บ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ หมู่บ้านเล็ก ๆ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ชาวบ้านที่นี่แทบทุกหลังคาเลี้ยง "วัว-ควาย" ที่ได้รับเป็น "มรดกตกทอด" มาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ พอลูกแต่งานพ่อแม่ก็มอบให้ลูกออกเรือนมอบให้ลูกโดยเรียกมรดกนี้ว่า "มูลมัง" ดังนั้นวัวควายจึงมีความสำคัญต่อชาวบ้านที่นี่เป็นอย่างมาก เพราะเป็นทั้งเพื่อนเป็นมิตร เป็นธนาคาร เป็นเครดิตค้ำประกัน เป็นเงินส่งลูกเรียน ลูกได้เป็นเจ้าเป็นนายก็เพราะวัวควาย ดังนั้นจึงรักและดูแลวัวควายเหมือนลูกหลาน วัวควายที่นี่จึงถูกดูแลเปรียบเสมือนคนในบ้าน เช้า ๆ ก็จะพาออกไปหากินหญ้ากลางทุ่ง จนเย็นจึงพากลับบ้าน
การใช้ชีวิตกลางทุ่งของชาวบ้านที่นี่ก่อให้เกิดสังคมย่อย ๆ ที่คนเลี้ยงสัตว์มารวมตัวกัน โดยแม้ว่าต่างคนจะมาจากต่างถิ่น แต่เมื่อวัวควายตนเองถูกปล่อยไปเลี้ยงก็มักจะมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม เช่น กินข้าวกลางวัน หาอาหารกลางทุ่ง เช่น หนูนา กบ เขียด ปู สามารถที่จะช่วยกันดูแลสัตว์เลี้ยง กลายเป็นความรักความผูกพันที่ไม่ต้องใช้เงินเข้ามาแลกซื้อ แค่รักสัตว์ชนิดเดียวกันก็สามารถเป็นเพื่อนกันได้ นอกจากนั้นความรักในวัวควายของที่นี่ยังถูกถ่ายทอดไปยังเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ที่นอกจากจะมีวัวควายเป็นเพื่อนเล่น ยังสามารถที่จะมีเป็นสัตว์เลี้ยงของตนเองได้ด้วย เช่น น้องแพมวัย 13 ปี และน้องต้าร์วัย 9 ปี สองพี่น้องที่คลุกคลีกับสัตว์ประเภทนี้ โดยเอาไปเลี้ยงกลางทุ่ง หาอาหารให้กิน ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูก็จะได้มาจากพ่อแม่ที่ทำให้ดู จนเด็ก ๆ เกิดความผูกพัน
วิถีของคนที่นี่นอกจากเปิดโลกให้เราเห็นว่าความผูกพันในวิถีเดิม ๆ ของชาวบ้านในชนบทที่ยังดำรงอยู่แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความฉลาดของบรรพบุรุษในการคิดที่จะให้มรดกลูกหลานเป็น วัว - ควาย ทรัพยสินที่เป็นเสมือนธนาคาร ที่สามารถเบิกใช้ได้ตลอดเวลา.
มาต่อกันที่ บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ หมู่บ้านที่ยังเรียกได้ว่าเป็น "หมู่บ้านนายฮ้อย" แทบทุกครัวเรือยังทำอาชีพนายฮ้อย โดยมีทั้งนายฮ้อยรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ การซื้อขายวัวควายของที่นี่ยังคึกคัก เช่น "นายฮ้อยเหว่า" สำเภา ไหมทอง วัย 43 ปี เป็นนายฮ้อยที่มีฝีมือและลีลาในการต่อรองซื้อขายชนิดที่หาตัวจับยาก เพระผ่านประสบการณ์การทำงานแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ ทุกวันนี้นายฮ้อยเหว่าจะขับรถมอเตอร์ไซด์ตระเวนไปหาซื้อวัวควายตามหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อมารวมไว้ที่คอกในบริเวณบ้าน ก่อนที่จะเอาไปขายที่ตลาดนัดโคกระบือศรีขรภูมิ ซึ่งเปิดทุกวันเสาร์ บรรยากาศที่ตลาดนั้นจะเริ่มหนาแน่นไปด้วยรถกระบะและรถบรรทุกนับ 1,000 คันตั้งแต่เวลาเช้ามืด โดยจะมีนายฮ้อยที่เดินทางมาจากจังหวัดทั่วภาคอีสานและภาคอื่น ๆ เช่น ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, แพร่, น่าน, อุทัยธานี และเพชรบุรี ซึ่งนายฮ้อยเหล่านี้จะมาพร้อมกับวัวควายที่ตนเองนั้นไปซื้อหาเพื่อเอามาขายที่นี่ โดยนอกจากจะขายแล้วก็มีการซื้อวัวควายกลับไปด้วย ในตลาดนัดโคกระบือแห่งนี้มีนายฮ้อยรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ยกเว้นปากที่ต้องช่างเจราจา เรียกนายฮ้อยแบบนี้ว่า "นายฮ้อยจับเชือก" ซึ่งจะทำตัวเป็นเหมือนโมเดลลิ่งนางหรือนายแบบ เพราะว่าจะมาคัดวัวควายที่มีลักษณะดีเพื่อเอาไปขายต่อตามคำสั่ง ซึ่งจุดที่นายฮ้อยจับเชือกทำงานอยู่บริเวณริมถนนด้านหน้าตลาด โดยจะยืนเรียงคิวรอดูรถของนายฮ้อยที่นำวัวควายมาขาย เมื่อเจอวัวควายที่ถูกใจตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างที่เรียกว่า นายห้าง ก็จะรีบวิ่งเข้าไปเจรจา เมื่อตกลงราคากันได้แล้ว "นายฮ้อยจับเชือก" ก็จะวิ่งเกาะตามรถ บ้างก็กระโดดขึ้นรถแล้วบอกทางให้นายฮ้อยไปยังจุดที่ผู้ซื้อหรือนายห้างรอซื้ออยู่
