถีคนบ้านทับทิมสยาม 05 ต.คลองไก่เถื่อน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
วิถีคนบ้านเวียงลอ จ.พะเยา
วิถีหน้าฝนคนเชียงของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย
วิถีคนบ้านปากคลองอ้อมใหญ่ ต.เขาดิน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
วิถีคนล้านนา ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
วิถีคนแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก
วิถีความสุขในฤดูน้ำหลาก จ.สิงห์บุรี
วิถีคนแม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และ อ.แม่ระมาด จ.ตาก
วิถีหมู่บ้านนักหาบ จ.บุรีรัมย์
วิถีคนเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา
วิถีคนโตนเลสาบ ประเทศกัมพูชา
วิถีคนคลองพระโขนง กรุงเทพมหานคร
ซีรีส์วิถีคน
วิถีริมโขง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
วิถีคนทำเกลือบ้านท่าสะอาด อ.เซกา จ.บึงกาฬ
วิถีหมู่บ้านนักขุดบ้านดอนดู่ ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม
วิถีรถคอกหมู อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
วิถีหมู่บ้านปั้นครกและสาก จ.นครพนม - ยโสธร
วิถีคนเลี้ยงควายในทะเลน้อย อ.ระโนด จ.สงขลา และ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
วิถีคนเกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
วิถีคนตีผึ้งผา อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
วิถีคนม้ง บ้านแม่สาน้อย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
วิถีเกาะมุกด์ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
วิถีรถม้าลำปาง บ้านวังหม้อ อ.เมือง จ.ลำปาง
วิถีคนบ้านกอมูเดอ จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีคนทำหมี่พิมายและข้าวโป่ง จ.นครราชสีมา
วิถีเรืออีโปง จ.นครราชสีมา
วิถีทุเรียน บ้านบันนังกระแจะ อ.ธารโต จ.ยะลา
วิถีคนชายแดนใต้ บ้านทุ่งพลา ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
วิถีริมคลอง จ.นนทบุรี
วิถีบุญวันสารทกูย บ้านตาโมม ต.สะกาด อ.สังขะ จ.สุรินทร์
วิถีคนบ้านทับทิมสยาม 05 ต.คลองไก่เถื่อน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
วิถีคนบ้านเวียงลอ จ.พะเยา
วิถีหน้าฝนคนเชียงของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย
วิถีคนบ้านปากคลองอ้อมใหญ่ ต.เขาดิน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
วิถีคนล้านนา ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
วิถีคนแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก
วิถีความสุขในฤดูน้ำหลาก จ.สิงห์บุรี
วิถีคนแม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และ อ.แม่ระมาด จ.ตาก
วิถีหมู่บ้านนักหาบ จ.บุรีรัมย์
วิถีคนเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา
วิถีคนโตนเลสาบ ประเทศกัมพูชา
วิถีคนคลองพระโขนง กรุงเทพมหานคร