แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายที่ยาวสายหนึ่งในทวีปเอเชีย แม่น้ำโขงสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ที่ไหลผ่านไม่ว่ายามหน้าน้ำหรือหน้าแล้ง อย่างเช่น ที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี มีแม่น้ำโขงไหลเชื่อมแผ่นดินและความผูกพันธ์ระหว่างชาวบ้านในพื้นที่ริมฝั่งน้ำ ชาวบ้าน บ้านกุ่ม บ้านตามุย และบ้านท่าล้ง มีความผูกพันธ์กันยาวนานผ่านสายน้ำ
ริมฝั่งโขงยามหน้าแล้งนั้น น้ำจะลดลงทำให้เกิดหาดทรายและสันดอนกลางน้ำ ที่มีดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการปลูกพืชผัก ชาวบ้าน บ้านกุ่ม บ้านตามุย และบ้านท่าล้ง มีการใช้พื้นที่เหล่านี้ สำหรับการเพาะปลูกไม่ว่าจะเป็น เช่น ถั่วดิน ฟักทอง ผักกวางตุ้ง มันเทศ มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว เป็นต้น สำหรับชาวบ้านริมฝั่งโขงแล้วฤดูกาลนี้จะเป็นช่วงที่ชาวฝั่งโขงปลูกผักไว้กินเองเหลือก็ขาย หากถามว่ามีใครเป็นเจ้าของ ชาวบ้านจะตอบว่า ก็เจ้าของที่ที่มาทำการเกษตรในบริเวณนั้น ๆ ก็คือเจ้าของ โดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพราะว่าทำกินกันมารุ่นต่อรุ่น โดยไม่มีปัญหาในการแย่งที่ทำกิน
การปลูกฝ้ายริมโขงของชาวบ้านที่นี่มีมานาน ฝ้ายสำหรับคนที่นี่จะนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ผ้าห่ม ใช้ในชีวิตประจำวัน แม้ปัจจุบันจะลดลง เพราะเสื้อผ้าสำเร็จรูปหาได้ง่าย ชาวบ้านที่นี่แทบทุกหลังคาเรือนสามารถทอผ้าและเย็บผ้าห่ม หมอน ที่นอน โดยสิ่งเหล่านี้กลายเป็นตัวแทนความรักของคนในครอบครัว โดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่มักจะมีสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดให้กับลูกหลาน โดยเฉพาะผ้าห่มและหมอน
"ตากอง ขยันการ" ชาวบ้านบ้านตามุย มีอาชีพปลูกฝ้าย ไร่ฝ้ายของตากองปลูกในบริเวณเนินทรายที่เกิดขึ้นยามน้ำโขงลด แม้พื้นที่ที่มีไม่มากนัก แต่ทำให้ชาวบ้านอย่างตากอง สามารถสร้างอาชีพหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้มาอย่างยาวนาน ไร่ฝ้ายของตากองจะปลูกแซมด้วยถั่วฝักยาว แตงโม และพืชอื่น ๆ ที่มีอายุระยะสั้นเหมาะสำหรับระยะเวลาที่ดินแถวนี้ปรากฏขึ้นมาตามระยะเวลาน้ำลดของแม่น้ำโขง
