รถจักรยานมากมายนับ 100 คันในบ้านโคก มีทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ คันเล็ก คันใหญ่ มีครบทุกขนาด เช่นเดียวกับคนที่ใช้งานมัน ที่มีตั้งแต่รุ่นเด็ก ๆ ที่มักจะรวมกลุ่มกันปั่นเที่ยวกลางทุ่ง รุ่นกลางคนที่มักจะปั่นไปตลาด และที่อื่น ๆ คนสูงวัยที่น่าจะเป็นกลุ่มที่เยอะที่สุดในการใช้จักรยานอยู่ โดยเฉพาะ ไปวัด จ่ายตลาด และที่สำคัญคือการไปสวนผัก ซึ่งมีกันเกือบทุกบ้าน และผักที่ชาวบ้านปลูกนั้นเป็นพืชผักสวนครัวที่สามารถทำรายได้เลี้ยงชีพให้กับคนในพื้นที่ได้ โดยรถจักรยานที่ไปสวนผักส่วนใหญ่ก็จะเป็นรถที่มีตะแกรงเหล็กยาว ๆ เพื่อให้สามารถบรรทุกตะกร้าผักได้ แต่ก็มีหลายคนในหมู่บ้านแห่งนี้ที่ทางรายการได้เจอใช้จักรยานในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งยกตัวอย่างดังนี้
จักรยานเลี้ยงชีพ ของ ยายพรวน
ยายพรวน พันธ์ขาว ใช้จักรยานเพื่อเอาผักไปขายตามที่ต่าง ๆ โดยทุกเช้ายายจะเอาผักที่ซื้อมาจากสวนในหมู่บ้านใส่ตะกร้า และปั่นออกไปขายตามจุดต่าง ๆ ในหมู่บ้านทั้งใกล้และไกล โดยยายบอกว่าจักรยานคันที่แกมีนั้นถือว่าเป็นจักรยานคู่ชีวิต ที่ช่วยให้ตนเองนั้นมีเงินใช้ในชีวิตประจำวัน ยายเล่าให้ฟังพร้อมกับร้องไห้ เพราะว่าหากไม่ได้จักรยานยายก็จะเดินไม่ไหว ไม่สามารถเอาผัก เอาปลา หรือ สิ่งของอื่นไปขายได้ ทุกวันนี้ยายพรวนยังใช้จักรยานคู่ชีพที่มีอายุนับสิบปีคันนี้ของแก ออกไปทำงานค้าขายทุกวัน
จักรยานคือยารักษาโรค
ตาอ้น แก้วสระแสน เคยป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเส้นเลือด ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่วอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ด้วยความที่ตาอ้นคุ้นเคยกับการปั่นจักรยานมาตั้งแต่เด็ก ๆ ทำให้คิดที่จะลุกขึ้นสู้ โดยการเอาจักรยานมาเป็นยารักษาโรค โดยทุกเช้า - เย็น ตาอ้นจะปั่นจักรยานเป็นระยะทางประมาณ 10 - 20 กิโลเมตร เพื่อที่จะให้ขาที่อ่อนกำลังนั้นแข็งแรงขึ้นมา หลังจากปั่นมาหลายปี ตอนนี้ขาตาอ้นที่เคยเดินได้ไม่ดีก็กลับมาแข็งแรงและเดินได้ดีเหมือนเดิม ทุกวันนี้ตาก็ยังไม่เลิกปั่นจักรยาน
จักรยาน คือ แขนขา
