"แม่น้ำสายบุรี" เป็นสายน้ำแห่งชีวิตที่หล่อเลี้ยงพี่น้องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีต้นกำเนิดไหลมาจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ที่กั้นชายแดนไทย - มาเลเซีย ไหลผ่าน อ.สุคิริน, อ.จะแนะ, อ.ศรีสาคร, อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และ อ.รามัน จ.ยะลา ก่อนไหลลงสู่ทะเลที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี มีความยาวจากต้นน้ำถึงปลายน้ำเป็นระยะทาง 196 กิโลเมตร ก่อเกิดความผูกพันของผู้คนกับสายน้ำที่มีอยู่อย่างมากมายในพื้นที่นี้ได้เป็นอย่างดี วิถีสองฝั่งของแม่น้ำสายบุรีนั้นล้วนแปลกตา แต่ทว่าสวยงาม มีชีวิตเรียงร้อยกันจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ คนที่นี่จึงรักและหวงแหนแม่น้ำของเขา ทั้งยังสอนลูกหลานให้ช่วยกันดูแลสายน้ำแห่งนี้ แม่น้ำสายทองคำ แม่น้ำแห่งชีวิต
"ลี สุไลมาน เจ๊ะแม" ไกด์นักพจญภัยแห่งแม่น้ำสายบุรี ผู้ที่เดินทางล่องแม่น้ำสายนี้ด้วยเรือคายัคเมื่อปี 2560 เขาเป็นคนไทยกลุ่มแรกที่ล่องแม่น้ำสายบุรีตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำได้สำเร็จ ลี เล่าให้เราฟังว่าที่ "บ้านโต๊ะโม๊ะ" ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน ถือเป็นบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำสายบุรี ซึ่งที่นี่มี "สายแร่ทองคำ" ที่ไหลมาจากเหมืองทองเก่า บนภูเขาโต๊ะโม๊ะ ซึ่งในอดีต เป็นเหมืองที่มีการทำขุดหาทองกันมายาวนาน ปัจจุบันไม่เปิดทำเหมืองแล้ว แต่เศษทองที่เหลือก็ยังไหลมาในแม่น้ำสายบุรี เพื่อให้ชาวบ้านที่นี่ทำมาหากิน ซึ่งชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องชาวอีสานที่อพยพมาหาที่ทำกินในแม่น้ำแห่งนี้ด้วยการ "ร่อนทอง" จนแม่น้ำแห่งนี้ได้ฉายาว่า "แม่น้ำสายทองคำ"
“พี่สำราญ ทองอินทร์” คนเก่งในการร่อนทอง บ้านโต๊ะโม๊ะ บอกเราว่า การได้มาอยู่ที่ต้นน้ำแห่งนี้นั้นเหมือนชุบชีวิตตนเองให้เกิดใหม่ และอาชีพการร่อนทองก็สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ถามได้เลยแทบทุกคนร่อนทองเป็น
ซึ่งการร่อนทองของชาวบ้านที่นี่เริ่มตั้งแต่เช้าหลังจากเสร็จจากการกรีดยางพารา ก็จะชวนเพื่อน ลูก หลาน หอบพลั่ว จอบ เสียม และที่ขาดไม่ได้ก็คือ "เลียง" ที่เป็นภาชนะที่ทำมาจากไม้คล้ายกระทะใช้สำหรับร่อนทอง เดินทางไปที่ต้นน้ำสายบุรี ทองเหล่านี้มาจากเหมืองทองโต๊ะโม๊ะ ซึ่งปัจจุบันได้ปิดตัวไปแล้วแต่ยังคงมีสายแร่ทองคำบริสุทธิ์ที่ไหลลงมาทับถมกันเบื้องล่างให้ชาวบ้านได้ร่อนทองหารายได้ วิธีการร่อนก็คือตักทรายหรือดินในแม่น้ำมาร่อนบนเลียง ซึ่งสายตาต้องไวเป็นพิเศษเนื่องจากทองคำจะมีลักษณะเล็กมากทับซ้อนอยู่ในชั้นดิน ร่อนซ้ำ ๆไปอย่างนั้นจนกว่าจะเจอ "ทอง"