"ยายวัน มณีวัน ขยันการ" ชาวบ้านบ้านตามุย ที่มีไร่ฝ้ายริมน้ำโขงที่บ้านท่าล้ง ทุกเช้าในช่วงเดือนมีนาคมจะเห็นยายวันเดินทางจากบ้านตามุยไปที่บ้านท่าล้งเพื่อเก็บฝ้าย ความเก่งเกี่ยวกับของยายวันนั้นมีมากมาย นอกจากเก็บฝ้ายไว้เพื่อขายแล้ว ฝ้ายของยายวันยังเป็นฝ้ายที่ชาวบ้านที่นี่ใช้ปั่นและทอผ้าสำหรับใส่และขายอีกด้วย กิจวัตรประจำวันนอกจากเก็บฝ้าย ยายวันจะปั่นฝ้าย สำหรับไว้ทอผ้าเพื่อใส่เองและให้ลูกหลาน
"นาแซง" เป็นนาที่ชาวบ้านนิยมทำในยามน้ำลด โดยอาศัยพื้นที่ริมน้ำและสันดอนแม่น้ำโขง ยามหน้าแล้งปลูกข้าว ช่วงเวลาการทำนาแซงนั้นไม่นานนัก มีเฉพาะช่วงหน้าแล้งยามน้ำโขงลด มีหลายครอบครัวที่บ้านกุ่ม ที่จะเป็นเจ้าของนาแซงแม่สำราษ และพ่อพอดี จันทร์เทพ สองสามีภรรยา ทุกเช้าในยามหน้าแล้งจะพายเรือข้ามมายังสันดอนที่โผล่ออกมายามน้ำลดในหน้าแล้งเพื่อปลูกข้าวนาแซงและดูแลพืชผักที่ปลูกเอาไว้ โดยทั้งคู่บอกว่าคนที่ทำนาแซงนั้นกลัวอย่างเดียว คือ น้ำท่วม เพราะเวลาที่ดำก็รอน้ำลด แต่บางครั้งไม่ทันที่ข้าวจะโตจนพอเก็บ น้ำก็ท่วม แต่ทั้งคู่ก็บอกว่าไม่เป็นห่วงมาก เพราะว่ายังมีพื้นที่นาบนบก เป็นแหล่งปลูกข้าวด้วย การทำนาแซงของพ่อทองดีและแม่สำราญ อยู่กลางแม่น้ำโขง เวลาน้ำลดก็สร้างกระต๊อบเอาไว้เป็นที่พักยามมาทำนาแซง อากาศกลางแม่น้ำโขงเย็นสบายทั้งในเวลากลางวันกลางคืน ทุกคนเลยต้องรีบทำนาข้าวในยามที่น้ำโขงลด เพื่อให้ออกผลผลิตทันในยามน้ำมาและผืนแผ่นดินในบริเวณนี้จะจมลงใต้น้ำอีกครั้ง ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้นั้นก็เอามาเก็บเอาไว้ที่บ้าน และใช้กินได้ตลอดทั้งปี
แม้จะอาศัยในบริเวณพื้นที่ริมฝั่งโขง ชาวบ้านบ้านท่าล้งมีความขาดแคลนน้ำในยามหน้าแล้ง จึงต้องมีโอ่งน้ำสำหรับกักเก็กน้ำไว้กินยามหน้าแล้ง อีกหนึ่งของความขาดแคลนคือ ดิน สภาพพื้นที่ในหมู่บ้านเป็นภูเขาหินทราย ทำให้ปลูกพืชพันธ์ได้ไม่ดี ลักษณะบ้านที่อยู่อาศัยของคนที่นี่ต้องปลูกบ้านบนหิน ทำให้บ้านเรือนต่าง ๆ มีกำแพงหินกั้น เพื่อให้บ้านแข็งแรง รวมทั้งไร่สวนของชาวบ้านจะมีหินกั้นเขตนาและไร่ เพื่อบอกอาณาเขตอีกทั้งเป็นการกั้นดินให้ทับถมอยู่ในที่ดินเพื่อเพิ่มพูนปริมาณดิน ดังนั้น การทำสวนทำนาของคนที่นี้จะเรียกว่าทำบนหินก็ได้ เนื่องด้วยลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านอยู่บนหิน ชาวบ้านจึงมีการปรับตัวเพื่อที่จะอยู่อาศัยและเพาะปลูก ด้วยการเรียนรู้ที่จะสร้างดินมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ การสร้างดินจะเริ่มตั้งแต่ชาวบ้านต้องไปเก็บหินมากั้นดิน และสะสมไปเรื่อย ๆ เป็นปี ๆ จึงจะมีพื้นที่ในการทำนา ที่นาบางแปลงใช้เวลาเป็นสิบปี
