แม่น้ำสงคราม อ.เซกา จ.บึงกาฬ เป็นแม่น้ำที่ไหลคดเคี้ยว มีตลิ่งค่อนข้างสูงชัน ความยาวของแม่น้ำสงคราม ประมาณ 420 กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 6,473 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ติดต่อกัน 33 อำเภอ ของจังหวัดอุดรธานี, หนองคาย, บึงกาฬ, สกลนคร และนครพนม เป็นแม่น้ำสายสำคัญและมีความยาวที่สุดในเขตภูมิภาคอีสานตอนบน แม่น้ำสงครามเป็นแหล่งน้ำที่สร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่
วิถีชีวิตคนลุ่มน้ำสงครามนั้นผูกพันกับแม่น้ำสงคราม ในช่วงหน้าแล้งจะได้เห็นภาพชาวบ้านลงมาเล่นน้ำและหาหอยเล็บม้า แม้บางคนจะมาด้วยความสนุกแต่ก็ได้ของกินกลับบ้านไปด้วย วิธีการคือจะใช้เท้าหนีบหอยขึ้นมา สำหรับคนที่หาเพื่อกิน แต่บางคนก็ทำเป็นอาชีพ อย่าง แม่อุไร นางอุไร เพิ่มปัญญา และสามี พ่อดาวรุ่ง เพิ่มปัญญา เล่าว่าจะออกเรือไปในแม่น้ำหาหอยตั้งแต่เช้า - บ่าย โดยอุปกรณ์ที่ใช้เรียกว่า "คราดหอย" ตะแกรงคราดทำเหล็กยึดติดกับตะข่าย ด้ามทำด้วยไม้ ถ้าน้ำตื้นแม่จะใช้คราดหอยลากไปตามริมตลิ่ง ถ้าน้ำลึกจะใช้คราดหอยถ่วงหินเพิ่มน้ำหนักผูกติดกับลำเรือ ขับวนเพื่อลากหอยที่อยู่ในน้ำลึกให้เข้าไปในตาข่ายของคราดหอย แม่อุไรบอกว่า สมัยนี้หาหอยยากขึ้น ไม่เหมือนสมัยก่อนหาหอยได้วันละกว่า 50 - 100 กิโลกรัม ตอนนี้ได้ถึง 50 กิโลกรัมก็ดีใจแล้ว ขึ้นอยู่กับความชำนาญมากน้อยของแต่ละคน พอได้หอยมา จะเลือกเฉพาะตัวใหญ่ขาย ส่วนตัวเล็กจะโยนกลับคืนแม่น้ำ เพื่อให้เติบโตต่อไปเป็นการอนุรักษ์พันธุ์หอย ราคาขายส่งกิโลกรัมละ 15 - 20 บาท มีพ่อค้ามารับซื้อ แม่อุไรบอกว่ามีรายได้พอได้เลี้ยงครอบครัว หอยเล็บม้า หาได้เฉพาะหน้าแล้ง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม เท่านั้น ช่วงที่น้ำขึ้นชาวบ้านไม่สามารถหาหอยเล็บม้าได้ ต้องรอจนกว่าจะถึงหน้าแล้งของปีหน้า จึงจะกลับมาหาหอยขายได้อีกครั้ง ซึ่งก็ถือได้ว่า 1 ปีมีครั้งเดียว
"ยอ" หรือ "สะดุ้ง" เป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านที่ทำอาชีพประมงใช้หาปลา บนยอจะมีบ้านหลังเล็ก ๆ ที่ชาวบ้านสามารถใช้สำหรับเป็นที่กิน ที่นอนได้ เลี้ยงไก่ ปลูกผัก ยอเป็นเหมือนบ้านหลังที่สอง ใช้เวลาเพียงแค่ 1 - 2 เดือนก็สร้างได้สำเร็จ เวลาที่ผุพังก็ซ่อมแซมด้วยการตัดไม้ไผ่มาเสริม ชาวบ้านจะจอดยอแต่ละหลังไว้ที่ริมแม่น้ำ ในช่วงฤดูแล้งยอยักษ์จะจอดนิ่ง ในระหว่างนี้เจ้าของยอจะซ่อมแซมเพื่อรอเวลาออกหาปลาช่วงหน้าฝน อย่าง น้าพงษ์ เจ้าของยอ เป็นคนขยันแห่งแม่น้ำสงคราม น้าพงษ์หาหอยเล็บม้าขายในช่วงหน้าแล้ง หาปลาด้วยยอในช่วงหน้าน้ำ ยอที่เห็น บางคนก็ได้รับเป็นมรดกต่อมาจากพ่อแม่ นำมาซ่อมแซมดูแล ยอยักษ์เหล่านี้สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยเรือที่ติดเครื่องยนต์ เวลาหน้าน้ำก็จะเดินเรือเคลื่อนยอไปตามน้ำ เมื่อเจอแหล่งปลาก็ยกยอ บางปีได้ปลาเป็นตัน ๆ
