"โอรังอัสลี" หรือ "ชาวซาไก" คนพื้นเมืองดั้งเดิมที่เคยอาศัยอยู่ในป่าฮาลา - บาลา จ.ยะลา ในอดีตพวกเขายังชีพเลี้ยงครอบครัวด้วยการล่าสัตว์ และขุดหัวมันมาเป็นอาหาร ไม่ลงจากป่ามาปฏิสัมพันธ์กับคนในหมู่บ้านหรือชุมชน ปัจจุบันเริ่มมีบางกลุ่มย้ายเขามาอาศัยในพื้นที่ใกล้ชุมชนและเข้ามาทำงาน โดยที่บ้านในหลง ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีกลุ่มโอรังอัสลีลงมาจากป่าฮาลา - บาลา เพื่อทำงาน ตัดยางถางป่า และอาศัยอยู่ในสวนยางของชาวบ้าน นั่นคือครอบครัวของ นากอ ศรีธารโต ที่มาอยู่อาศัยทั้งหมดจำนวน 14 คน
สาเหตุของย้ายลงมาพื้นราบนากอบอกว่า เพราะปัจจุบันในป่าแก่ (ป่าฮาลา - บาลา) บ้านของเขาไม่ค่อยมีสัตว์ให้ล่า ไม่มีหัวมันให้ขุด อาหารหายากไม่พอกิน จึงต้องลงมารับจ้างตัดยางในหมู่บ้าน โดยเจ้าของสวน คือ สมบัติ ศรีจันทร์ เจ้าของสวนยางและนายจ้าง เล่าว่า 6 ปีมาแล้วที่เขาจ้างครอบครัวนากอมาทำงาน อีกทั้งยังสร้างกระท่อมไว้ในสวนยางสำหรับเป็นที่พักชั่วคราวให้ครอบครัวนี้ โดยเล่าว่าครอบครัวนากอนั้นขยัน กรีดยางเก่ง ถางป่ารวดเร็วและเรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว ไม่ลักขโมย จึงอยู่กันด้วยความไว้วางใจพวกเขาไว้ใจ ในหนึ่งปีครอบครัวนากอลงมารับจ้างในหมู่บ้าน เป็นเวลา 10 เดือน คนในหลงจึงคุ้นเคยและผูกพันกับครอบครัวของนากอ
สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงสำหรับครอบครัวนากอ คือ พวกเขายังใช้ไม้ไผ่ทำที่นอน จะไปไหนก็ไปด้วยกัน ทำงานด้วยกัน กินด้วยกัน แบ่งปันกันพี่บัติบอกว่า เพราะครอบครัวนากอมีหลายคน จึงมีรายจ่ายค่าอาหารวันละหลายร้อยบาท แต่พวกเขากินอาหารวันละมื้อเท่านั้น
"กินมื้อกลางวัน เวลาอื่นถ้าหิวก็กินน้ำ" นากอบอกว่า
นากอ และน้อง ๆ เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้เร็ว ทั้งการทำงานในสวนยางและถางป่า จึงปรับเปลี่ยนตัวเองเมื่ออยู่ในชุมชนได้ดี รู้วิธีใช้ภาชนะหุงหาอาหาร ซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็น ทั้งการขายขี้ยางให้นายจ้างและการสะสมเงินซื้อเรือเพื่อเดินทางสำหรับครอบครัว ที่สำคัญทั้งหญิงและชายในครอบครัวนากอขับเรือเป็นทั้งหมด
หากมองจากเสื้อผ้าเครื่องประดับที่พวกเขาสวมใส่ งานที่พวกเขาทำ ที่บ้านที่เขาอาศัย จะเห็นว่านี่คือวิถีความเปลี่ยนไปของโอรังอัสลี หากแต่ความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนไปภายนอกเท่านั้นเพราะในกายในหัวใจของพวกเขายังคิดถึงป่าแก่ (ป่าฮาลา - บาลา) ซึ่งเป็นบ้านที่แท้จริง และรอเวลาที่จะกลับบ้านเสมอแม้ว่าพวกเขาจะรักและผูกพันกับชาวบ้านในหลงมากก็ตาม อย่างที่นากอบอกเราว่า
"ผมรักคนในหมู่บ้าน แต่ผมคิดถึงป่าแก่ตลอด ในหมู่บ้านมันร้อน แต่ในป่าแก่เย็น ได้นั่งมองนก มองใบไม้สบายใจ"
