แม้บ้านดอนมะเกลือจะเป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบไปด้วยไร่อ้อยพืชเศรษฐกิจสำคัญ แต่ภายในหมู่บ้านมีวิถีโบราณ คือการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า งานฝีมือของผู้หญิง ที่สืบทอดกันมานานนับร้อยปี นายประสาท ชำนาญ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอนมะเกลือเล่าว่า คนที่นี่ผูกพันกับการเลี้ยงไหม มีผ้าไหมเป็นมรดกตกทอด ที่สำคัญผ้าทุกผืนมีเรื่องราวความผูกพัน เช่น ผ้าที่ทอร่วมกับแม่ ผ้าที่ยายเคยใส่ ผ้าถุงไหมที่ได้จากการรับไหว้ในการแต่ง ผ้าไหมที่แม่ยายผูกเอวรับขวัญลูกเขย
ปัจจุบันการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม ทอผ้าไหม ถือว่าเป็นงานของคนสูงอายุ ที่ทำเป็นรายได้เสริม เพราะทั้งผ้าไหม เส้นไหม ดักแด้จากการสาวไหม สามารถขายได้ แต่งานการทำผ้าไหม ก็เป็นเรื่องที่ยาก แม่ทองหล่อ โชคบัณฑิต บอกว่างานทำไหมมันใช้เวลา ต้องให้อาหาร 3 มื้อ เลี้ยงนานนับเดือน กว่าจะนำมาสาวเป็นเส้น มาทอเป็นผืนผ้า ต้องดูแลป้องกันแมลงอย่างดี โดยเฉพาะอาหารที่ตัวหนอนต้องกินคือใบหม่อน นั้นต้องให้กินไม่ขาด เหนื่อยก็ทำเพราะกลัวตัวไหมไม่อิ่ม "เราเลี้ยงไหม ไหมเลี้ยงเรา" ผูกพันกันอยู่แบบนี้" สิ้นเกษียณเมื่อไร เก็บใบหม่อนไม่ไหวจึงจะเลิกทำ"
ปัญหาอย่างหนึ่งของคนที่นี่คือลูกสาวหลานสาวคนบ้านดอนมะเกลือไม่มีใครสนใจเรียนรู้ แต่ก็โชคดีที่มีหลานชายชื่อน้องบอสที่เข้ามาสืบงานและทำได้ดี เก่งกว่าคนรุ่นเก่าด้วยซ้ำไป แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายกว่าจะพิสูนจ์ตัวเอง บอส กิตติพศ อนันต์เก่า นิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล่าอุปสรรคช่วงเริ่มเรียนรู้การทอผ้าว่า "ตอนนั้นเรียน ม.3 คนที่บ้านไม่มีใครเห็นด้วยเลย มีแต่บ่น ด่า และห้ามปราม เพราะไม่เคยมีผู้ชายคนไหนในหมู่บ้านจะทอผ้าสาวไหม ผู้ชายทอผ้ามันผิดธรรมเนียม"
แต่ตัวบอสเองไม่ท้อและมีความหมั่นเพียร ออกไปขอความรู้เรื่องการเลี้ยงไหม ทอผ้าจากคุณยาย คุณย่าในหมู่บ้าน ซึ่งทุกคนก็เต็มใจสอน จนสามารถทอผ้าเป็นผืนได้อย่างสวยงาม เลี้ยงไหมและสาวไหมได้ดี มัดหมี่ เก็บตะกอได้รวดเร็วแม่นยำ จนเป็นที่ยอมรับ
บอสบอกว่าไหมและการทอผ้า สร้างรายได้จุนเจือครอบครัว ให้อนาคตในด้านการศึกษา และสร้างความภูมิใจให้บอสและครอบครัว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มรดกทางด้านการทอผ้าไหมจะอยู่กับหมู่บ้านแห่งนี้ไปอีกยาวนาน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แม้บ้านดอนมะเกลือจะเป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบไปด้วยไร่อ้อยพืชเศรษฐกิจสำคัญ แต่ภายในหมู่บ้านมีวิถีโบราณ คือการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า งานฝีมือของผู้หญิง ที่สืบทอดกันมานานนับร้อยปี นายประสาท ชำนาญ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอนมะเกลือเล่าว่า คนที่นี่ผูกพันกับการเลี้ยงไหม มีผ้าไหมเป็นมรดกตกทอด ที่สำคัญผ้าทุกผืนมีเรื่องราวความผูกพัน เช่น ผ้าที่ทอร่วมกับแม่ ผ้าที่ยายเคยใส่ ผ้าถุงไหมที่ได้จากการรับไหว้ในการแต่ง ผ้าไหมที่แม่ยายผูกเอวรับขวัญลูกเขย
ปัจจุบันการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม ทอผ้าไหม ถือว่าเป็นงานของคนสูงอายุ ที่ทำเป็นรายได้เสริม เพราะทั้งผ้าไหม เส้นไหม ดักแด้จากการสาวไหม สามารถขายได้ แต่งานการทำผ้าไหม ก็เป็นเรื่องที่ยาก แม่ทองหล่อ โชคบัณฑิต บอกว่างานทำไหมมันใช้เวลา ต้องให้อาหาร 3 มื้อ เลี้ยงนานนับเดือน กว่าจะนำมาสาวเป็นเส้น มาทอเป็นผืนผ้า ต้องดูแลป้องกันแมลงอย่างดี โดยเฉพาะอาหารที่ตัวหนอนต้องกินคือใบหม่อน นั้นต้องให้กินไม่ขาด เหนื่อยก็ทำเพราะกลัวตัวไหมไม่อิ่ม "เราเลี้ยงไหม ไหมเลี้ยงเรา" ผูกพันกันอยู่แบบนี้" สิ้นเกษียณเมื่อไร เก็บใบหม่อนไม่ไหวจึงจะเลิกทำ"
ปัญหาอย่างหนึ่งของคนที่นี่คือลูกสาวหลานสาวคนบ้านดอนมะเกลือไม่มีใครสนใจเรียนรู้ แต่ก็โชคดีที่มีหลานชายชื่อน้องบอสที่เข้ามาสืบงานและทำได้ดี เก่งกว่าคนรุ่นเก่าด้วยซ้ำไป แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายกว่าจะพิสูนจ์ตัวเอง บอส กิตติพศ อนันต์เก่า นิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล่าอุปสรรคช่วงเริ่มเรียนรู้การทอผ้าว่า "ตอนนั้นเรียน ม.3 คนที่บ้านไม่มีใครเห็นด้วยเลย มีแต่บ่น ด่า และห้ามปราม เพราะไม่เคยมีผู้ชายคนไหนในหมู่บ้านจะทอผ้าสาวไหม ผู้ชายทอผ้ามันผิดธรรมเนียม"
แต่ตัวบอสเองไม่ท้อและมีความหมั่นเพียร ออกไปขอความรู้เรื่องการเลี้ยงไหม ทอผ้าจากคุณยาย คุณย่าในหมู่บ้าน ซึ่งทุกคนก็เต็มใจสอน จนสามารถทอผ้าเป็นผืนได้อย่างสวยงาม เลี้ยงไหมและสาวไหมได้ดี มัดหมี่ เก็บตะกอได้รวดเร็วแม่นยำ จนเป็นที่ยอมรับ
บอสบอกว่าไหมและการทอผ้า สร้างรายได้จุนเจือครอบครัว ให้อนาคตในด้านการศึกษา และสร้างความภูมิใจให้บอสและครอบครัว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มรดกทางด้านการทอผ้าไหมจะอยู่กับหมู่บ้านแห่งนี้ไปอีกยาวนาน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live