บ้านบางเตยใต้ ต.บางเตย อ.เมืองพังงา หมู่บ้านในหุบเขาหินปูน ห้อมล้อมด้วยธรรมชาติที่งดงามและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณ ทั้งที่เป็นพืชสมุนไพรและไม้ประดับในท้องถิ่น เช่น บอนสีและกล้วยป่า ที่ภูเขาหินปูนนี้ยังเป็นถิ่นกำเนิดต้นไม้ป่าสำคัญ ผูกพันอยู่กับคนบ้านบางเตยใต้มาหลายสิบปี และเป็นต้นไม้ที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในหมู่บ้านอีกด้วย นั่นก็คือ "ต้นชก" พืชตระกูลปาล์มที่มีความสูงประมาณ 20 - 25 เมตร ที่เกิดในภูเขาหินปูน ออกผลมากในช่วงเดือนมิถุนายน - ธันวาคม โดยชาวบ้านจะเก็บมาต้ม หรือแคะเนื้อไปทำลูกชกน้ำกะทิ, ลูกชกเชื่อม เพื่อกินและขาย
ลุงภาศ หรือ ประภาศ สมประกอบ คนเก็บลูกชกมือหนึ่งแห่งบ้านบางเตยใต้เล่าว่า เก็บลูกชกมาตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งกว่าที่ได้ลูกชกมานั้นต้องไปเก็บลูกชกมาบนภูเขาสูง เดินเท้าไปพร้อมอุปกรณ์สำคัญคือ เชือกสามขนาด กับ ขวาน การขึ้นไปเก็บลูกชกมี 3 วิธี คือ ใช้พะองไม้ไผ่ ปีนไปตามรก และขึ้นด้วยเชือก ทีมเก็บลูกชกของลุงภาศมี 3 คน ใช้วิธีไต่เชือกขึ้นไปเก็บ ซึ่งแต่ละคนมีหน้าที่ต่างกัน ทุกคนต้องสามัคคีทั้งคนที่อยู่บนต้นและคนที่รอรับลูกอยู่ด้านล่าง เพราะว่าไม่ว่าจะขึ้นหรือลง ต้องอาศัยเชือกเพียงเส้นเดียว
"การเก็บลูกชกลำบาก ใช้เรี่ยวแรงมาก กว่าจะเอาลงมาจากต้น ลากลงจากเขาและขนมาที่บ้านใช้เวลาเป็นวัน ๆ เหนื่อยแต่มีความสุข สิ่งที่ทำให้หายเหนื่อยคือได้ลูกชกมาก" ลุงภาศเล่าด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม ลูกชกที่ได้มาจะถูกมาต้มประมาณ 2 ชั่วโมง เททิ้งไว้ให้เย็น ก่อนจะนำไปตัดและแควก หรือแคะเอาเนื้อออกมา ซึ่งการตัดและแคะเนื้อลูกชกนี้เองที่กระจายรายได้ไปให้กับหลาย 10 ครอบครัว
"คนเก็บลูกชกไม่เป็นก็มีรายได้จากลูกชกเหมือนกัน เขาต้มแล้วเอาใส่กระสอบมาให้ เราตัดด้วย แควกด้วย ค่าแรงกิโลกรัมละ 20 บาท รวม ๆ แล้วได้วันละหลายร้อย หากินกับลูกชกมา 40 กว่าปีแล้ว" ป้าแอ้น มารศรี แก้วน้อย คนแคะลูกชก เล่าให้ฟัง
ลุงภาศเล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า ต้นชกเป็นต้นไม้อาภัพ กว่าจะโตและเก็บผลได้ใช้เวลานานถึง 25 ปี แต่เมื่อออกผลแล้ว ต้นชกจะตาย คนที่นี่จึงไม่ตัดต้นชก รอให้เขาล้มไปเอง ล้มแล้วยังให้ "ด้วงชก" กินอีก คนบ้านบางเตยใต้รักและดูแลต้นชกเพราะเป็นต้นไม้ที่มีบุญคุณให้ทั้งเงินและของกินที่หายาก คนที่นี่ภูมิใจกับอาชีพการทำลูกชกมาก
