บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าและสัตว์ป่า คนที่อาศัยอยู่ที่นี่เป็นชาวไทยกะเหรี่ยง มีการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชน ในเรื่องของการรักษาเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมให้สามารถเพาะปลูกได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแหล่งอาหารไว้บริโภคตลอดปี วิธีการคือเก็บเมล็ดพันธุ์พืช, ผัก และเกสรดอกไม้ โดยเลือกเก็บผลผลิตลูกแรก ซึ่งเป็นลูกที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุดไว้ เพื่อนำมาเข้ากรรมวิธีจัดเก็บ เริ่มด้วยถ้าเป็นแตง จะผ่า, ขูดเมล็ด, ล้างด้วยน้ำ และนำไปตากให้แห้ง บางคนจะใช้วิธีการรมควันจากเตาไฟ และบางคนใช้วิธี นำเมล็ดแม่พันธุ์ที่ได้คลุกเคล้ากับขี้เถ้าใส่ขวดเก็บไว้เป็นการป้องกันมอด ภูมิปัญญาการเก็บเมล็ดพันธุ์ตกทอดเป็นมรดกแห่งกลุ่มชุมชนบ้านไร่ป้า ทำให้ชุมชนแห่งนี้ยังมีผลผลิตทางการเกษตรแบบดั้งเดิมกันอยู่
พืชที่ขาดไม่ได้ก็คือ แตงร้าน, แตงเปรี้ยว, มะเขือกรอบ, ผักเผ็ด, บวบ, งา และผักกาดกะเหรี่ยง คนที่เก็บเยอะที่สุดคือป้าจี่โจ้ว ตรีวนภูมิ ป้าจะเก็บเมล็ดพันธุ์ผักไว้ในครัว มีผักเกือบทุกชนิด เมื่อถึงฤดูกาลก็เอามาเพาะปลูกไว้รอบบ้าน จนกลายเป็นไร่ เป็นสวนอยู่รอบบ้าน ป้าบอกว่า "การได้เก็บและมีเมล็ดพันธุ์ของตัวเองแบบนี้ภูมิใจ ได้กินของดั้งเดิมที่พ่อแม่เคยทำไว้ให้เป็นมรดกตกทอด กินของที่อื่นก็ไม่อร่อย ถ้ามีพื้นที่เพิ่มก็อยากจะทำไร่เพิ่มอีก"
น้าคิด จันทอง ทองผาภูมิปรีดา ผู้ชายอารมณ์ดี แห่งบ้านไร่ป้า อาจเป็นคนที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวของหมู่บ้าน ที่ยกไร่กะเหรี่ยงมาไว้ในสวนยาง ถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่ไม่มาก แต่น้าคิดสามารถปลูกพืช, ข้าวไร่ และผักชนิดต่าง ๆ ไว้รวมกันได้อย่างลงตัว บางอย่างก็เป็นเมล็ดพันธ์ุตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ทวด หายาก เช่น ข้าวโพด ที่ไม่เคยซื้อ แต่เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เอง ชอบที่สุด รักที่สุดในการสะสมเมล็ดพันธ์ุ
นอกจากการเก็บเมล็ดพันธุ์ของพืชที่สามารถเอามาทำอาหารได้แล้ว ยังมีเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เก็บไว้ด้วย เพราะที่นี่เป็นชุมชนศาสนาพุทธ จะนิยมปลูกดอกไม้กันเยอะ ปลูกไว้ไหว้พระในช่วงเข้าพรรษา เมื่อถึงเทศกาลไม่ต้องซื้อ สาเหตุของการไม่ซื้อเมล็ดพันธ์ุนั้น เกิดจากการที่กลัวว่าจะไม่เหมือนของที่พ่อแม่ตนเองเคยมี หรือเคยทำให้กิน ดังนั้นการเลือกที่จะเก็บเมล็ดพันธุ์เองจึงเป็นทางเลือกของพวกเขา
ที่นี่ยังมีวิถีการเดินของคนบนภูเขาที่ยังติดตัวป้ามาเต๊ะ นักเดินประจำหมู่บ้าน ป้าเป็นคนหนึ่งที่ยังรักการเดินตามวิถีดั้งเดิมของกะเหรี่ยง จะไปไหนก็ใช้แค่สองเท้า คนที่หมู่บ้านทุกคนรู้จักกันดีกับการเดินของป้า เพราะว่าแกไม่ยอมที่จะใช้รถ แม้ว่าที่บ้านจะมี ป้าบอกว่าสมัยสาว ๆ เดิน 10 - 20 กิโลเมตร สมัยนี้ก็ลดระยะทางลงมาหน่อยเพราะอายุเยอะขึ้น ทุกคนที่หมู่บ้านบอกว่าสามารถเจอป้ามาเต๊ะได้ตามถนนหนทางในหมู่บ้าน เพื่อน ๆ หรือญาติพี่น้องไม่ต้องไปหา มีอะไรก็โทรบอก เพราะป้าจะเดินไปคุยเอง แต่ไม่เคยคิดที่จะพึ่งพารถ จะขอใช้สองขาเดินเองไม่ต้องรอใคร