ที่มาของ "บ้านกะบกเตี้ย" มาจากต้นไม้ประจําถิ่น ชาวบ้านเรียกว่า "ต้นกะบก" ที่มีลักษณะต้นไม่สูง คนที่อาศัยในชุมชนจึงเรียกชื่อหมู่บ้านเป็นชื่อต้นไม้ เพื่อง่ายต่อการจดจำ คนกะบกเตี้ยทำอาชีพเกษตรกร ทำนา ทำสวน ทำไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด คนที่นี่ใช้ภาษาสื่อสารกัน มี 3 ภาษา ภาษาเขมร ภาษาไทย และภาษาลาว เพราะว่ามีในอดีตนั้นมีคนกัมพูชาและคนลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ จนกลายมาเป็นคนไทยในปัจจุบัน
ชาวบ้านยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีงานทําบุญกลางบ้าน ณ ศาลเจ้าพ่อเขาแหลม งานทําบุญกลางบ้าน หรือ งานมาขึ้นศาล ซึ่งคนที่นี่จะจัดงานบุญทุกปี ช่วงเวลาขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านแต่ละครอบครัวจะเตรียมข้าวของไปกราบไหว้ อย่าง ไก่ หมู ไข่ไก่ นำไปถวายที่ศาลเจ้าพ่อเขาแหลม ของถวายที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ใบไม้ที่มีชื่อเป็นมงคล อย่าง ใบมะยม, ใบขนุน, ใบค้ำ และใบคูณ มาถวายด้วย
ใบไม้เหล่านี้เป็นใบไม้ที่ชาวบ้านปลูกไว้ในบริเวณบ้านของตัวเอง ถ้าบ้านใครไม่มีก็สามารถขอเพื่อนบ้านได้หลังจากจบพิธีไหว้ ชาวบ้านจะนำใบไม้ชื่อมงคลเหล่านี้กลับบ้าน โดยเอาไปประดับไว้กลางบ้าน ประดับไว้ที่ยุ้งข้าว เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
ป้าสำเนียง และลุงมล สองสามีภรรยาทำอาชีพหาผำหรือไข่น้ำ ตามบึง และหนองน้ำธรรมชาติ ทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านที่ไกลออกไป "ผำ" ผักพื้นบ้านมีขนาดเล็กที่สุด คนเหนือเรียก "ผำ" ภาคกลางเรียก "ไข่น้ำ" ส่วนคนอีสานเรียก "ไข่ผำ" เป็นพืชน้ำมีสีเขียวขนาดเล็กคล้ายไข่ปลา แผ่คลุมเหนือผิวน้ำเป็นแพ "แพ" มีขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่ง เวลาเก็บต้องใช้สวิงช้อนขึ้นมา
วิธีการตัก "ผำ" ของลุงมลและป้าสำเนียง ประดิษฐ์เครื่องมือขึ้นมาใช้เอง โดยใช้กระด้ง และผ้าขาวม้ามาเย็บติดกันตามไอเดียของป้า เวลาที่จะตักก็ใช้ไม้ค่อย ๆ กวาดผำให้มากองรวมกันเยอะ ๆ แล้วใช้กระด้งดังกล่าวค่อย ๆ ตัก ป้าสำเนียงบอกว่าผำที่ดีต้องมีสีเขียวสด หากมีสีคล้ำจะกินไม่อร่อย ทั้งสองคนหาผำมากว่า 30 ปี เดินสายไปในที่ต่าง ๆ สนุกและมีความสุขกับสิ่งที่ได้หา โดยทุกครั้งก่อนจะเอาไปขายก็จะเอามาล้างน้ำจนสะอาด เร่ขายไปถุงละ 10 บาท ชาวบ้านนิยมเอาไข่ผำไปประกอบอาหาร เช่น แกง หรือ ผัด บางทีก็ใส่เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้มีความหอม มัน อร่อย มากขึ้น
