"บ้านบากันเคย" ตำบลตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล เป็นตำบลเล็ก ๆ ตั้งอยู่ส่วนแหลมบริเวณสุดแผ่นดินจังหวัดสตูล เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่หลากหลาย จากป่าชายเลนมากกว่า 3,000 ไร่ และที่สำคัญมีอ่าวตันหยงโปเป็นขุมทรัพย์ใหญ่ ให้คนที่นี่ได้เก็บเกี่ยว ทั้งกุ้ง, หอย, ปู, ปลา แต่ที่ขึ้นชื่อมากที่สุดก็คือ "กั้ง" จนผู้คนเรียกบ้านบากันเคยว่าเป็น "หมู่บ้านกั้ง"
บุหงา อุเส็น ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านบากันเคย เล่าว่าชาวประมงที่นี่จับกั้งได้มากที่สุดในจังหวัดสตูล มีตลาดซื้อขายกั้ง มีทั้งกั้งตั๊กแตน, กั้งเกษตร และกั้งขาว หรือกั้งแก้ว ซึ่งกั้งแก้วนี้มีมากที่สุดและเป็นความภาคภูมิใจของคนบากันเคย การทำประมงกั้งสามารถทำได้ทั้งปี แต่จะจับได้มากในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ส่วนวิธีการหากั้งของคนบ้านบากันเคยนั้นมีหลายวิธี ล้วนแต่เป็นการหาแบบประมงพื้นบ้าน ทั้งการจับด้วยมือเปล่าและการวางไซ ซึ่งไม่มีเครื่องทุ่นแรงที่ทันสมัย
ที่นี่มีวิธีการหากั้งที่เรียกว่า "ย่ำกั้ง" ซึ่งเป็นการหากั้งตัวใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า กั้งตั๊กแตน โดยใช้วิธีย่ำโคลนหา เป็นวิธีการที่คนหนุ่ม ๆ นิยมเพราะต้องใช้แรงมาก เช่น สองพี่น้อง ฮาซัน - กฤษณะ อุเส็น และ ฮาลีม รัฐธรรมนูญ อุเส็น ที่ใช้เพียงกระดานและถังน้ำที่ทำขึ้นเอง ถีบกระดานไปบนโคลนลึกและกว้าง ใช้ประสบการณ์ในการสังเกตหารูกั้ง เมื่อพบจะใช้เท้าย่ำลงไปในรู ใช้เวลาในการหาวันละ 2 - 3 ชั่วโมง หากได้กั้งตั๊กแตนขนาดใหญ่ 2 - 3 ตัว จะมีรายได้เกือบ 1,000 บาท ส่วนสำหรับกั้งขาวทั่วไป เคยขายได้กิโลกรัมละ 300 - 400 บาท ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ราคาก็ตกลงมาเหลือกิโลกรัมละ 100 บาท แต่ชาวบ้านก็ยังไม่เดือดร้อน เนื่องจากปริมาณที่หาได้นั้นก็มากพอเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้
คนบ้านบางกันเคยตระหนักดีว่า อ่าวตันหยงโปคือหม้อข้าวหม้อแกง จึงช่วยกันดูแลป่าชายเลนแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ทะเล ทำประมงตามวิถีพื้นบ้าน และไม่ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน จึงจะรักษาความสมบูรณ์ของท้องทะเลแถบนี้เอาไว้ได้เป็นอย่างดี จนคนจากท้องถิ่นอื่น ๆ ก็มาพึ่งพาใช้พื้นที่ในการหากิน ซึ่งก็ไม่มีใครห้าม แต่ก็มีกติการ่วมกันว่า ต้องใช้แนวทางการทำกินในแนวอนุรักษ์
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"บ้านบากันเคย" ตำบลตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล เป็นตำบลเล็ก ๆ ตั้งอยู่ส่วนแหลมบริเวณสุดแผ่นดินจังหวัดสตูล เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่หลากหลาย จากป่าชายเลนมากกว่า 3,000 ไร่ และที่สำคัญมีอ่าวตันหยงโปเป็นขุมทรัพย์ใหญ่ ให้คนที่นี่ได้เก็บเกี่ยว ทั้งกุ้ง, หอย, ปู, ปลา แต่ที่ขึ้นชื่อมากที่สุดก็คือ "กั้ง" จนผู้คนเรียกบ้านบากันเคยว่าเป็น "หมู่บ้านกั้ง"
บุหงา อุเส็น ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านบากันเคย เล่าว่าชาวประมงที่นี่จับกั้งได้มากที่สุดในจังหวัดสตูล มีตลาดซื้อขายกั้ง มีทั้งกั้งตั๊กแตน, กั้งเกษตร และกั้งขาว หรือกั้งแก้ว ซึ่งกั้งแก้วนี้มีมากที่สุดและเป็นความภาคภูมิใจของคนบากันเคย การทำประมงกั้งสามารถทำได้ทั้งปี แต่จะจับได้มากในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ส่วนวิธีการหากั้งของคนบ้านบากันเคยนั้นมีหลายวิธี ล้วนแต่เป็นการหาแบบประมงพื้นบ้าน ทั้งการจับด้วยมือเปล่าและการวางไซ ซึ่งไม่มีเครื่องทุ่นแรงที่ทันสมัย
ที่นี่มีวิธีการหากั้งที่เรียกว่า "ย่ำกั้ง" ซึ่งเป็นการหากั้งตัวใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า กั้งตั๊กแตน โดยใช้วิธีย่ำโคลนหา เป็นวิธีการที่คนหนุ่ม ๆ นิยมเพราะต้องใช้แรงมาก เช่น สองพี่น้อง ฮาซัน - กฤษณะ อุเส็น และ ฮาลีม รัฐธรรมนูญ อุเส็น ที่ใช้เพียงกระดานและถังน้ำที่ทำขึ้นเอง ถีบกระดานไปบนโคลนลึกและกว้าง ใช้ประสบการณ์ในการสังเกตหารูกั้ง เมื่อพบจะใช้เท้าย่ำลงไปในรู ใช้เวลาในการหาวันละ 2 - 3 ชั่วโมง หากได้กั้งตั๊กแตนขนาดใหญ่ 2 - 3 ตัว จะมีรายได้เกือบ 1,000 บาท ส่วนสำหรับกั้งขาวทั่วไป เคยขายได้กิโลกรัมละ 300 - 400 บาท ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ราคาก็ตกลงมาเหลือกิโลกรัมละ 100 บาท แต่ชาวบ้านก็ยังไม่เดือดร้อน เนื่องจากปริมาณที่หาได้นั้นก็มากพอเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้
คนบ้านบางกันเคยตระหนักดีว่า อ่าวตันหยงโปคือหม้อข้าวหม้อแกง จึงช่วยกันดูแลป่าชายเลนแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ทะเล ทำประมงตามวิถีพื้นบ้าน และไม่ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน จึงจะรักษาความสมบูรณ์ของท้องทะเลแถบนี้เอาไว้ได้เป็นอย่างดี จนคนจากท้องถิ่นอื่น ๆ ก็มาพึ่งพาใช้พื้นที่ในการหากิน ซึ่งก็ไม่มีใครห้าม แต่ก็มีกติการ่วมกันว่า ต้องใช้แนวทางการทำกินในแนวอนุรักษ์
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live