"บ้านหมอเฒ่า" ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างอุทยานแห่งชาติเอราวัณ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ
นายสมยศ นาคจีน ผู้ใหญ่บ้านหมอเฒ่า เล่าว่าธรรมชาติของที่นี่อุดมสมบูรณ์ มีทั้งภูเขาและแม่น้ำ คนบ้านหมอเฒ่าอาศัยแม่น้ำแควใหญ่เป็นแม่น้ำสำคัญในการอุปโภค คนที่นี่จึงมีอาชีพทำไร่ผสมผสาน ปลูกพืชผักผลไม้ เช่น มะเขือ, กล้วย, ส้มโอ และผักหวานป่า รวมถึงยังมีวิถีชีวิตที่เก่าแก่ คือ การเลี้ยงควาย ทั้งเลี้ยงบริเวณริมแม่น้ำแคว และเลี้ยงแบบควายปล่อยป่าชุมชน เมื่อถึงเวลาที่หิวควายก็จะเดินเข้ามาที่คอก คนที่นี่บางคนก็เตรียมเกลือเอาไว้ให้กิน เพราะควายจะชอบกินมาก นอกจากนั้นในปัจจุบันยังมีการเลี้ยงควายแบบขังคอกมากขึ้น โดยหน้าที่หลักของควายที่นี่ในสมัยก่อนนั้นก็คือ การขนไม้ไผ่ลงจากภูเขา แต่ในปัจจุบันเนื่องจากเป็นเขตอนุรักษ์ ทำให้การขนดังกล่าวต้องปรับเปลี่ยนมาขนในป่าชุมชนที่อยู่หลังบ้าน โดยวิธีการนี้ทำกันมาอย่างยาวนาน
ลุงสมกิจ พวงกุล (ลุงกร่อน) และ ป้าดวงจันทร์ เหมือนบัว (ป้าเม้ย) สองพี่น้องที่มีบ้านและคอกควายอยู่ใกล้กัน ลุงกับป้าเล่าว่า ควายของพวกเขาเป็นมรดกที่พ่อแม่มอบให้เมื่อครั้งแยกครอบครัว พี่น้องทุกคนยังเลี้ยงและขยายพันธุ์ ทำให้มีควายนับ 10 ตัว สำหรับขายเป็นรายได้ เพื่อจับจ่ายใช้สอยในครอบครัวและฝึกไว้ลากไม้ โดยอุปกรณ์สำคัญที่เอามาใช้กับควายของพวกเขา เรียกว่า "ไอ้เคิ้ด"
"ไอ้เคิ้ด" เป็นชื่อที่ชาวบ้านหมอเฒ่าใช้เรียก พาหนะที่ทำจากไม้ ไม่มีล้อ ลักษณะคล้ายเลื่อน มีความกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 2.5 เมตร สามารถทำได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใช้เวลาทำไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยไม่ต้องตอกตะปูแม้แต่ดอกเดียว ใช้เพียงลวด เชือกมัด และขันชะเนาะให้แน่นเท่านั้น เวลาใช้งานมักพ่วงกับ "สาลี่" ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับรถเข็น แต่ทำจากไม้
ทั้งสาลี่และไอ้เคิ้ด จะมาต่อเข้าด้วยกัน เมื่อชาวบ้านต้องการใช้ขนไม้หรือขนของจากภูเขา โดยใช้แรงควายลาก เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดค้นเอง ทำเอง ใช้เองมานับ 100 ปี ด้วยสภาพป่าชุมชนที่เป็นภูเขา เมื่อต้องขนไม้รวกมาใช้ในสวนและหาฟืนมาสุมไฟไล่แมลงให้ควาย ไอ้เคิ้ดจึงเป็นพาหนะที่เหมาะ และจึงยังจำเป็นสำหรับคนบ้านหมอเฒ่า เวลาใช้ไอ้เคิ้ดต้องดูแลป่าและดูแลควายด้วย โดยขนไม้แค่พอใช้งานเท่านั้น และไม่ขนมากเกิน เพื่อช่วยถนอมแรงให้ควาย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"บ้านหมอเฒ่า" ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างอุทยานแห่งชาติเอราวัณ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ
