บ้านมอตะหลั่ว ต.แม่จัน ตั้งอยู่กลางป่าใกล้ชายแดนประเทศเมียนมา อยู่ห่างจากตัว อ.อุ้มผาง ประมาณ 110 กิโลเมตร ถนนหนทางไม่สะดวก อาจจะใช้เดินทางจากตัวเมืองอุ้มผางนาน 6 ชั่วโมง ในฤดูแล้ง และ 8 - 10 ชั่วโมงในฤดูฝน
นายณรงค์ ปวงคำ (ครูเอส) ครูนิเทศก์ ศศช.กลุ่มบ้านตะละโค่ง กศน.อำเภออุ้มผาง เล่าว่าที่บ้านมอตะหลั่วไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ใด ๆ มีเพียงวิทยุสื่อสารเพียงไม่กี่เครื่องสำหรับติดต่อกับคนในหมู่บ้าน และบ้านมอตะหลั่วยังไม่เปิดรับวัฒนธรรมจากภายนอกมากนัก เพราะคนที่นี่นับถือฤาษีอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินและการแต่งกาย เช่น ไม่กินไข่ ไก่ หมู กินแต่ปลา กุ้ง ผัก ที่หาได้ในธรรมชาติ ดังนั้นผู้ที่เข้ามายังหมู่บ้านมอตะหลั่วจะต้องเคารพกฎของฤๅษีเช่นกัน เช่นเดียวกับการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของฤาษีนั้น ผู้ชายที่อายุ 15 ปีขึ้นไป จะไว้ผมยาวมัดเป็นจุกด้านหน้าและไม่ตัดตลอดชีวิต นุ่งโสร่ง สวมใส่เสื้อที่มีกระดุมหน้าเท่านั้น สำหรับผู้หญิงสวมชุดชนเฝ่าที่บอกถึงสถานภาพ คือ หญิงที่แต่งงานแล้วจะสวมชุดที่มีแถบสีแดง ส่วนเด็กหญิงและสาวโสดจะสวมชุดสีขาว
คนบ้านมอตะหลั่วอาศัยน้ำจากธรรมชาติทั้งเพื่อกินและใช้จากสองแหล่งคือลำห้วยและบ่อดิน โดยการซักล้างจะใช้น้ำในลำห้วยที่ไหลผ่านหน้าบ้าน ซึ่งแต่ละบ้านจะทำฝายเล็ก ๆ กักน้ำไว้ แล้วต่อท่อลงมาที่กะละมังเพื่อง่ายต่อการตัก โดยใช้ในการอาบน้ำ สระผม และซักผ้า ส่วนน้ำกินและน้ำใช้ในบ้านจะตักจากบ่อดินที่ขุดเอาไว้ ซึ่งบ่อดินนั้นจะต้องทำหลังคากันสิ่งสกปรกต่าง ๆ ตกลงไปปนเปื้อนอีกด้วย น้ำจากบ่อดินนี้ทุกคนสามารถนำหม้อหรือกระบอกไม้ไผ่ที่ทำขึ้นมาจากลำไม้ไผ่ มาตักไปเก็บไว้กินไว้ใช้
สิ่งปลูกสร้างที่บ้านมอตะหลั่วเกือบ 100% ต้องใช้ใบหวายในการมุงหลังคาและทำเป็นฝาผนังกันแดดกันฝน ซึ่ง "หวาย" หรือใบหวาย นั้นมีลักษณะคล้าย ๆ ใบจาก มีอยู่มากในหมู่บ้านทั้งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติและนำมาปลูกไว้ข้างบ้าน ใบหวายอาจจะเรียกว่าเป็นไม้ที่สร้างการรวมใจให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านก็อาจจะว่าได้ เนื่องจากใบหวายมักจะถูกนำมาใช้จำนวนมาก จึงต้องอาศัยผู้คนในหมู่บ้านมาช่วยกัน ตั้งแต่การตัดใบหวาย การสานใบหวาย และนำใบหวายไปมุงหลังคา ทุกครั้งที่ต้องมีการทำสิ่งเหล่านี้ ชาวบ้านจะหยุดงานของตนเพื่อมาร่วมด้วยช่วยกัน โดยเฉพาะการสานใบหวายในเวลากลางคืนนั้น จะเป็นเสมือนการมาชมมหรสพ เพราะมีทั้งเสียงเพลง แสงไฟ และเสียงหัวเราะพูดคุย เจ้าของบ้านจะมีน้ำชาและขนมเป็นน้ำใจตอบแทนผู้มาช่วยงานอีกด้วย