หน้าที่ของนายฮ้อยบางคนนั้นไม่ได้จบแค่การซื้อขาย แต่บางครั้งก็จะต้องเอาวัวควายไปส่งที่บ้านลูกค้าด้วย และมากกว่านั้นจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดู เพื่อให้คนที่ซื้อไปนั้นสามารถเลี้ยงวัวควายที่ตนเองซื้อมาได้ถูกวิธี ซึ่งจะส่งผลให้ออกมามีลักษณะดีและราคาสูง เป็นการแสดงน้ำใจต่อกันด้วยใจที่สุจริต นายฮ้อยที่นี่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอาชีพนี้สร้างรายได้และสร้างความสุขให้คนที่นี่ พวกเขามีความสุขและรักที่จะทำต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่ไหว
"นายฮ้อย" เป็นอาชีพที่มีความผูกพันธ์กับวิถีชีวิตของคนที่นี่มาเนิ่นนาน โดยทุกครั้งหลังจากซื้อวัวแล้วจะต้องมีใบอนุญาตให้นำวัวออกจากบ้านผู้ซื้อ ซึ่งเรียกว่า "ใบปากคอก" โดยกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นต้องเป็นคนเซ็นต์รับรอง จึงจะขนย้ายไล่ต้อนวัวควายออกมาได้
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ หมู่บ้านเล็ก ๆ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ชาวบ้านที่นี่แทบทุกหลังคาเลี้ยง "วัว-ควาย" ที่ได้รับเป็น "มรดกตกทอด" มาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ พอลูกแต่งานพ่อแม่ก็มอบให้ลูกออกเรือนมอบให้ลูกโดยเรียกมรดกนี้ว่า "มูลมัง" ดังนั้นวัวควายจึงมีความสำคัญต่อชาวบ้านที่นี่เป็นอย่างมาก เพราะเป็นทั้งเพื่อนเป็นมิตร เป็นธนาคาร เป็นเครดิตค้ำประกัน เป็นเงินส่งลูกเรียน ลูกได้เป็นเจ้าเป็นนายก็เพราะวัวควาย ดังนั้นจึงรักและดูแลวัวควายเหมือนลูกหลาน วัวควายที่นี่จึงถูกดูแลเปรียบเสมือนคนในบ้าน เช้า ๆ ก็จะพาออกไปหากินหญ้ากลางทุ่ง จนเย็นจึงพากลับบ้าน
การใช้ชีวิตกลางทุ่งของชาวบ้านที่นี่ก่อให้เกิดสังคมย่อย ๆ ที่คนเลี้ยงสัตว์มารวมตัวกัน โดยแม้ว่าต่างคนจะมาจากต่างถิ่น แต่เมื่อวัวควายตนเองถูกปล่อยไปเลี้ยงก็มักจะมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม เช่น กินข้าวกลางวัน หาอาหารกลางทุ่ง เช่น หนูนา กบ เขียด ปู สามารถที่จะช่วยกันดูแลสัตว์เลี้ยง กลายเป็นความรักความผูกพันที่ไม่ต้องใช้เงินเข้ามาแลกซื้อ แค่รักสัตว์ชนิดเดียวกันก็สามารถเป็นเพื่อนกันได้ นอกจากนั้นความรักในวัวควายของที่นี่ยังถูกถ่ายทอดไปยังเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ที่นอกจากจะมีวัวควายเป็นเพื่อนเล่น ยังสามารถที่จะมีเป็นสัตว์เลี้ยงของตนเองได้ด้วย เช่น น้องแพมวัย 13 ปี และน้องต้าร์วัย 9 ปี สองพี่น้องที่คลุกคลีกับสัตว์ประเภทนี้ โดยเอาไปเลี้ยงกลางทุ่ง หาอาหารให้กิน ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูก็จะได้มาจากพ่อแม่ที่ทำให้ดู จนเด็ก ๆ เกิดความผูกพัน
วิถีของคนที่นี่นอกจากเปิดโลกให้เราเห็นว่าความผูกพันในวิถีเดิม ๆ ของชาวบ้านในชนบทที่ยังดำรงอยู่แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความฉลาดของบรรพบุรุษในการคิดที่จะให้มรดกลูกหลานเป็น วัว - ควาย ทรัพยสินที่เป็นเสมือนธนาคาร ที่สามารถเบิกใช้ได้ตลอดเวลา.