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายที่ยาวสายหนึ่งในทวีปเอเชีย แม่น้ำโขงสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ที่ไหลผ่านไม่ว่ายามหน้าน้ำหรือหน้าแล้ง อย่างเช่น ที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี มีแม่น้ำโขงไหลเชื่อมแผ่นดินและความผูกพันธ์ระหว่างชาวบ้านในพื้นที่ริมฝั่งน้ำ ชาวบ้าน บ้านกุ่ม บ้านตามุย และบ้านท่าล้ง มีความผูกพันธ์กันยาวนานผ่านสายน้ำ
ริมฝั่งโขงยามหน้าแล้งนั้น น้ำจะลดลงทำให้เกิดหาดทรายและสันดอนกลางน้ำ ที่มีดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการปลูกพืชผัก ชาวบ้าน บ้านกุ่ม บ้านตามุย และบ้านท่าล้ง มีการใช้พื้นที่เหล่านี้ สำหรับการเพาะปลูกไม่ว่าจะเป็น เช่น ถั่วดิน ฟักทอง ผักกวางตุ้ง มันเทศ มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว เป็นต้น สำหรับชาวบ้านริมฝั่งโขงแล้วฤดูกาลนี้จะเป็นช่วงที่ชาวฝั่งโขงปลูกผักไว้กินเองเหลือก็ขาย หากถามว่ามีใครเป็นเจ้าของ ชาวบ้านจะตอบว่า ก็เจ้าของที่ที่มาทำการเกษตรในบริเวณนั้น ๆ ก็คือเจ้าของ โดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพราะว่าทำกินกันมารุ่นต่อรุ่น โดยไม่มีปัญหาในการแย่งที่ทำกิน
การปลูกฝ้ายริมโขงของชาวบ้านที่นี่มีมานาน ฝ้ายสำหรับคนที่นี่จะนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ผ้าห่ม ใช้ในชีวิตประจำวัน แม้ปัจจุบันจะลดลง เพราะเสื้อผ้าสำเร็จรูปหาได้ง่าย ชาวบ้านที่นี่แทบทุกหลังคาเรือนสามารถทอผ้าและเย็บผ้าห่ม หมอน ที่นอน โดยสิ่งเหล่านี้กลายเป็นตัวแทนความรักของคนในครอบครัว โดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่มักจะมีสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดให้กับลูกหลาน โดยเฉพาะผ้าห่มและหมอน
"ตากอง ขยันการ" ชาวบ้านบ้านตามุย มีอาชีพปลูกฝ้าย ไร่ฝ้ายของตากองปลูกในบริเวณเนินทรายที่เกิดขึ้นยามน้ำโขงลด แม้พื้นที่ที่มีไม่มากนัก แต่ทำให้ชาวบ้านอย่างตากอง สามารถสร้างอาชีพหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้มาอย่างยาวนาน ไร่ฝ้ายของตากองจะปลูกแซมด้วยถั่วฝักยาว แตงโม และพืชอื่น ๆ ที่มีอายุระยะสั้นเหมาะสำหรับระยะเวลาที่ดินแถวนี้ปรากฏขึ้นมาตามระยะเวลาน้ำลดของแม่น้ำโขง
"ยายวัน มณีวัน ขยันการ" ชาวบ้านบ้านตามุย ที่มีไร่ฝ้ายริมน้ำโขงที่บ้านท่าล้ง ทุกเช้าในช่วงเดือนมีนาคมจะเห็นยายวันเดินทางจากบ้านตามุยไปที่บ้านท่าล้งเพื่อเก็บฝ้าย ความเก่งเกี่ยวกับของยายวันนั้นมีมากมาย นอกจากเก็บฝ้ายไว้เพื่อขายแล้ว ฝ้ายของยายวันยังเป็นฝ้ายที่ชาวบ้านที่นี่ใช้ปั่นและทอผ้าสำหรับใส่และขายอีกด้วย กิจวัตรประจำวันนอกจากเก็บฝ้าย ยายวันจะปั่นฝ้าย สำหรับไว้ทอผ้าเพื่อใส่เองและให้ลูกหลาน