ซาเก่อโจ จองความดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านมอตะหลั่ว บอกว่าการช่วยกันสานใบหวายเป็นวิถีชีวิตของคนที่นี่ เป็นน้ำใจที่หมุนเวียนกันไป เพราะทุกครอบครัวต้องใช้ใบหวายในการซ่อมซ่อมแซมหรือเปลี่ยนหลังคาอยู่ทุกปี โดยจะเริ่มทำตั้งแต่หลังเก็บเกี่ยว เพื่อให้เสร็จก่อนฤดูฝนจะมาถึง
บ้านมอตะหลั่วมีสภาพภูมิอากาศคล้ายกับภาคใต้ของประเทศไทย จึงสามารถปลูกผลไม้ได้หลากหลาย เช่น มังคุด ทุเรียน หมาก เมื่อเข้าเขตหมู่บ้านจะพบเห็นต้นทุเรียนเก่าแก่ อายุ 40 - 50 ปีอยู่จำนวนมาก ผู้ช่วยซาเก่อโจ บอกว่าทุเรียนรสชาติดี ส่วนใหญ่จะขายเป็นลูก ๆ เนื่องจากชาวบ้านยังไม่มีการแปรรูปที่เหมาะกับตลาดจึงขายได้ไม่มากนัก มีเพียง "หมาก" เท่านั้นที่สามารถสร้างรายให้ชาวบ้านที่นี่มายาวนานและถือเป็นรายได้หลัก โดยเกือบทุกครอบครัวที่ในหมู่บ้านจะมีสวนหมากเป็นของตัวเอง เมื่อถึงฤดูกาลเก็บหมาก คนที่มีความชำนาญในการปีนเก็บหมาก ก็จะมาลงแขกช่วยเหลือกันเก็บ หลังจากเก็บแล้วก็ส่งขายที่หมู่บ้านเลตองคุ และประเทศเมียนมา
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านมอตะหลั่ว ต.แม่จัน ตั้งอยู่กลางป่าใกล้ชายแดนประเทศเมียนมา อยู่ห่างจากตัว อ.อุ้มผาง ประมาณ 110 กิโลเมตร ถนนหนทางไม่สะดวก อาจจะใช้เดินทางจากตัวเมืองอุ้มผางนาน 6 ชั่วโมง ในฤดูแล้ง และ 8 - 10 ชั่วโมงในฤดูฝน
นายณรงค์ ปวงคำ (ครูเอส) ครูนิเทศก์ ศศช.กลุ่มบ้านตะละโค่ง กศน.อำเภออุ้มผาง เล่าว่าที่บ้านมอตะหลั่วไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ใด ๆ มีเพียงวิทยุสื่อสารเพียงไม่กี่เครื่องสำหรับติดต่อกับคนในหมู่บ้าน และบ้านมอตะหลั่วยังไม่เปิดรับวัฒนธรรมจากภายนอกมากนัก เพราะคนที่นี่นับถือฤาษีอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินและการแต่งกาย เช่น ไม่กินไข่ ไก่ หมู กินแต่ปลา กุ้ง ผัก ที่หาได้ในธรรมชาติ ดังนั้นผู้ที่เข้ามายังหมู่บ้านมอตะหลั่วจะต้องเคารพกฎของฤๅษีเช่นกัน เช่นเดียวกับการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของฤาษีนั้น ผู้ชายที่อายุ 15 ปีขึ้นไป จะไว้ผมยาวมัดเป็นจุกด้านหน้าและไม่ตัดตลอดชีวิต นุ่งโสร่ง สวมใส่เสื้อที่มีกระดุมหน้าเท่านั้น สำหรับผู้หญิงสวมชุดชนเฝ่าที่บอกถึงสถานภาพ คือ หญิงที่แต่งงานแล้วจะสวมชุดที่มีแถบสีแดง ส่วนเด็กหญิงและสาวโสดจะสวมชุดสีขาว
