บ้านเอียก ต.สันป่ายาง จ.เชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่นี่เป็นภูเขาและมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ล้อมรอบ โดยเฉพาะหน้าร้อน เดือนมีนาคม - เมษายน ที่นี่จะมีสวนลำไย และดอกไม้นานาชนิด ทำให้เป็นอาหารชั้นดีของผึ้งหลวงที่มักจะมาสร้างรังอยู่อาศัยบนต้นไทร หรือ ต้นยางนา ต้นไม้ใหญ่ที่มีมากมายในหมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ทำให้ก่อเกิดอาชีพ การตีผึ้ง ที่ทำกันมาอย่างยาวนาน ทุกปีในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีผึ้งหลวงมาทำรังที่ต้นไม้ในป่าเช่น ต้นยาง ต้นไทร ประมาณ 40 - 50 รัง หรือบางครั้งก็เป็น 100 รัง โดยจำนวนรังผึ้งหลวงจะมีมากน้อยแตกต่างกันไปแต่ละต้น ผึ้งหลวงจะเลือกทำรังตามกิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่ บางกิ่งมีรังถึง 3 - 4 รัง
คนที่เก่งที่สุดและเรียกว่าเป็นเซียน เป็นปรมาจารย์ของการตีผึ้งที่นี่ชื่อว่า ลุงกร หรือ นิกร กันธณี แม้จะอายุ 65 ปีแล้ว แต่มีประสบการณ์ในการตีผึ้งมากกว่า 30 ปี เป็นผู้นำตีผึ้งที่ใคร ๆ ก็ยอมรับในฝีมือ ลุงกร สะท้อนการทำงานตีผึ้งให้ฟังว่า การตีผึ้งต้องทำงานเป็นทีม ทำงานคนเดียวไม่ได้ ลูกทีมทั้ง 5 คนจะแบ่งหน้าที่กัน
1 ทีมสำรวจ เมื่อถึงเดือนที่มีผึ้งก็ต้องเดินป่าสำรวจรังผึ้งหลวงบนต้นไม้ก่อนว่าเริ่มมาสร้างรังหรือยัง หากมีแล้วก็ทำสัญลักษณ์เอาไว้ เพื่อเป็นจอง
2 หน้าที่ตอกตอย หรือ บันได ที่จะต่อขึ้นไปบนต้นไม้ เพื่อให้คนที่ขึ้นไปตีผึ้งสามารถเหยียบขึ้นไปได้
3 หน้าที่รับ - ส่งปี๊บน้ำผึ้ง เมื่อคนตีผึ้งส่งปี๊บที่บรรจุรังผึ้งลงมาจากต้นไม้
การตีผึ้งนั้น เรื่องการแต่งตัวเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญ โดยเสื้อที่ใส่ต้องแน่นหนา ใส่เสื้อ 3 ชั้น กางเกง 3 ชั้น ถุงมือยาง 1 ชั้น และที่สำคัญก็คือ หมง หรือ หมวก ที่ใช้ใส่กันผึ้งมาต่อยใบหน้า โดยหมงนั้นชาวบ้านใช้กระสอบปุ๋ยเย็บติดกับตาข่ายมุ้งลวด นอกจากนั้นต้องเตรียมเครือสะบ้า เอาไปใช้จุดไล่ผึ้ง เวลาที่เสร็จภาระกิจด้วย
ลุงกร บอกว่า การปีนขึ้นไปเอารังผึ้งเป็นงานที่เสี่ยงอันตราย ลุงกรและแก่นไม่ได้มีอะไรเซฟตัวเอง เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะกับประสบการณ์ โดยลุงกรและทีมจะค่อย ๆ เหยียบตอยที่ทำเป็นบันไดเอาไว้ทีละอันเพื่อปีนขึ้นไป การเยื้องย่างไปบนกิ่งไม้แต่ละกิ่ง ต้องใช้ความระมัดระวังสูงที่สุด พลาดไปก็หมายถึงชีวิต และต้องระวังไม่ให้มีดหล่นลงข้าง เพราะจะเป็นอันตรายสำหรับคนด้านล่างอีก
การตีผึ้งสำหรับชาวบ้านที่นี่นั้น สะท้อนวิถีความซื่อสัตย์ให้เราได้เห็น โดยเมื่อได้น้ำผึ้ง ตัวอ่อน นมผึ้ง แล้วจะเอาไปขาย โดยลุงกรจะแบ่งเงินเท่ากันทุกคน เพราะทุกคนเหนื่อยเท่ากัน ถึงแม้ว่าตัวลุงและคนที่ปีนจะเสี่ยงกว่าคนอื่น ๆ แต่ก็ให้เท่ากันเพราะอยากให้คนในทีมมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว และที่สำคัญมากกว่าตัวเงินคือ ความสามัคคีของทีม การตีผึ้งสองเดือนมีความสำคัญต่อชีวิตชาวบ้านมาก รายได้จากขายน้ำผึ้ง สามารถส่งลูกไปโรงเรียนมัธยม จนถึงปริญญา หลังจากที่ตีผึ้งแล้ว เขาก็แบ่งปันกันใช้ต่อไปได้อีกหลายเดือน