ที่สำคัญสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าและสัตว์ป่า คนที่อาศัยอยู่ที่นี่เป็นชาวไทยกะเหรี่ยง มีการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชน ในเรื่องของการรักษาเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมให้สามารถเพาะปลูกได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแหล่งอาหารไว้บริโภคตลอดปี วิธีการคือเก็บเมล็ดพันธุ์พืช, ผัก และเกสรดอกไม้ โดยเลือกเก็บผลผลิตลูกแรก ซึ่งเป็นลูกที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุดไว้ เพื่อนำมาเข้ากรรมวิธีจัดเก็บ เริ่มด้วยถ้าเป็นแตง จะผ่า, ขูดเมล็ด, ล้างด้วยน้ำ และนำไปตากให้แห้ง บางคนจะใช้วิธีการรมควันจากเตาไฟ และบางคนใช้วิธี นำเมล็ดแม่พันธุ์ที่ได้คลุกเคล้ากับขี้เถ้าใส่ขวดเก็บไว้เป็นการป้องกันมอด ภูมิปัญญาการเก็บเมล็ดพันธุ์ตกทอดเป็นมรดกแห่งกลุ่มชุมชนบ้านไร่ป้า ทำให้ชุมชนแห่งนี้ยังมีผลผลิตทางการเกษตรแบบดั้งเดิมกันอยู่
พืชที่ขาดไม่ได้ก็คือ แตงร้าน, แตงเปรี้ยว, มะเขือกรอบ, ผักเผ็ด, บวบ, งา และผักกาดกะเหรี่ยง คนที่เก็บเยอะที่สุดคือป้าจี่โจ้ว ตรีวนภูมิ ป้าจะเก็บเมล็ดพันธุ์ผักไว้ในครัว มีผักเกือบทุกชนิด เมื่อถึงฤดูกาลก็เอามาเพาะปลูกไว้รอบบ้าน จนกลายเป็นไร่ เป็นสวนอยู่รอบบ้าน ป้าบอกว่า "การได้เก็บและมีเมล็ดพันธุ์ของตัวเองแบบนี้ภูมิใจ ได้กินของดั้งเดิมที่พ่อแม่เคยทำไว้ให้เป็นมรดกตกทอด กินของที่อื่นก็ไม่อร่อย ถ้ามีพื้นที่เพิ่มก็อยากจะทำไร่เพิ่มอีก"
น้าคิด จันทอง ทองผาภูมิปรีดา ผู้ชายอารมณ์ดี แห่งบ้านไร่ป้า อาจเป็นคนที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวของหมู่บ้าน ที่ยกไร่กะเหรี่ยงมาไว้ในสวนยาง ถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่ไม่มาก แต่น้าคิดสามารถปลูกพืช, ข้าวไร่ และผักชนิดต่าง ๆ ไว้รวมกันได้อย่างลงตัว บางอย่างก็เป็นเมล็ดพันธ์ุตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ทวด หายาก เช่น ข้าวโพด ที่ไม่เคยซื้อ แต่เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เอง ชอบที่สุด รักที่สุดในการสะสมเมล็ดพันธ์ุ
นอกจากการเก็บเมล็ดพันธุ์ของพืชที่สามารถเอามาทำอาหารได้แล้ว ยังมีเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เก็บไว้ด้วย เพราะที่นี่เป็นชุมชนศาสนาพุทธ จะนิยมปลูกดอกไม้กันเยอะ ปลูกไว้ไหว้พระในช่วงเข้าพรรษา เมื่อถึงเทศกาลไม่ต้องซื้อ สาเหตุของการไม่ซื้อเมล็ดพันธ์ุนั้น เกิดจากการที่กลัวว่าจะไม่เหมือนของที่พ่อแม่ตนเองเคยมี หรือเคยทำให้กิน ดังนั้นการเลือกที่จะเก็บเมล็ดพันธุ์เองจึงเป็นทางเลือกของพวกเขา
ที่นี่ยังมีวิถีการเดินของคนบนภูเขาที่ยังติดตัวป้ามาเต๊ะ นักเดินประจำหมู่บ้าน ป้าเป็นคนหนึ่งที่ยังรักการเดินตามวิถีดั้งเดิมของกะเหรี่ยง จะไปไหนก็ใช้แค่สองเท้า คนที่หมู่บ้านทุกคนรู้จักกันดีกับการเดินของป้า เพราะว่าแกไม่ยอมที่จะใช้รถ แม้ว่าที่บ้านจะมี ป้าบอกว่าสมัยสาว ๆ เดิน 10 - 20 กิโลเมตร สมัยนี้ก็ลดระยะทางลงมาหน่อยเพราะอายุเยอะขึ้น ทุกคนที่หมู่บ้านบอกว่าสามารถเจอป้ามาเต๊ะได้ตามถนนหนทางในหมู่บ้าน เพื่อน ๆ หรือญาติพี่น้องไม่ต้องไปหา มีอะไรก็โทรบอก เพราะป้าจะเดินไปคุยเอง แต่ไม่เคยคิดที่จะพึ่งพารถ จะขอใช้สองขาเดินเองไม่ต้องรอใคร ที่สำคัญสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live