คนบ้านมอตะหลั่วอาศัยน้ำจากธรรมชาติทั้งเพื่อกินและใช้จากสองแหล่งคือลำห้วยและบ่อดิน โดยการซักล้างจะใช้น้ำในลำห้วยที่ไหลผ่านหน้าบ้าน ซึ่งแต่ละบ้านจะทำฝายเล็ก ๆ กักน้ำไว้ แล้วต่อท่อลงมาที่กะละมังเพื่อง่ายต่อการตัก โดยใช้ในการอาบน้ำ สระผม และซักผ้า ส่วนน้ำกินและน้ำใช้ในบ้านจะตักจากบ่อดินที่ขุดเอาไว้ ซึ่งบ่อดินนั้นจะต้องทำหลังคากันสิ่งสกปรกต่าง ๆ ตกลงไปปนเปื้อนอีกด้วย น้ำจากบ่อดินนี้ทุกคนสามารถนำหม้อหรือกระบอกไม้ไผ่ที่ทำขึ้นมาจากลำไม้ไผ่ มาตักไปเก็บไว้กินไว้ใช้
สิ่งปลูกสร้างที่บ้านมอตะหลั่วเกือบ 100% ต้องใช้ใบหวายในการมุงหลังคาและทำเป็นฝาผนังกันแดดกันฝน ซึ่ง "หวาย" หรือใบหวาย นั้นมีลักษณะคล้าย ๆ ใบจาก มีอยู่มากในหมู่บ้านทั้งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติและนำมาปลูกไว้ข้างบ้าน ใบหวายอาจจะเรียกว่าเป็นไม้ที่สร้างการรวมใจให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านก็อาจจะว่าได้ เนื่องจากใบหวายมักจะถูกนำมาใช้จำนวนมาก จึงต้องอาศัยผู้คนในหมู่บ้านมาช่วยกัน ตั้งแต่การตัดใบหวาย การสานใบหวาย และนำใบหวายไปมุงหลังคา ทุกครั้งที่ต้องมีการทำสิ่งเหล่านี้ ชาวบ้านจะหยุดงานของตนเพื่อมาร่วมด้วยช่วยกัน โดยเฉพาะการสานใบหวายในเวลากลางคืนนั้น จะเป็นเสมือนการมาชมมหรสพ เพราะมีทั้งเสียงเพลง แสงไฟ และเสียงหัวเราะพูดคุย เจ้าของบ้านจะมีน้ำชาและขนมเป็นน้ำใจตอบแทนผู้มาช่วยงานอีกด้วย
ซาเก่อโจ จองความดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านมอตะหลั่ว บอกว่าการช่วยกันสานใบหวายเป็นวิถีชีวิตของคนที่นี่ เป็นน้ำใจที่หมุนเวียนกันไป เพราะทุกครอบครัวต้องใช้ใบหวายในการซ่อมซ่อมแซมหรือเปลี่ยนหลังคาอยู่ทุกปี โดยจะเริ่มทำตั้งแต่หลังเก็บเกี่ยว เพื่อให้เสร็จก่อนฤดูฝนจะมาถึง
บ้านมอตะหลั่วมีสภาพภูมิอากาศคล้ายกับภาคใต้ของประเทศไทย จึงสามารถปลูกผลไม้ได้หลากหลาย เช่น มังคุด ทุเรียน หมาก เมื่อเข้าเขตหมู่บ้านจะพบเห็นต้นทุเรียนเก่าแก่ อายุ 40 - 50 ปีอยู่จำนวนมาก ผู้ช่วยซาเก่อโจ บอกว่าทุเรียนรสชาติดี ส่วนใหญ่จะขายเป็นลูก ๆ เนื่องจากชาวบ้านยังไม่มีการแปรรูปที่เหมาะกับตลาดจึงขายได้ไม่มากนัก มีเพียง "หมาก" เท่านั้นที่สามารถสร้างรายให้ชาวบ้านที่นี่มายาวนานและถือเป็นรายได้หลัก โดยเกือบทุกครอบครัวที่ในหมู่บ้านจะมีสวนหมากเป็นของตัวเอง เมื่อถึงฤดูกาลเก็บหมาก คนที่มีความชำนาญในการปีนเก็บหมาก ก็จะมาลงแขกช่วยเหลือกันเก็บ หลังจากเก็บแล้วก็ส่งขายที่หมู่บ้านเลตองคุ และประเทศเมียนมา
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live