มาต่อกันที่ บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ หมู่บ้านที่ยังเรียกได้ว่าเป็น "หมู่บ้านนายฮ้อย" แทบทุกครัวเรือยังทำอาชีพนายฮ้อย โดยมีทั้งนายฮ้อยรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ การซื้อขายวัวควายของที่นี่ยังคึกคัก เช่น "นายฮ้อยเหว่า" สำเภา ไหมทอง วัย 43 ปี เป็นนายฮ้อยที่มีฝีมือและลีลาในการต่อรองซื้อขายชนิดที่หาตัวจับยาก เพระผ่านประสบการณ์การทำงานแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ ทุกวันนี้นายฮ้อยเหว่าจะขับรถมอเตอร์ไซด์ตระเวนไปหาซื้อวัวควายตามหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อมารวมไว้ที่คอกในบริเวณบ้าน ก่อนที่จะเอาไปขายที่ตลาดนัดโคกระบือศรีขรภูมิ ซึ่งเปิดทุกวันเสาร์ บรรยากาศที่ตลาดนั้นจะเริ่มหนาแน่นไปด้วยรถกระบะและรถบรรทุกนับ 1,000 คันตั้งแต่เวลาเช้ามืด โดยจะมีนายฮ้อยที่เดินทางมาจากจังหวัดทั่วภาคอีสานและภาคอื่น ๆ เช่น ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, แพร่, น่าน, อุทัยธานี และเพชรบุรี ซึ่งนายฮ้อยเหล่านี้จะมาพร้อมกับวัวควายที่ตนเองนั้นไปซื้อหาเพื่อเอามาขายที่นี่ โดยนอกจากจะขายแล้วก็มีการซื้อวัวควายกลับไปด้วย ในตลาดนัดโคกระบือแห่งนี้มีนายฮ้อยรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ยกเว้นปากที่ต้องช่างเจราจา เรียกนายฮ้อยแบบนี้ว่า "นายฮ้อยจับเชือก" ซึ่งจะทำตัวเป็นเหมือนโมเดลลิ่งนางหรือนายแบบ เพราะว่าจะมาคัดวัวควายที่มีลักษณะดีเพื่อเอาไปขายต่อตามคำสั่ง ซึ่งจุดที่นายฮ้อยจับเชือกทำงานอยู่บริเวณริมถนนด้านหน้าตลาด โดยจะยืนเรียงคิวรอดูรถของนายฮ้อยที่นำวัวควายมาขาย เมื่อเจอวัวควายที่ถูกใจตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างที่เรียกว่า นายห้าง ก็จะรีบวิ่งเข้าไปเจรจา เมื่อตกลงราคากันได้แล้ว "นายฮ้อยจับเชือก" ก็จะวิ่งเกาะตามรถ บ้างก็กระโดดขึ้นรถแล้วบอกทางให้นายฮ้อยไปยังจุดที่ผู้ซื้อหรือนายห้างรอซื้ออยู่
หน้าที่ของนายฮ้อยบางคนนั้นไม่ได้จบแค่การซื้อขาย แต่บางครั้งก็จะต้องเอาวัวควายไปส่งที่บ้านลูกค้าด้วย และมากกว่านั้นจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดู เพื่อให้คนที่ซื้อไปนั้นสามารถเลี้ยงวัวควายที่ตนเองซื้อมาได้ถูกวิธี ซึ่งจะส่งผลให้ออกมามีลักษณะดีและราคาสูง เป็นการแสดงน้ำใจต่อกันด้วยใจที่สุจริต นายฮ้อยที่นี่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอาชีพนี้สร้างรายได้และสร้างความสุขให้คนที่นี่ พวกเขามีความสุขและรักที่จะทำต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่ไหว
"นายฮ้อย" เป็นอาชีพที่มีความผูกพันธ์กับวิถีชีวิตของคนที่นี่มาเนิ่นนาน โดยทุกครั้งหลังจากซื้อวัวแล้วจะต้องมีใบอนุญาตให้นำวัวออกจากบ้านผู้ซื้อ ซึ่งเรียกว่า "ใบปากคอก" โดยกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นต้องเป็นคนเซ็นต์รับรอง จึงจะขนย้ายไล่ต้อนวัวควายออกมาได้
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live