หมอสมุนไพรโบราณ หนึ่งเดียวแห่งชุมชนกะบกเตี้ย คนที่นี่เมื่อรู้สึกไม่สบาย ก็มีจะตาไฮ้ ซึ่งอายุ 80 กว่าปีแล้วคอยดูแล ที่บ้านของตาจะเต็มไปด้วยสมุนไพรหลากหลายชนิดที่หามาปลูกและขยายพันธุ์เอง บางครั้งตาก็จะเข้าป่าหาสมุนไพรมาทำยาเก็บไว้ บางครั้งก็ซื้อมาผสมบ้าง แล้วแต่ว่าตัวไหนเหมาะสม โดยตาจะเดินทางออกจากบ้านทุกวัน ไปตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะบ้านของแฟนยา (คนที่ตาไฮ้เคยรักษาจนหาย) ด้วยจักรยานคันเก่าพร้อมกระเป๋าใบใหญ่ที่ใส่สมุนไพรหลากชนิดผูกติดไว้ท้ายรถจักรยานไว้ เพื่อไปพูดคุยและไถ่ถามอาการ แนะนำการดูแลตัวเองให้กับแฟนยา ถ้าแฟนยาคนไหนสนใจจะปลูกสมุนไพรเองตาไฮ้ก็จะแนะนำการปลูกและการใช้สมุนไพร ตาไฮ้เป็นที่พึ่งพาสำหรับคนในพื้นที่กะบกเตี้ยและหมู่บ้านรอบ ๆ ในยามที่เจ็บป่วย ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าปัจจุบันความนิยมการรักษาแบบนี้จะลดลง แต่ก็ไม่ได้หายไป ตาไฮ้เป็นหมอสมุนไพรที่เหลืออยู่คนเดียวในชุมชน และยังแข็งแรงสามารถปั่นจักรยานข้ามอำเภอไปซื้อส่วนผสมยาได้อย่างสบาย ๆ โดยตาบอกว่าวิธีการดูแลร่างกายที่ดีที่สุดก็คือ ดื่มน้ำเยอะ ๆ กินข้าวต้ม ทำจิตใจให้เบา ๆ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ที่มาของ "บ้านกะบกเตี้ย" มาจากต้นไม้ประจําถิ่น ชาวบ้านเรียกว่า "ต้นกะบก" ที่มีลักษณะต้นไม่สูง คนที่อาศัยในชุมชนจึงเรียกชื่อหมู่บ้านเป็นชื่อต้นไม้ เพื่อง่ายต่อการจดจำ คนกะบกเตี้ยทำอาชีพเกษตรกร ทำนา ทำสวน ทำไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด คนที่นี่ใช้ภาษาสื่อสารกัน มี 3 ภาษา ภาษาเขมร ภาษาไทย และภาษาลาว เพราะว่ามีในอดีตนั้นมีคนกัมพูชาและคนลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ จนกลายมาเป็นคนไทยในปัจจุบัน
ชาวบ้านยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีงานทําบุญกลางบ้าน ณ ศาลเจ้าพ่อเขาแหลม งานทําบุญกลางบ้าน หรือ งานมาขึ้นศาล ซึ่งคนที่นี่จะจัดงานบุญทุกปี ช่วงเวลาขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านแต่ละครอบครัวจะเตรียมข้าวของไปกราบไหว้ อย่าง ไก่ หมู ไข่ไก่ นำไปถวายที่ศาลเจ้าพ่อเขาแหลม ของถวายที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ใบไม้ที่มีชื่อเป็นมงคล อย่าง ใบมะยม, ใบขนุน, ใบค้ำ และใบคูณ มาถวายด้วย
ใบไม้เหล่านี้เป็นใบไม้ที่ชาวบ้านปลูกไว้ในบริเวณบ้านของตัวเอง ถ้าบ้านใครไม่มีก็สามารถขอเพื่อนบ้านได้หลังจากจบพิธีไหว้ ชาวบ้านจะนำใบไม้ชื่อมงคลเหล่านี้กลับบ้าน โดยเอาไปประดับไว้กลางบ้าน ประดับไว้ที่ยุ้งข้าว เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