พ่อหลวงคำจันทร์ อินธรรม ผู้ใหญ่บ้านของที่นี่บอกว่าน้ำผึ้งที่นี่นั้นเรียกว่าน้ำผึ้งเดือนห้า สวนในหมู่บ้านไม่ใช้สารเครมี ปล่อยเป็นธรรมชาติ จึงมีแม่ผึ้งมาตอมเกสรดอก สาเหตุนี้ผึ้งป่าเยอะ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านเอียก ต.สันป่ายาง จ.เชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่นี่เป็นภูเขาและมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ล้อมรอบ โดยเฉพาะหน้าร้อน เดือนมีนาคม - เมษายน ที่นี่จะมีสวนลำไย และดอกไม้นานาชนิด ทำให้เป็นอาหารชั้นดีของผึ้งหลวงที่มักจะมาสร้างรังอยู่อาศัยบนต้นไทร หรือ ต้นยางนา ต้นไม้ใหญ่ที่มีมากมายในหมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ทำให้ก่อเกิดอาชีพ การตีผึ้ง ที่ทำกันมาอย่างยาวนาน ทุกปีในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีผึ้งหลวงมาทำรังที่ต้นไม้ในป่าเช่น ต้นยาง ต้นไทร ประมาณ 40 - 50 รัง หรือบางครั้งก็เป็น 100 รัง โดยจำนวนรังผึ้งหลวงจะมีมากน้อยแตกต่างกันไปแต่ละต้น ผึ้งหลวงจะเลือกทำรังตามกิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่ บางกิ่งมีรังถึง 3 - 4 รัง
คนที่เก่งที่สุดและเรียกว่าเป็นเซียน เป็นปรมาจารย์ของการตีผึ้งที่นี่ชื่อว่า ลุงกร หรือ นิกร กันธณี แม้จะอายุ 65 ปีแล้ว แต่มีประสบการณ์ในการตีผึ้งมากกว่า 30 ปี เป็นผู้นำตีผึ้งที่ใคร ๆ ก็ยอมรับในฝีมือ ลุงกร สะท้อนการทำงานตีผึ้งให้ฟังว่า การตีผึ้งต้องทำงานเป็นทีม ทำงานคนเดียวไม่ได้ ลูกทีมทั้ง 5 คนจะแบ่งหน้าที่กัน
1 ทีมสำรวจ เมื่อถึงเดือนที่มีผึ้งก็ต้องเดินป่าสำรวจรังผึ้งหลวงบนต้นไม้ก่อนว่าเริ่มมาสร้างรังหรือยัง หากมีแล้วก็ทำสัญลักษณ์เอาไว้ เพื่อเป็นจอง
2 หน้าที่ตอกตอย หรือ บันได ที่จะต่อขึ้นไปบนต้นไม้ เพื่อให้คนที่ขึ้นไปตีผึ้งสามารถเหยียบขึ้นไปได้
3 หน้าที่รับ - ส่งปี๊บน้ำผึ้ง เมื่อคนตีผึ้งส่งปี๊บที่บรรจุรังผึ้งลงมาจากต้นไม้
การตีผึ้งนั้น เรื่องการแต่งตัวเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญ โดยเสื้อที่ใส่ต้องแน่นหนา ใส่เสื้อ 3 ชั้น กางเกง 3 ชั้น ถุงมือยาง 1 ชั้น และที่สำคัญก็คือ หมง หรือ หมวก ที่ใช้ใส่กันผึ้งมาต่อยใบหน้า โดยหมงนั้นชาวบ้านใช้กระสอบปุ๋ยเย็บติดกับตาข่ายมุ้งลวด นอกจากนั้นต้องเตรียมเครือสะบ้า เอาไปใช้จุดไล่ผึ้ง เวลาที่เสร็จภาระกิจด้วย
ลุงกร บอกว่า การปีนขึ้นไปเอารังผึ้งเป็นงานที่เสี่ยงอันตราย ลุงกรและแก่นไม่ได้มีอะไรเซฟตัวเอง เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะกับประสบการณ์ โดยลุงกรและทีมจะค่อย ๆ เหยียบตอยที่ทำเป็นบันไดเอาไว้ทีละอันเพื่อปีนขึ้นไป การเยื้องย่างไปบนกิ่งไม้แต่ละกิ่ง ต้องใช้ความระมัดระวังสูงที่สุด พลาดไปก็หมายถึงชีวิต และต้องระวังไม่ให้มีดหล่นลงข้าง เพราะจะเป็นอันตรายสำหรับคนด้านล่างอีก
การตีผึ้งสำหรับชาวบ้านที่นี่นั้น สะท้อนวิถีความซื่อสัตย์ให้เราได้เห็น โดยเมื่อได้น้ำผึ้ง ตัวอ่อน นมผึ้ง แล้วจะเอาไปขาย โดยลุงกรจะแบ่งเงินเท่ากันทุกคน เพราะทุกคนเหนื่อยเท่ากัน ถึงแม้ว่าตัวลุงและคนที่ปีนจะเสี่ยงกว่าคนอื่น ๆ แต่ก็ให้เท่ากันเพราะอยากให้คนในทีมมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว และที่สำคัญมากกว่าตัวเงินคือ ความสามัคคีของทีม การตีผึ้งสองเดือนมีความสำคัญต่อชีวิตชาวบ้านมาก รายได้จากขายน้ำผึ้ง สามารถส่งลูกไปโรงเรียนมัธยม จนถึงปริญญา หลังจากที่ตีผึ้งแล้ว เขาก็แบ่งปันกันใช้ต่อไปได้อีกหลายเดือน
พ่อหลวงคำจันทร์ อินธรรม ผู้ใหญ่บ้านของที่นี่บอกว่าน้ำผึ้งที่นี่นั้นเรียกว่าน้ำผึ้งเดือนห้า สวนในหมู่บ้านไม่ใช้สารเครมี ปล่อยเป็นธรรมชาติ จึงมีแม่ผึ้งมาตอมเกสรดอก สาเหตุนี้ผึ้งป่าเยอะ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live