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"โอรังอัสลี" หรือ "ชาวซาไก" คนพื้นเมืองดั้งเดิมที่เคยอาศัยอยู่ในป่าฮาลา - บาลา จ.ยะลา ในอดีตพวกเขายังชีพเลี้ยงครอบครัวด้วยการล่าสัตว์ และขุดหัวมันมาเป็นอาหาร ไม่ลงจากป่ามาปฏิสัมพันธ์กับคนในหมู่บ้านหรือชุมชน ปัจจุบันเริ่มมีบางกลุ่มย้ายเขามาอาศัยในพื้นที่ใกล้ชุมชนและเข้ามาทำงาน โดยที่บ้านในหลง ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีกลุ่มโอรังอัสลีลงมาจากป่าฮาลา - บาลา เพื่อทำงาน ตัดยางถางป่า และอาศัยอยู่ในสวนยางของชาวบ้าน นั่นคือครอบครัวของ นากอ ศรีธารโต ที่มาอยู่อาศัยทั้งหมดจำนวน 14 คน
สาเหตุของย้ายลงมาพื้นราบนากอบอกว่า เพราะปัจจุบันในป่าแก่ (ป่าฮาลา - บาลา) บ้านของเขาไม่ค่อยมีสัตว์ให้ล่า ไม่มีหัวมันให้ขุด อาหารหายากไม่พอกิน จึงต้องลงมารับจ้างตัดยางในหมู่บ้าน โดยเจ้าของสวน คือ สมบัติ ศรีจันทร์ เจ้าของสวนยางและนายจ้าง เล่าว่า 6 ปีมาแล้วที่เขาจ้างครอบครัวนากอมาทำงาน อีกทั้งยังสร้างกระท่อมไว้ในสวนยางสำหรับเป็นที่พักชั่วคราวให้ครอบครัวนี้ โดยเล่าว่าครอบครัวนากอนั้นขยัน กรีดยางเก่ง ถางป่ารวดเร็วและเรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว ไม่ลักขโมย จึงอยู่กันด้วยความไว้วางใจพวกเขาไว้ใจ ในหนึ่งปีครอบครัวนากอลงมารับจ้างในหมู่บ้าน เป็นเวลา 10 เดือน คนในหลงจึงคุ้นเคยและผูกพันกับครอบครัวของนากอ
สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงสำหรับครอบครัวนากอ คือ พวกเขายังใช้ไม้ไผ่ทำที่นอน จะไปไหนก็ไปด้วยกัน ทำงานด้วยกัน กินด้วยกัน แบ่งปันกันพี่บัติบอกว่า เพราะครอบครัวนากอมีหลายคน จึงมีรายจ่ายค่าอาหารวันละหลายร้อยบาท แต่พวกเขากินอาหารวันละมื้อเท่านั้น
"กินมื้อกลางวัน เวลาอื่นถ้าหิวก็กินน้ำ" นากอบอกว่า
นากอ และน้อง ๆ เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้เร็ว ทั้งการทำงานในสวนยางและถางป่า จึงปรับเปลี่ยนตัวเองเมื่ออยู่ในชุมชนได้ดี รู้วิธีใช้ภาชนะหุงหาอาหาร ซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็น ทั้งการขายขี้ยางให้นายจ้างและการสะสมเงินซื้อเรือเพื่อเดินทางสำหรับครอบครัว ที่สำคัญทั้งหญิงและชายในครอบครัวนากอขับเรือเป็นทั้งหมด
หากมองจากเสื้อผ้าเครื่องประดับที่พวกเขาสวมใส่ งานที่พวกเขาทำ ที่บ้านที่เขาอาศัย จะเห็นว่านี่คือวิถีความเปลี่ยนไปของโอรังอัสลี หากแต่ความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนไปภายนอกเท่านั้นเพราะในกายในหัวใจของพวกเขายังคิดถึงป่าแก่ (ป่าฮาลา - บาลา) ซึ่งเป็นบ้านที่แท้จริง และรอเวลาที่จะกลับบ้านเสมอแม้ว่าพวกเขาจะรักและผูกพันกับชาวบ้านในหลงมากก็ตาม อย่างที่นากอบอกเราว่า
"ผมรักคนในหมู่บ้าน แต่ผมคิดถึงป่าแก่ตลอด ในหมู่บ้านมันร้อน แต่ในป่าแก่เย็น ได้นั่งมองนก มองใบไม้สบายใจ"
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live