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านบางเตยใต้ ต.บางเตย อ.เมืองพังงา หมู่บ้านในหุบเขาหินปูน ห้อมล้อมด้วยธรรมชาติที่งดงามและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณ ทั้งที่เป็นพืชสมุนไพรและไม้ประดับในท้องถิ่น เช่น บอนสีและกล้วยป่า ที่ภูเขาหินปูนนี้ยังเป็นถิ่นกำเนิดต้นไม้ป่าสำคัญ ผูกพันอยู่กับคนบ้านบางเตยใต้มาหลายสิบปี และเป็นต้นไม้ที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในหมู่บ้านอีกด้วย นั่นก็คือ "ต้นชก" พืชตระกูลปาล์มที่มีความสูงประมาณ 20 - 25 เมตร ที่เกิดในภูเขาหินปูน ออกผลมากในช่วงเดือนมิถุนายน - ธันวาคม โดยชาวบ้านจะเก็บมาต้ม หรือแคะเนื้อไปทำลูกชกน้ำกะทิ, ลูกชกเชื่อม เพื่อกินและขาย
ลุงภาศ หรือ ประภาศ สมประกอบ คนเก็บลูกชกมือหนึ่งแห่งบ้านบางเตยใต้เล่าว่า เก็บลูกชกมาตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งกว่าที่ได้ลูกชกมานั้นต้องไปเก็บลูกชกมาบนภูเขาสูง เดินเท้าไปพร้อมอุปกรณ์สำคัญคือ เชือกสามขนาด กับ ขวาน การขึ้นไปเก็บลูกชกมี 3 วิธี คือ ใช้พะองไม้ไผ่ ปีนไปตามรก และขึ้นด้วยเชือก ทีมเก็บลูกชกของลุงภาศมี 3 คน ใช้วิธีไต่เชือกขึ้นไปเก็บ ซึ่งแต่ละคนมีหน้าที่ต่างกัน ทุกคนต้องสามัคคีทั้งคนที่อยู่บนต้นและคนที่รอรับลูกอยู่ด้านล่าง เพราะว่าไม่ว่าจะขึ้นหรือลง ต้องอาศัยเชือกเพียงเส้นเดียว
"การเก็บลูกชกลำบาก ใช้เรี่ยวแรงมาก กว่าจะเอาลงมาจากต้น ลากลงจากเขาและขนมาที่บ้านใช้เวลาเป็นวัน ๆ เหนื่อยแต่มีความสุข สิ่งที่ทำให้หายเหนื่อยคือได้ลูกชกมาก" ลุงภาศเล่าด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม ลูกชกที่ได้มาจะถูกมาต้มประมาณ 2 ชั่วโมง เททิ้งไว้ให้เย็น ก่อนจะนำไปตัดและแควก หรือแคะเอาเนื้อออกมา ซึ่งการตัดและแคะเนื้อลูกชกนี้เองที่กระจายรายได้ไปให้กับหลาย 10 ครอบครัว
"คนเก็บลูกชกไม่เป็นก็มีรายได้จากลูกชกเหมือนกัน เขาต้มแล้วเอาใส่กระสอบมาให้ เราตัดด้วย แควกด้วย ค่าแรงกิโลกรัมละ 20 บาท รวม ๆ แล้วได้วันละหลายร้อย หากินกับลูกชกมา 40 กว่าปีแล้ว" ป้าแอ้น มารศรี แก้วน้อย คนแคะลูกชก เล่าให้ฟัง
ลุงภาศเล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า ต้นชกเป็นต้นไม้อาภัพ กว่าจะโตและเก็บผลได้ใช้เวลานานถึง 25 ปี แต่เมื่อออกผลแล้ว ต้นชกจะตาย คนที่นี่จึงไม่ตัดต้นชก รอให้เขาล้มไปเอง ล้มแล้วยังให้ "ด้วงชก" กินอีก คนบ้านบางเตยใต้รักและดูแลต้นชกเพราะเป็นต้นไม้ที่มีบุญคุณให้ทั้งเงินและของกินที่หายาก คนที่นี่ภูมิใจกับอาชีพการทำลูกชกมาก
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live