ชุมชนบ้านแม่สาน้อย ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 45 กิโลเมตร ที่นี่เป็นชาวไทยภูเขากลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ลักษณะบ้านจะสร้างไล่ระดับบนพื้นที่ไหล่เขา เนื่องจากมีพื้นที่ราบน้อย ถ้ามองจากทางเข้าหมู่บ้านจะเห็นวิวหมู่บ้านสวยงาม เส้นทางที่ใช้ในหมู่บ้านจะเป็นเส้นทางเล็ก ๆ แบ่งปันกันใช้ อย่าง เส้นทางปูนสายเล็ก ๆ ความยาว 300 เมตร เส้นทางนี้ตัดผ่านสวน บ้านหลาย ๆ คนแบ่งปันพื้นที่ทำทาง ที่ทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีบ้านอยู่บนพื้นที่สูงได้ใช้เดินลงไปโรงเรียน
ไก่ที่นี่มีลักษณะพิเศษ คือเนื้อตัวจะดำ ซึ่งคนพื้นราบก็จะเรียกว่าไก่ดอย ชอบนำมาตุ๋นยาจีน เป็นอาหารอร่อยของคนที่นี่ มากกว่านั้นที่นี่ยังเลี้ยงไก่หลากหลายสายพันธุ์ เพื่อเป็นนาฬิกาปลุกให้กับชาวสวน เพราะว่าต้องเดินทางไปไร่ผักบนดอยแต่เช้า ทุก ๆ เช้ามืด ไก่จะขันพร้อม ๆ กันโดยที่ไม่ได้นัดหมาย ผู้คนก็จะตื่นขึ้นมาเพื่อไปทำงาน แม้ปัจจุบันจะมีนาฬิกาใช้กันแล้ว ความนิยมในการเลี้ยงไก่ก็ไม่ได้น้อยลงไป
ลุงหยงช่อ แซ่ซ้ง อายุ 70 ปี ยอดนักประดิษฐ์ประจำหมู่บ้านม้ง ทำอาชีพตีมีดขายมาตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่มจนถึงปัจจุบัน มีดที่ตีเรียกว่า มีดงง รูปร่างโค้ง ใช้ถากหญ้าทำสวน และมีดปลายแหลม ที่ใช้สำหรับทำอาหาร "ตีมีด" เป็นวิชาโบราณที่ลุงหยงช่อสืบต่อมาตั้งแต่โบราณ ลุงทำขายได้วันละ 1 - 2 เล่ม เหล็กที่ใช้ตีมีดเป็นเหล็กที่ซื้อมาจากร้านบ้าง เหล็กเก่าบ้าง หรือ แหนบรถที่คนขายทิ้ง ลุงหยงช่อก็จะเอามาทำมีดขาย ราคาขาย 500 - 600 บาท ลุงมีลูกค้าประจำเยอะ ที่บ้านของลุงมีของที่ทำเองอย่างอุปกรณ์ตีมีดแบบโบราณ เตาเผาและที่เบาลมโบราณ หรือ ปุ๊ ซึ่งตอนนี้ไม่ค่อยมีดูทั่วไป ลุงหยงช่อบอกว่าการได้ทำอะไรใช้เองสบายใจลุงจึงไม่เคยทิ้งวิชาชีพนี้
สมัยก่อนความเจริญยังเข้าไม่ถึง ผ้าใช้ทอกันเอง ทอเสื้อ ทอกางเกงจากเส้นใยกัญชง เป็นต้นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเอาเส้นใยช่วงกลางแปลงต้นทำเสื้อ ขอบแปลงจะทำเชือก