ป้าสำเนียง และลุงมล สองสามีภรรยาทำอาชีพหาผำหรือไข่น้ำ ตามบึง และหนองน้ำธรรมชาติ ทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านที่ไกลออกไป "ผำ" ผักพื้นบ้านมีขนาดเล็กที่สุด คนเหนือเรียก "ผำ" ภาคกลางเรียก "ไข่น้ำ" ส่วนคนอีสานเรียก "ไข่ผำ" เป็นพืชน้ำมีสีเขียวขนาดเล็กคล้ายไข่ปลา แผ่คลุมเหนือผิวน้ำเป็นแพ "แพ" มีขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่ง เวลาเก็บต้องใช้สวิงช้อนขึ้นมา
วิธีการตัก "ผำ" ของลุงมลและป้าสำเนียง ประดิษฐ์เครื่องมือขึ้นมาใช้เอง โดยใช้กระด้ง และผ้าขาวม้ามาเย็บติดกันตามไอเดียของป้า เวลาที่จะตักก็ใช้ไม้ค่อย ๆ กวาดผำให้มากองรวมกันเยอะ ๆ แล้วใช้กระด้งดังกล่าวค่อย ๆ ตัก ป้าสำเนียงบอกว่าผำที่ดีต้องมีสีเขียวสด หากมีสีคล้ำจะกินไม่อร่อย ทั้งสองคนหาผำมากว่า 30 ปี เดินสายไปในที่ต่าง ๆ สนุกและมีความสุขกับสิ่งที่ได้หา โดยทุกครั้งก่อนจะเอาไปขายก็จะเอามาล้างน้ำจนสะอาด เร่ขายไปถุงละ 10 บาท ชาวบ้านนิยมเอาไข่ผำไปประกอบอาหาร เช่น แกง หรือ ผัด บางทีก็ใส่เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้มีความหอม มัน อร่อย มากขึ้น
หมอสมุนไพรโบราณ หนึ่งเดียวแห่งชุมชนกะบกเตี้ย คนที่นี่เมื่อรู้สึกไม่สบาย ก็มีจะตาไฮ้ ซึ่งอายุ 80 กว่าปีแล้วคอยดูแล ที่บ้านของตาจะเต็มไปด้วยสมุนไพรหลากหลายชนิดที่หามาปลูกและขยายพันธุ์เอง บางครั้งตาก็จะเข้าป่าหาสมุนไพรมาทำยาเก็บไว้ บางครั้งก็ซื้อมาผสมบ้าง แล้วแต่ว่าตัวไหนเหมาะสม โดยตาจะเดินทางออกจากบ้านทุกวัน ไปตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะบ้านของแฟนยา (คนที่ตาไฮ้เคยรักษาจนหาย) ด้วยจักรยานคันเก่าพร้อมกระเป๋าใบใหญ่ที่ใส่สมุนไพรหลากชนิดผูกติดไว้ท้ายรถจักรยานไว้ เพื่อไปพูดคุยและไถ่ถามอาการ แนะนำการดูแลตัวเองให้กับแฟนยา ถ้าแฟนยาคนไหนสนใจจะปลูกสมุนไพรเองตาไฮ้ก็จะแนะนำการปลูกและการใช้สมุนไพร ตาไฮ้เป็นที่พึ่งพาสำหรับคนในพื้นที่กะบกเตี้ยและหมู่บ้านรอบ ๆ ในยามที่เจ็บป่วย ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าปัจจุบันความนิยมการรักษาแบบนี้จะลดลง แต่ก็ไม่ได้หายไป ตาไฮ้เป็นหมอสมุนไพรที่เหลืออยู่คนเดียวในชุมชน และยังแข็งแรงสามารถปั่นจักรยานข้ามอำเภอไปซื้อส่วนผสมยาได้อย่างสบาย ๆ โดยตาบอกว่าวิธีการดูแลร่างกายที่ดีที่สุดก็คือ ดื่มน้ำเยอะ ๆ กินข้าวต้ม ทำจิตใจให้เบา ๆ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live