ที่นี่เป็นแหล่งผลิตเกลือตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า "เกลือบ่อหัวแฮด" เป็นแหล่งเกลือบ่อที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และทำมาหลายชั่วอายุคนแล้ว บ่อเกลือหัว น้าฤทธิ์ สมฤทธิ์ เจริญชัย ประธานกลุ่มบ่อเกลือหัวแฮด และ พี่เม้า มีชัย เห็มมาลา เจ้าของตูบเกลือ บอกว่า แม่น้ำสงครามที่พูดถึงกันนั้น มีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นที่มาของเกลือสินเธาว์ที่ขาวสะอาดหมดจด เป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งของพวกเขา
วิธีการทำนั้นใช้น้ำจากริมฝั่งของแม่น้ำสงคราม โดยนำน้ำขึ้นมาเพื่อส่งไปยังบ่อต้ม ขั้นตอนการต้ม การทำเกลือ จนกว่าจะตกผลึก ใช้เวลากว่า 12 ชั่วโมง ผลึกเกลือที่นี่สวย โดยเฉพาะดอกเกลือที่เป็นผลึกพีระมิดไม่ใหญ่มาก ใช้ทำสปา เกลือที่นี่มีรสชาติดี เค็ม เหมาะกับการทำของหมักดองโดยเฉพาะปลาร้ามาก เกลือที่ทำเสร็จแล้วจะเก็บไว้ที่ตูบหรือโรงเกลือเพื่อรอจำหน่าย โดยจะบรรจุเป็นถุง ถุงละ 20 บาท สัญลักษณ์ของเกลือบ้านท่าสะอาดจะผูกด้วยเชือกปอสีแดง เกลือที่พร้อมจำหน่ายจะเก็บเอาไว้ในตูบหลังบ้าน เพราะในช่วงเดือนปลาย บ่อเกลือที่นี่สร้างรายได้จากการขายส่งเกลือ ขับรถเร่ขายเกลือไปตามหมู่บ้าน เกิดการสร้างงาน รับจ้างกรอกเกลือสร้างความสัมพันธ์กับคนต่างชุมชนที่นำของมาแลกเกลือ นาน ๆ จะมีเข้ามาที่ตูบเกลือ โดยไม่มีการนัดหมาย ใครอยากมาแลกก็มากันได้เลย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แม่น้ำสงคราม อ.เซกา จ.บึงกาฬ เป็นแม่น้ำที่ไหลคดเคี้ยว มีตลิ่งค่อนข้างสูงชัน ความยาวของแม่น้ำสงคราม ประมาณ 420 กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 6,473 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ติดต่อกัน 33 อำเภอ ของจังหวัดอุดรธานี, หนองคาย, บึงกาฬ, สกลนคร และนครพนม เป็นแม่น้ำสายสำคัญและมีความยาวที่สุดในเขตภูมิภาคอีสานตอนบน แม่น้ำสงครามเป็นแหล่งน้ำที่สร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่
วิถีชีวิตคนลุ่มน้ำสงครามนั้นผูกพันกับแม่น้ำสงคราม ในช่วงหน้าแล้งจะได้เห็นภาพชาวบ้านลงมาเล่นน้ำและหาหอยเล็บม้า แม้บางคนจะมาด้วยความสนุกแต่ก็ได้ของกินกลับบ้านไปด้วย วิธีการคือจะใช้เท้าหนีบหอยขึ้นมา สำหรับคนที่หาเพื่อกิน แต่บางคนก็ทำเป็นอาชีพ อย่าง แม่อุไร นางอุไร เพิ่มปัญญา และสามี พ่อดาวรุ่ง เพิ่มปัญญา เล่าว่าจะออกเรือไปในแม่น้ำหาหอยตั้งแต่เช้า - บ่าย โดยอุปกรณ์ที่ใช้เรียกว่า "คราดหอย" ตะแกรงคราดทำเหล็กยึดติดกับตะข่าย ด้ามทำด้วยไม้ ถ้าน้ำตื้นแม่จะใช้คราดหอยลากไปตามริมตลิ่ง ถ้าน้ำลึกจะใช้คราดหอยถ่วงหินเพิ่มน้ำหนักผูกติดกับลำเรือ ขับวนเพื่อลากหอยที่อยู่ในน้ำลึกให้เข้าไปในตาข่ายของคราดหอย แม่อุไรบอกว่า สมัยนี้หาหอยยากขึ้น ไม่เหมือนสมัยก่อนหาหอยได้วันละกว่า 50 - 100 กิโลกรัม ตอนนี้ได้ถึง 50 กิโลกรัมก็ดีใจแล้ว ขึ้นอยู่กับความชำนาญมากน้อยของแต่ละคน พอได้หอยมา จะเลือกเฉพาะตัวใหญ่ขาย