นายบรรพต รัตนดิลกกุล พ่อหลวง และ นายวรวุฒิ ถนอมวรกุล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบอกว่าสมัยก่อนน่าจะได้ความคิดนี้มาจากคนจีน จากต้นกัญชงที่ขึ้นตามธรรมชาติ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็นำมาปลูกไว้ที่บ้านตนเองทุกคนเริ่มปลูกกัน แต่เมื่อต้นกัญชาเป็นเรืองสิ่งผิดกฎหมาย จึงทำให้ต้นกัญชงก็จึงถูกห้ามไปด้วย ปัจจุบันนี้หมู่บ้านได้รับอนุญาตจาก ป.ป.ส. โครงการหลวงบ้านแม่สา ให้ปลูกเพื่อการใช้งาน จำกัดพื้นที่ปลูกและมอบให้กลุ่มแม่บ้านวิสาหกิจชุมชนดูแล พ่อหลวงบอกว่า อย่างไรต้นกัญชงก็ต้องมีคู่ไปกับหมู่บ้าน ถึงแม้ว่าตอนนี้จะปลูกได้น้อยลง แต่ก็ยังดีใจที่ยังมีไว้ใช้ ต้นกัญชงผูกพันกับคนบ้านแม่สา ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงตาย ความพิเศษของต้นกัญชงชาวม้งเชื่อว่า บรรพบุรุษใช้กันมานาน ทำเสื้อผ้า เสื้อผ้าที่ทอจากเส้นใยกันชงมีความเหนี่ยว ทน เชื่อว่าเป็นสายใยเชื่อต่อความผูกพัน ใช้ตัดสายสะดือ แรกเกิด เรียกขวัญ
ลักษณะต้นกัญชงจะสูงประมาณ 2 เมตรกว่าความสูงช่วงนี้จะได้เส้นใยที่ดี ปลูก กรกฎาคม - กันยายน เก็บเกี่ยว เพื่อตากแดดในช่วงเดือนตุลาคม ธันวาคม อาศัยแดดช่วง 2 เดือนนี้ การทำให้ได้ "เส้นใยกัญชง" ต้องใช้หลายขั้นตอน ใช้เวลาเป็นปี ๆ กว่าจะได้เสื้อผ้าแต่ละชิ้น เมื่อต้นกัญชงได้ขนาดแล้ว ชาวบ้านจะตัดต้นและยอด มีขนาดตั้งแต่ 1-2 เมตร หลังจากตัดเสร็จแล้วก็จะนำไปตากแดดเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อต้นกัญชงแห้งได้ที่แล้วก็จะนำมาลอกเปลือกออก และนำไปตำให้เส้นใยเกิดความเหนียวนุ่ม ก่อนจะนำแต่ละเส้นต่อกัน ความยาวเส้นใยที่ต่อกันอาจมีขนาด 1,000 - 1,500 เมตร โดยใช้เวลาว่างจากการทำสวนทำไร่พกติดตัวไปทำได้ทุกที่ จากนั้นจะนำเส้นใยไปต้มน้ำที่ผสมกับขี้เถ้าก่อนจะย้อมด้วยสีธรรมชาติ หลังจากนั้นก็จะนำไปม้วนให้เป็นก้อนเพื่อให้ง่ายตอนการที่จะไปให้ทอ ชาวบ้านก็จะนำเส้นใยไปทอแปรรูปงานออกไปได้หลากหลายชนิด อาทิ เสื้อผ้า กระโปรง หมวก ผ้าคลุม ปลอกหมอน ใช้ทำสวมใส่ และเมื่อเสียชีวิต เสื้อผ้าที่ทอเตรียมไว้จะนำมาสวมใส่ให้ผู้ตาย สวมรองเท้าที่ทำจากเส้นใยกัญชง เพราะมีความเชื่อว่า จะเป็นสายใยเชื่อมต่อ และนำทางให้เจอกับบรรพบุรุษ ทุกคนทั้งหญิง ชายจะต้องเตรียมชุดไว้ ตอนมีชีวิตอยู่ เป็นความเชื่อว่าจะแคล้วคลาดจากความตายด้วย ส่วนรองเท้าจะถักใหม่เพื่อสวมใส่เดินทางไปหาบรรพบุรุษ เส้นใยกัญชงจะถูกเก็บรวบรวมทุกปี ทีนิดละหน่อย ให้ได้เยอะ ๆ จากนั้นก็จะทอเสื้อผ้า พ่อบ้านบางคนถ้าไม่มีใส่ หมายถึง เมียไม่เก่ง ไม่สนใจ ไม่คอยดูแลทำให้ บางคนไม่ทำก็จะหาเงินซื้อ ซึ่งตอนนี้ราคาแพง ราคาเป็นพันเป็นหมื่น ๆ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ชุมชนบ้านแม่สาน้อย ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 45 กิโลเมตร ที่นี่เป็นชาวไทยภูเขากลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ลักษณะบ้านจะสร้างไล่ระดับบนพื้นที่ไหล่เขา เนื่องจากมีพื้นที่ราบน้อย ถ้ามองจากทางเข้าหมู่บ้านจะเห็นวิวหมู่บ้านสวยงาม เส้นทางที่ใช้ในหมู่บ้านจะเป็นเส้นทางเล็ก ๆ แบ่งปันกันใช้ อย่าง เส้นทางปูนสายเล็ก ๆ ความยาว 300 เมตร เส้นทางนี้ตัดผ่านสวน บ้านหลาย ๆ คนแบ่งปันพื้นที่ทำทาง ที่ทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีบ้านอยู่บนพื้นที่สูงได้ใช้เดินลงไปโรงเรียน
ไก่ที่นี่มีลักษณะพิเศษ คือเนื้อตัวจะดำ ซึ่งคนพื้นราบก็จะเรียกว่าไก่ดอย ชอบนำมาตุ๋นยาจีน เป็นอาหารอร่อยของคนที่นี่ มากกว่านั้นที่นี่ยังเลี้ยงไก่หลากหลายสายพันธุ์ เพื่อเป็นนาฬิกาปลุกให้กับชาวสวน เพราะว่าต้องเดินทางไปไร่ผักบนดอยแต่เช้า ทุก ๆ เช้ามืด ไก่จะขันพร้อม ๆ กันโดยที่ไม่ได้นัดหมาย ผู้คนก็จะตื่นขึ้นมาเพื่อไปทำงาน แม้ปัจจุบันจะมีนาฬิกาใช้กันแล้ว ความนิยมในการเลี้ยงไก่ก็ไม่ได้น้อยลงไป
ลุงหยงช่อ แซ่ซ้ง อายุ 70 ปี ยอดนักประดิษฐ์ประจำหมู่บ้านม้ง ทำอาชีพตีมีดขายมาตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่มจนถึงปัจจุบัน มีดที่ตีเรียกว่า มีดงง รูปร่างโค้ง ใช้ถากหญ้าทำสวน และมีดปลายแหลม ที่ใช้สำหรับทำอาหาร "ตีมีด" เป็นวิชาโบราณที่ลุงหยงช่อสืบต่อมาตั้งแต่โบราณ ลุงทำขายได้วันละ 1 - 2 เล่ม เหล็กที่ใช้ตีมีดเป็นเหล็กที่ซื้อมาจากร้านบ้าง เหล็กเก่าบ้าง หรือ แหนบรถที่คนขายทิ้ง ลุงหยงช่อก็จะเอามาทำมีดขาย ราคาขาย 500 - 600 บาท ลุงมีลูกค้าประจำเยอะ ที่บ้านของลุงมีของที่ทำเองอย่างอุปกรณ์ตีมีดแบบโบราณ เตาเผาและที่เบาลมโบราณ หรือ ปุ๊ ซึ่งตอนนี้ไม่ค่อยมีดูทั่วไป ลุงหยงช่อบอกว่าการได้ทำอะไรใช้เองสบายใจลุงจึงไม่เคยทิ้งวิชาชีพนี้
สมัยก่อนความเจริญยังเข้าไม่ถึง ผ้าใช้ทอกันเอง ทอเสื้อ ทอกางเกงจากเส้นใยกัญชง เป็นต้นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเอาเส้นใยช่วงกลางแปลงต้นทำเสื้อ ขอบแปลงจะทำเชือก
