"ลูกหาบ" หัวใจสำคัญแห่งภูกระดึง
หมู่บ้านที่อยู่รอบ ๆ ภูกระดึง หลายหมู่บ้านที่มีอาชีพ "ลูกหาบ" แต่ไม่มีหมู่บ้านใดจะสู้บ้านศรีฐานได้ ผู้ใหญ่ไพจิตร เกตเวียง ผู้ใหญ่บ้านของที่นี่บอกว่า ผู้คนทุกเพศทุกช่วงวัยในหมู่บ้านล้วนเคยเป็นลูกหาบ และเป็นแบบนี้มาเกือบชั่วอายุคนแล้ว
โอเล่ วันที หมวดโคกสูง รองประธาน กลุ่มลูกหาบภูกระดึง เป็นลูกหาบมาเกือบ 20 ปี คนในครอบครัวของเขาล้วนเคยเป็นลูกหาบและยังทำการค้าในพื้นที่ภูกระดึง โอเล่เองหาบทั้งสัมภาระของนักท่องเที่ยว วัตถุดิบในการทำอาหาร เครื่องดื่ม และเชื้อเพลิงให้ร้านค้า รวมไปถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ของทางหน่วยงานที่รัฐบาลและเอกชนที่ไปให้บริการบนยอดภูกระดึง เรียกว่าของเบาหรือหนักก็ผ่านมือโอเล่และทีมมาแล้วทั้งนั้น แม้แต่ "ตู้พักสายโทรศัพท์" น้ำหนัก 102 กิโลกรัม ที่ต้องใช้ทีม 4 คน ในการหาบก็ต้องทำ เพราะไม่อย่างนั้นการสื่อสารบนภูกระดึงอาจจะมีปัญหาได้ ในการหาบนั้นทุกคนต้องผ่านการฝึกกันมาแทบทั้งสิ้น เพราะไม่ได้หมายความว่าสิ่งของทุกอย่างจะใช้วิธีหาบเหมือน ๆ กัน อย่างกรณีของตู้พักสายโทรศัพท์นั้น ต้องรู้จังหวะทั้งการเดิน การถ่ายน้ำหนัก และเวลาที่ต้องหยุดพัก เพราะระยะทางตลอด 5.5 กิโลเมตรแรกนั้น มีทั้งที่ลาดชัน ที่ราบ ที่ขรุขระ บางจุดต้องขึ้นบันได หากทีมไม่เข้าใจกัน จะผิดพลาดบาดเจ็บ หรือสัมภาระที่หาบไปจะเสียหาย
ช่วงพีคสุดของอาชีพนี้คือ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - มกราคม จะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวยอดภูกระดึงจำนวนมาก จึงเป็นเวลาทองในการหารายได้ ลูกหาบทุกเพศทุกวัย กว่า 300 คน จะมาพร้อมไม้หาบที่ทำจากไม้ไผ่ ที่ลูกหาบเรียกว่า "ไม้เงินแสน" ที่เรียกอย่างนี้เพราะว่าเป็นไม้ที่ทำรายได้ให้กับตนเองนั้นมากมายเป็นหลักแสน โดยไม้ไผ่ที่ว่านี้จะมาพร้อมกับเบาะรองบ่าเพื่อกันการเสียดสี นอกจากนี้ก็มีเชือกมัดสัมภาระ และกำลังความสามารถในการหาบ บางคนสามารถหาบได้ถึง 90 กิโลกรัมต่อเที่ยว
ราคาค่าบริการหาบสัมภาระ จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือขนของให้กับร้านค้า จะคิดราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม และขนสัมภาระให้กับนักท่องเที่ยว จะคิดราคา 30 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งราคานี้เองทำให้ลูกหาบมีรายได้ปีละหลายหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับพละกำลังของลูกหาบเอง เด็กนักเรียนที่มีเวลาว่างก็สามารถมาทำอาชีพนี้หาเงินเป็นค่าขนมไปโรงเรียน
นายมานิตย์ ศรีนาม เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง กล่าวว่า นี่คือวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพากัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ร้านค้า และนักท่องเที่ยว ทุกอย่างที่เห็นบนยอดภูกระดึง ล้วนต้องพึ่งพาลูกหาบ พวกเขาคือคนสำคัญ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"ลูกหาบ" หัวใจสำคัญแห่งภูกระดึง