ยายมา ลีสุขสาม เป็นคนที่ชอบปั่นจักรยานมาก แกบอกว่าปั่นมาตั้งแต่สาว ๆ ปัจจุบันมีจักรยานคันเล็ก ๆ ที่ไม่มีแม้แต่เบรก (ต้องใช้เท้าเบรก) แต่ก็ยังปั่นไปทุกที่ที่อยากไปในหมู่บ้าน รวมถึงตายัง สามีของยายมาเองก็รักการปั่น แต่จักรยานของตายังนั้นเป็นแบบผู้ชาย คือ คันใหญ่และเหล็กคาดตรงกลาง ตายังเล่าว่าสมัยก่อนนั้น การใช้จักรยานของหมู่บ้านแห่งนี้มีมากกว่าปัจจุบันมาก ทุกบ้านต้องมี เช้าตื่นมาทุกคนจะปั่นจักรยานไปไร่ไปนา บางทีก็ใช้บรรทุกข้าวกลับมาบ้านเป็น 100 กิโลกรัม เพราะจักรยานสมัยก่อนนั้นแข็งแรง สามารถแบกหามได้อย่างกับชายหนุ่มที่มีร่างกายแข็งแรง ตายังเล่าไปพร้อมกับหัวเราะและเล่าต่อว่า สมัยก่อนนั้นเวลาจะไปที่ไหน รถยนต์ไม่เยอะเหมือนปัจจุบัน ดังนั้นการปั่นจักรยานข้ามตำบล หรือ อำเภอ จึงทำกัน ไม่เหมือนปัจจุบันที่แม้จักรยานในหมู่บ้านจะยังมีเยอะ แต่ก็ไม่ค่อยกล้าออกนอกพื้นที่มากนัก
ทางรายการได้เจอชาวบ้านหลายคนที่รำลึกความหลังเกี่ยวกับจักรยานให้ฟัง โดยทุกคนพูดกันไปทำนองเดียวกันว่า เวลาที่พ่อแม่ไปไร่ไปนา ตนเองและน้องก็จะนั่งซ้อนท้าย เป็นภาพที่แสนอบอุ่น และมีความสุขทุกครั้งที่ได้คิดถึง แม้ปัจจุบันนี้จะมีการปั่นน้อยลงแต่ก็ยังปั่นได้ ส่วนพ่อแม่ตนเองก็ยังปั่นอยู่ แม้ว่าลูกจะมีมอเตอร์ไซค์ หรือ รถยนต์ พ่อแม่มักจะเลือกการปั่นจักรยานด้วยตนเองมากกว่า
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
รถจักรยานมากมายนับ 100 คันในบ้านโคก มีทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ คันเล็ก คันใหญ่ มีครบทุกขนาด เช่นเดียวกับคนที่ใช้งานมัน ที่มีตั้งแต่รุ่นเด็ก ๆ ที่มักจะรวมกลุ่มกันปั่นเที่ยวกลางทุ่ง รุ่นกลางคนที่มักจะปั่นไปตลาด และที่อื่น ๆ คนสูงวัยที่น่าจะเป็นกลุ่มที่เยอะที่สุดในการใช้จักรยานอยู่ โดยเฉพาะ ไปวัด จ่ายตลาด และที่สำคัญคือการไปสวนผัก ซึ่งมีกันเกือบทุกบ้าน และผักที่ชาวบ้านปลูกนั้นเป็นพืชผักสวนครัวที่สามารถทำรายได้เลี้ยงชีพให้กับคนในพื้นที่ได้ โดยรถจักรยานที่ไปสวนผักส่วนใหญ่ก็จะเป็นรถที่มีตะแกรงเหล็กยาว ๆ เพื่อให้สามารถบรรทุกตะกร้าผักได้ แต่ก็มีหลายคนในหมู่บ้านแห่งนี้ที่ทางรายการได้เจอใช้จักรยานในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งยกตัวอย่างดังนี้
จักรยานเลี้ยงชีพ ของ ยายพรวน
ยายพรวน พันธ์ขาว ใช้จักรยานเพื่อเอาผักไปขายตามที่ต่าง ๆ โดยทุกเช้ายายจะเอาผักที่ซื้อมาจากสวนในหมู่บ้านใส่ตะกร้า และปั่นออกไปขายตามจุดต่าง ๆ ในหมู่บ้านทั้งใกล้และไกล โดยยายบอกว่าจักรยานคันที่แกมีนั้นถือว่าเป็นจักรยานคู่ชีวิต ที่ช่วยให้ตนเองนั้นมีเงินใช้ในชีวิตประจำวัน ยายเล่าให้ฟังพร้อมกับร้องไห้ เพราะว่าหากไม่ได้จักรยานยายก็จะเดินไม่ไหว ไม่สามารถเอาผัก เอาปลา หรือ สิ่งของอื่นไปขายได้ ทุกวันนี้ยายพรวนยังใช้จักรยานคู่ชีพที่มีอายุนับสิบปีคันนี้ของแก ออกไปทำงานค้าขายทุกวัน