นายบรรพต รัตนดิลกกุล พ่อหลวง และ นายวรวุฒิ ถนอมวรกุล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบอกว่าสมัยก่อนน่าจะได้ความคิดนี้มาจากคนจีน จากต้นกัญชงที่ขึ้นตามธรรมชาติ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็นำมาปลูกไว้ที่บ้านตนเองทุกคนเริ่มปลูกกัน แต่เมื่อต้นกัญชาเป็นเรืองสิ่งผิดกฎหมาย จึงทำให้ต้นกัญชงก็จึงถูกห้ามไปด้วย ปัจจุบันนี้หมู่บ้านได้รับอนุญาตจาก ป.ป.ส. โครงการหลวงบ้านแม่สา ให้ปลูกเพื่อการใช้งาน จำกัดพื้นที่ปลูกและมอบให้กลุ่มแม่บ้านวิสาหกิจชุมชนดูแล พ่อหลวงบอกว่า อย่างไรต้นกัญชงก็ต้องมีคู่ไปกับหมู่บ้าน ถึงแม้ว่าตอนนี้จะปลูกได้น้อยลง แต่ก็ยังดีใจที่ยังมีไว้ใช้ ต้นกัญชงผูกพันกับคนบ้านแม่สา ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงตาย ความพิเศษของต้นกัญชงชาวม้งเชื่อว่า บรรพบุรุษใช้กันมานาน ทำเสื้อผ้า เสื้อผ้าที่ทอจากเส้นใยกันชงมีความเหนี่ยว ทน เชื่อว่าเป็นสายใยเชื่อต่อความผูกพัน ใช้ตัดสายสะดือ แรกเกิด เรียกขวัญ
ลักษณะต้นกัญชงจะสูงประมาณ 2 เมตรกว่าความสูงช่วงนี้จะได้เส้นใยที่ดี ปลูก กรกฎาคม - กันยายน เก็บเกี่ยว เพื่อตากแดดในช่วงเดือนตุลาคม ธันวาคม อาศัยแดดช่วง 2 เดือนนี้ การทำให้ได้ "เส้นใยกัญชง" ต้องใช้หลายขั้นตอน ใช้เวลาเป็นปี ๆ กว่าจะได้เสื้อผ้าแต่ละชิ้น เมื่อต้นกัญชงได้ขนาดแล้ว ชาวบ้านจะตัดต้นและยอด มีขนาดตั้งแต่ 1-2 เมตร หลังจากตัดเสร็จแล้วก็จะนำไปตากแดดเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อต้นกัญชงแห้งได้ที่แล้วก็จะนำมาลอกเปลือกออก และนำไปตำให้เส้นใยเกิดความเหนียวนุ่ม ก่อนจะนำแต่ละเส้นต่อกัน ความยาวเส้นใยที่ต่อกันอาจมีขนาด 1,000 - 1,500 เมตร โดยใช้เวลาว่างจากการทำสวนทำไร่พกติดตัวไปทำได้ทุกที่ จากนั้นจะนำเส้นใยไปต้มน้ำที่ผสมกับขี้เถ้าก่อนจะย้อมด้วยสีธรรมชาติ หลังจากนั้นก็จะนำไปม้วนให้เป็นก้อนเพื่อให้ง่ายตอนการที่จะไปให้ทอ ชาวบ้านก็จะนำเส้นใยไปทอแปรรูปงานออกไปได้หลากหลายชนิด อาทิ เสื้อผ้า กระโปรง หมวก ผ้าคลุม ปลอกหมอน ใช้ทำสวมใส่ และเมื่อเสียชีวิต เสื้อผ้าที่ทอเตรียมไว้จะนำมาสวมใส่ให้ผู้ตาย สวมรองเท้าที่ทำจากเส้นใยกัญชง เพราะมีความเชื่อว่า จะเป็นสายใยเชื่อมต่อ และนำทางให้เจอกับบรรพบุรุษ ทุกคนทั้งหญิง ชายจะต้องเตรียมชุดไว้ ตอนมีชีวิตอยู่ เป็นความเชื่อว่าจะแคล้วคลาดจากความตายด้วย ส่วนรองเท้าจะถักใหม่เพื่อสวมใส่เดินทางไปหาบรรพบุรุษ เส้นใยกัญชงจะถูกเก็บรวบรวมทุกปี ทีนิดละหน่อย ให้ได้เยอะ ๆ จากนั้นก็จะทอเสื้อผ้า พ่อบ้านบางคนถ้าไม่มีใส่ หมายถึง เมียไม่เก่ง ไม่สนใจ ไม่คอยดูแลทำให้ บางคนไม่ทำก็จะหาเงินซื้อ ซึ่งตอนนี้ราคาแพง ราคาเป็นพันเป็นหมื่น ๆ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live