ส่วนตัวเล็กจะโยนกลับคืนแม่น้ำ เพื่อให้เติบโตต่อไปเป็นการอนุรักษ์พันธุ์หอย ราคาขายส่งกิโลกรัมละ 15 - 20 บาท มีพ่อค้ามารับซื้อ แม่อุไรบอกว่ามีรายได้พอได้เลี้ยงครอบครัว หอยเล็บม้า หาได้เฉพาะหน้าแล้ง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม เท่านั้น ช่วงที่น้ำขึ้นชาวบ้านไม่สามารถหาหอยเล็บม้าได้ ต้องรอจนกว่าจะถึงหน้าแล้งของปีหน้า จึงจะกลับมาหาหอยขายได้อีกครั้ง ซึ่งก็ถือได้ว่า 1 ปีมีครั้งเดียว
"ยอ" หรือ "สะดุ้ง" เป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านที่ทำอาชีพประมงใช้หาปลา บนยอจะมีบ้านหลังเล็ก ๆ ที่ชาวบ้านสามารถใช้สำหรับเป็นที่กิน ที่นอนได้ เลี้ยงไก่ ปลูกผัก ยอเป็นเหมือนบ้านหลังที่สอง ใช้เวลาเพียงแค่ 1 - 2 เดือนก็สร้างได้สำเร็จ เวลาที่ผุพังก็ซ่อมแซมด้วยการตัดไม้ไผ่มาเสริม ชาวบ้านจะจอดยอแต่ละหลังไว้ที่ริมแม่น้ำ ในช่วงฤดูแล้งยอยักษ์จะจอดนิ่ง ในระหว่างนี้เจ้าของยอจะซ่อมแซมเพื่อรอเวลาออกหาปลาช่วงหน้าฝน อย่าง น้าพงษ์ เจ้าของยอ เป็นคนขยันแห่งแม่น้ำสงคราม น้าพงษ์หาหอยเล็บม้าขายในช่วงหน้าแล้ง หาปลาด้วยยอในช่วงหน้าน้ำ ยอที่เห็น บางคนก็ได้รับเป็นมรดกต่อมาจากพ่อแม่ นำมาซ่อมแซมดูแล ยอยักษ์เหล่านี้สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยเรือที่ติดเครื่องยนต์ เวลาหน้าน้ำก็จะเดินเรือเคลื่อนยอไปตามน้ำ เมื่อเจอแหล่งปลาก็ยกยอ บางปีได้ปลาเป็นตัน ๆ
ที่นี่เป็นแหล่งผลิตเกลือตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า "เกลือบ่อหัวแฮด" เป็นแหล่งเกลือบ่อที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และทำมาหลายชั่วอายุคนแล้ว บ่อเกลือหัว น้าฤทธิ์ สมฤทธิ์ เจริญชัย ประธานกลุ่มบ่อเกลือหัวแฮด และ พี่เม้า มีชัย เห็มมาลา เจ้าของตูบเกลือ บอกว่า แม่น้ำสงครามที่พูดถึงกันนั้น มีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นที่มาของเกลือสินเธาว์ที่ขาวสะอาดหมดจด เป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งของพวกเขา
วิธีการทำนั้นใช้น้ำจากริมฝั่งของแม่น้ำสงคราม โดยนำน้ำขึ้นมาเพื่อส่งไปยังบ่อต้ม ขั้นตอนการต้ม การทำเกลือ จนกว่าจะตกผลึก ใช้เวลากว่า 12 ชั่วโมง ผลึกเกลือที่นี่สวย โดยเฉพาะดอกเกลือที่เป็นผลึกพีระมิดไม่ใหญ่มาก ใช้ทำสปา เกลือที่นี่มีรสชาติดี เค็ม เหมาะกับการทำของหมักดองโดยเฉพาะปลาร้ามาก เกลือที่ทำเสร็จแล้วจะเก็บไว้ที่ตูบหรือโรงเกลือเพื่อรอจำหน่าย โดยจะบรรจุเป็นถุง ถุงละ 20 บาท สัญลักษณ์ของเกลือบ้านท่าสะอาดจะผูกด้วยเชือกปอสีแดง เกลือที่พร้อมจำหน่ายจะเก็บเอาไว้ในตูบหลังบ้าน เพราะในช่วงเดือนปลาย บ่อเกลือที่นี่สร้างรายได้จากการขายส่งเกลือ ขับรถเร่ขายเกลือไปตามหมู่บ้าน เกิดการสร้างงาน รับจ้างกรอกเกลือสร้างความสัมพันธ์กับคนต่างชุมชนที่นำของมาแลกเกลือ นาน ๆ จะมีเข้ามาที่ตูบเกลือ โดยไม่มีการนัดหมาย ใครอยากมาแลกก็มากันได้เลย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live