นายสมยศ นาคจีน ผู้ใหญ่บ้านหมอเฒ่า เล่าว่าธรรมชาติของที่นี่อุดมสมบูรณ์ มีทั้งภูเขาและแม่น้ำ คนบ้านหมอเฒ่าอาศัยแม่น้ำแควใหญ่เป็นแม่น้ำสำคัญในการอุปโภค คนที่นี่จึงมีอาชีพทำไร่ผสมผสาน ปลูกพืชผักผลไม้ เช่น มะเขือ, กล้วย, ส้มโอ และผักหวานป่า รวมถึงยังมีวิถีชีวิตที่เก่าแก่ คือ การเลี้ยงควาย ทั้งเลี้ยงบริเวณริมแม่น้ำแคว และเลี้ยงแบบควายปล่อยป่าชุมชน เมื่อถึงเวลาที่หิวควายก็จะเดินเข้ามาที่คอก คนที่นี่บางคนก็เตรียมเกลือเอาไว้ให้กิน เพราะควายจะชอบกินมาก นอกจากนั้นในปัจจุบันยังมีการเลี้ยงควายแบบขังคอกมากขึ้น โดยหน้าที่หลักของควายที่นี่ในสมัยก่อนนั้นก็คือ การขนไม้ไผ่ลงจากภูเขา แต่ในปัจจุบันเนื่องจากเป็นเขตอนุรักษ์ ทำให้การขนดังกล่าวต้องปรับเปลี่ยนมาขนในป่าชุมชนที่อยู่หลังบ้าน โดยวิธีการนี้ทำกันมาอย่างยาวนาน
ลุงสมกิจ พวงกุล (ลุงกร่อน) และ ป้าดวงจันทร์ เหมือนบัว (ป้าเม้ย) สองพี่น้องที่มีบ้านและคอกควายอยู่ใกล้กัน ลุงกับป้าเล่าว่า ควายของพวกเขาเป็นมรดกที่พ่อแม่มอบให้เมื่อครั้งแยกครอบครัว พี่น้องทุกคนยังเลี้ยงและขยายพันธุ์ ทำให้มีควายนับ 10 ตัว สำหรับขายเป็นรายได้ เพื่อจับจ่ายใช้สอยในครอบครัวและฝึกไว้ลากไม้ โดยอุปกรณ์สำคัญที่เอามาใช้กับควายของพวกเขา เรียกว่า "ไอ้เคิ้ด"
"ไอ้เคิ้ด" เป็นชื่อที่ชาวบ้านหมอเฒ่าใช้เรียก พาหนะที่ทำจากไม้ ไม่มีล้อ ลักษณะคล้ายเลื่อน มีความกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 2.5 เมตร สามารถทำได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใช้เวลาทำไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยไม่ต้องตอกตะปูแม้แต่ดอกเดียว ใช้เพียงลวด เชือกมัด และขันชะเนาะให้แน่นเท่านั้น เวลาใช้งานมักพ่วงกับ "สาลี่" ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับรถเข็น แต่ทำจากไม้
ทั้งสาลี่และไอ้เคิ้ด จะมาต่อเข้าด้วยกัน เมื่อชาวบ้านต้องการใช้ขนไม้หรือขนของจากภูเขา โดยใช้แรงควายลาก เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดค้นเอง ทำเอง ใช้เองมานับ 100 ปี ด้วยสภาพป่าชุมชนที่เป็นภูเขา เมื่อต้องขนไม้รวกมาใช้ในสวนและหาฟืนมาสุมไฟไล่แมลงให้ควาย ไอ้เคิ้ดจึงเป็นพาหนะที่เหมาะ และจึงยังจำเป็นสำหรับคนบ้านหมอเฒ่า เวลาใช้ไอ้เคิ้ดต้องดูแลป่าและดูแลควายด้วย โดยขนไม้แค่พอใช้งานเท่านั้น และไม่ขนมากเกิน เพื่อช่วยถนอมแรงให้ควาย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live