จักรยานคือยารักษาโรค
ตาอ้น แก้วสระแสน เคยป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเส้นเลือด ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่วอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ด้วยความที่ตาอ้นคุ้นเคยกับการปั่นจักรยานมาตั้งแต่เด็ก ๆ ทำให้คิดที่จะลุกขึ้นสู้ โดยการเอาจักรยานมาเป็นยารักษาโรค โดยทุกเช้า - เย็น ตาอ้นจะปั่นจักรยานเป็นระยะทางประมาณ 10 - 20 กิโลเมตร เพื่อที่จะให้ขาที่อ่อนกำลังนั้นแข็งแรงขึ้นมา หลังจากปั่นมาหลายปี ตอนนี้ขาตาอ้นที่เคยเดินได้ไม่ดีก็กลับมาแข็งแรงและเดินได้ดีเหมือนเดิม ทุกวันนี้ตาก็ยังไม่เลิกปั่นจักรยาน
จักรยาน คือ แขนขา
ยายมา ลีสุขสาม เป็นคนที่ชอบปั่นจักรยานมาก แกบอกว่าปั่นมาตั้งแต่สาว ๆ ปัจจุบันมีจักรยานคันเล็ก ๆ ที่ไม่มีแม้แต่เบรก (ต้องใช้เท้าเบรก) แต่ก็ยังปั่นไปทุกที่ที่อยากไปในหมู่บ้าน รวมถึงตายัง สามีของยายมาเองก็รักการปั่น แต่จักรยานของตายังนั้นเป็นแบบผู้ชาย คือ คันใหญ่และเหล็กคาดตรงกลาง ตายังเล่าว่าสมัยก่อนนั้น การใช้จักรยานของหมู่บ้านแห่งนี้มีมากกว่าปัจจุบันมาก ทุกบ้านต้องมี เช้าตื่นมาทุกคนจะปั่นจักรยานไปไร่ไปนา บางทีก็ใช้บรรทุกข้าวกลับมาบ้านเป็น 100 กิโลกรัม เพราะจักรยานสมัยก่อนนั้นแข็งแรง สามารถแบกหามได้อย่างกับชายหนุ่มที่มีร่างกายแข็งแรง ตายังเล่าไปพร้อมกับหัวเราะและเล่าต่อว่า สมัยก่อนนั้นเวลาจะไปที่ไหน รถยนต์ไม่เยอะเหมือนปัจจุบัน ดังนั้นการปั่นจักรยานข้ามตำบล หรือ อำเภอ จึงทำกัน ไม่เหมือนปัจจุบันที่แม้จักรยานในหมู่บ้านจะยังมีเยอะ แต่ก็ไม่ค่อยกล้าออกนอกพื้นที่มากนัก
ทางรายการได้เจอชาวบ้านหลายคนที่รำลึกความหลังเกี่ยวกับจักรยานให้ฟัง โดยทุกคนพูดกันไปทำนองเดียวกันว่า เวลาที่พ่อแม่ไปไร่ไปนา ตนเองและน้องก็จะนั่งซ้อนท้าย เป็นภาพที่แสนอบอุ่น และมีความสุขทุกครั้งที่ได้คิดถึง แม้ปัจจุบันนี้จะมีการปั่นน้อยลงแต่ก็ยังปั่นได้ ส่วนพ่อแม่ตนเองก็ยังปั่นอยู่ แม้ว่าลูกจะมีมอเตอร์ไซค์ หรือ รถยนต์ พ่อแม่มักจะเลือกการปั่นจักรยานด้วยตนเองมากกว่า
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live