หมู่บ้านที่อยู่รอบ ๆ ภูกระดึง หลายหมู่บ้านที่มีอาชีพ "ลูกหาบ" แต่ไม่มีหมู่บ้านใดจะสู้บ้านศรีฐานได้ ผู้ใหญ่ไพจิตร เกตเวียง ผู้ใหญ่บ้านของที่นี่บอกว่า ผู้คนทุกเพศทุกช่วงวัยในหมู่บ้านล้วนเคยเป็นลูกหาบ และเป็นแบบนี้มาเกือบชั่วอายุคนแล้ว
โอเล่ วันที หมวดโคกสูง รองประธาน กลุ่มลูกหาบภูกระดึง เป็นลูกหาบมาเกือบ 20 ปี คนในครอบครัวของเขาล้วนเคยเป็นลูกหาบและยังทำการค้าในพื้นที่ภูกระดึง โอเล่เองหาบทั้งสัมภาระของนักท่องเที่ยว วัตถุดิบในการทำอาหาร เครื่องดื่ม และเชื้อเพลิงให้ร้านค้า รวมไปถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ของทางหน่วยงานที่รัฐบาลและเอกชนที่ไปให้บริการบนยอดภูกระดึง เรียกว่าของเบาหรือหนักก็ผ่านมือโอเล่และทีมมาแล้วทั้งนั้น แม้แต่ "ตู้พักสายโทรศัพท์" น้ำหนัก 102 กิโลกรัม ที่ต้องใช้ทีม 4 คน ในการหาบก็ต้องทำ เพราะไม่อย่างนั้นการสื่อสารบนภูกระดึงอาจจะมีปัญหาได้ ในการหาบนั้นทุกคนต้องผ่านการฝึกกันมาแทบทั้งสิ้น เพราะไม่ได้หมายความว่าสิ่งของทุกอย่างจะใช้วิธีหาบเหมือน ๆ กัน อย่างกรณีของตู้พักสายโทรศัพท์นั้น ต้องรู้จังหวะทั้งการเดิน การถ่ายน้ำหนัก และเวลาที่ต้องหยุดพัก เพราะระยะทางตลอด 5.5 กิโลเมตรแรกนั้น มีทั้งที่ลาดชัน ที่ราบ ที่ขรุขระ บางจุดต้องขึ้นบันได หากทีมไม่เข้าใจกัน จะผิดพลาดบาดเจ็บ หรือสัมภาระที่หาบไปจะเสียหาย
ช่วงพีคสุดของอาชีพนี้คือ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - มกราคม จะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวยอดภูกระดึงจำนวนมาก จึงเป็นเวลาทองในการหารายได้ ลูกหาบทุกเพศทุกวัย กว่า 300 คน จะมาพร้อมไม้หาบที่ทำจากไม้ไผ่ ที่ลูกหาบเรียกว่า "ไม้เงินแสน" ที่เรียกอย่างนี้เพราะว่าเป็นไม้ที่ทำรายได้ให้กับตนเองนั้นมากมายเป็นหลักแสน โดยไม้ไผ่ที่ว่านี้จะมาพร้อมกับเบาะรองบ่าเพื่อกันการเสียดสี นอกจากนี้ก็มีเชือกมัดสัมภาระ และกำลังความสามารถในการหาบ บางคนสามารถหาบได้ถึง 90 กิโลกรัมต่อเที่ยว
ราคาค่าบริการหาบสัมภาระ จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือขนของให้กับร้านค้า จะคิดราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม และขนสัมภาระให้กับนักท่องเที่ยว จะคิดราคา 30 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งราคานี้เองทำให้ลูกหาบมีรายได้ปีละหลายหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับพละกำลังของลูกหาบเอง เด็กนักเรียนที่มีเวลาว่างก็สามารถมาทำอาชีพนี้หาเงินเป็นค่าขนมไปโรงเรียน
นายมานิตย์ ศรีนาม เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง กล่าวว่า นี่คือวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพากัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ร้านค้า และนักท่องเที่ยว ทุกอย่างที่เห็นบนยอดภูกระดึง ล้วนต้องพึ่งพาลูกหาบ พวกเขาคือคนสำคัญ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live