"นาแซง" เป็นนาที่ชาวบ้านนิยมทำในยามน้ำลด โดยอาศัยพื้นที่ริมน้ำและสันดอนแม่น้ำโขง ยามหน้าแล้งปลูกข้าว ช่วงเวลาการทำนาแซงนั้นไม่นานนัก มีเฉพาะช่วงหน้าแล้งยามน้ำโขงลด มีหลายครอบครัวที่บ้านกุ่ม ที่จะเป็นเจ้าของนาแซงแม่สำราษ และพ่อพอดี จันทร์เทพ สองสามีภรรยา ทุกเช้าในยามหน้าแล้งจะพายเรือข้ามมายังสันดอนที่โผล่ออกมายามน้ำลดในหน้าแล้งเพื่อปลูกข้าวนาแซงและดูแลพืชผักที่ปลูกเอาไว้ โดยทั้งคู่บอกว่าคนที่ทำนาแซงนั้นกลัวอย่างเดียว คือ น้ำท่วม เพราะเวลาที่ดำก็รอน้ำลด แต่บางครั้งไม่ทันที่ข้าวจะโตจนพอเก็บ น้ำก็ท่วม แต่ทั้งคู่ก็บอกว่าไม่เป็นห่วงมาก เพราะว่ายังมีพื้นที่นาบนบก เป็นแหล่งปลูกข้าวด้วย การทำนาแซงของพ่อทองดีและแม่สำราญ อยู่กลางแม่น้ำโขง เวลาน้ำลดก็สร้างกระต๊อบเอาไว้เป็นที่พักยามมาทำนาแซง อากาศกลางแม่น้ำโขงเย็นสบายทั้งในเวลากลางวันกลางคืน ทุกคนเลยต้องรีบทำนาข้าวในยามที่น้ำโขงลด เพื่อให้ออกผลผลิตทันในยามน้ำมาและผืนแผ่นดินในบริเวณนี้จะจมลงใต้น้ำอีกครั้ง ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้นั้นก็เอามาเก็บเอาไว้ที่บ้าน และใช้กินได้ตลอดทั้งปี
แม้จะอาศัยในบริเวณพื้นที่ริมฝั่งโขง ชาวบ้านบ้านท่าล้งมีความขาดแคลนน้ำในยามหน้าแล้ง จึงต้องมีโอ่งน้ำสำหรับกักเก็กน้ำไว้กินยามหน้าแล้ง อีกหนึ่งของความขาดแคลนคือ ดิน สภาพพื้นที่ในหมู่บ้านเป็นภูเขาหินทราย ทำให้ปลูกพืชพันธ์ได้ไม่ดี ลักษณะบ้านที่อยู่อาศัยของคนที่นี่ต้องปลูกบ้านบนหิน ทำให้บ้านเรือนต่าง ๆ มีกำแพงหินกั้น เพื่อให้บ้านแข็งแรง รวมทั้งไร่สวนของชาวบ้านจะมีหินกั้นเขตนาและไร่ เพื่อบอกอาณาเขตอีกทั้งเป็นการกั้นดินให้ทับถมอยู่ในที่ดินเพื่อเพิ่มพูนปริมาณดิน ดังนั้น การทำสวนทำนาของคนที่นี้จะเรียกว่าทำบนหินก็ได้ เนื่องด้วยลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านอยู่บนหิน ชาวบ้านจึงมีการปรับตัวเพื่อที่จะอยู่อาศัยและเพาะปลูก ด้วยการเรียนรู้ที่จะสร้างดินมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ การสร้างดินจะเริ่มตั้งแต่ชาวบ้านต้องไปเก็บหินมากั้นดิน และสะสมไปเรื่อย ๆ เป็นปี ๆ จึงจะมีพื้นที่ในการทำนา ที่นาบางแปลงใช้เวลาเป็นสิบปี
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live