นอกจากการร่อนทองด้วยเลียงไม้แล้ว ก็ยังหาทองด้วยวิธี "การดำน้ำหาเศษทอง" ด้วย ชาวบ้านที่นี่รักและผูกพันกับแม่น้ำสายบุรี แม่น้ำที่เป็นเหมือนบ้าน เป็นเหมือนหัวใจ และเป็นทั้งชีวิตของคนที่นี่
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"แม่น้ำสายบุรี" เป็นสายน้ำแห่งชีวิตที่หล่อเลี้ยงพี่น้องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีต้นกำเนิดไหลมาจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ที่กั้นชายแดนไทย - มาเลเซีย ไหลผ่าน อ.สุคิริน, อ.จะแนะ, อ.ศรีสาคร, อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และ อ.รามัน จ.ยะลา ก่อนไหลลงสู่ทะเลที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี มีความยาวจากต้นน้ำถึงปลายน้ำเป็นระยะทาง 196 กิโลเมตร ก่อเกิดความผูกพันของผู้คนกับสายน้ำที่มีอยู่อย่างมากมายในพื้นที่นี้ได้เป็นอย่างดี วิถีสองฝั่งของแม่น้ำสายบุรีนั้นล้วนแปลกตา แต่ทว่าสวยงาม มีชีวิตเรียงร้อยกันจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ คนที่นี่จึงรักและหวงแหนแม่น้ำของเขา ทั้งยังสอนลูกหลานให้ช่วยกันดูแลสายน้ำแห่งนี้ แม่น้ำสายทองคำ แม่น้ำแห่งชีวิต
"ลี สุไลมาน เจ๊ะแม" ไกด์นักพจญภัยแห่งแม่น้ำสายบุรี ผู้ที่เดินทางล่องแม่น้ำสายนี้ด้วยเรือคายัคเมื่อปี 2560 เขาเป็นคนไทยกลุ่มแรกที่ล่องแม่น้ำสายบุรีตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำได้สำเร็จ ลี เล่าให้เราฟังว่าที่ "บ้านโต๊ะโม๊ะ" ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน ถือเป็นบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำสายบุรี ซึ่งที่นี่มี "สายแร่ทองคำ" ที่ไหลมาจากเหมืองทองเก่า บนภูเขาโต๊ะโม๊ะ ซึ่งในอดีต เป็นเหมืองที่มีการทำขุดหาทองกันมายาวนาน ปัจจุบันไม่เปิดทำเหมืองแล้ว แต่เศษทองที่เหลือก็ยังไหลมาในแม่น้ำสายบุรี เพื่อให้ชาวบ้านที่นี่ทำมาหากิน ซึ่งชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องชาวอีสานที่อพยพมาหาที่ทำกินในแม่น้ำแห่งนี้ด้วยการ "ร่อนทอง" จนแม่น้ำแห่งนี้ได้ฉายาว่า "แม่น้ำสายทองคำ"
“พี่สำราญ ทองอินทร์” คนเก่งในการร่อนทอง บ้านโต๊ะโม๊ะ บอกเราว่า การได้มาอยู่ที่ต้นน้ำแห่งนี้นั้นเหมือนชุบชีวิตตนเองให้เกิดใหม่ และอาชีพการร่อนทองก็สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ถามได้เลยแทบทุกคนร่อนทองเป็น
ซึ่งการร่อนทองของชาวบ้านที่นี่เริ่มตั้งแต่เช้าหลังจากเสร็จจากการกรีดยางพารา ก็จะชวนเพื่อน ลูก หลาน หอบพลั่ว จอบ เสียม และที่ขาดไม่ได้ก็คือ "เลียง" ที่เป็นภาชนะที่ทำมาจากไม้คล้ายกระทะใช้สำหรับร่อนทอง เดินทางไปที่ต้นน้ำสายบุรี ทองเหล่านี้มาจากเหมืองทองโต๊ะโม๊ะ ซึ่งปัจจุบันได้ปิดตัวไปแล้วแต่ยังคงมีสายแร่ทองคำบริสุทธิ์ที่ไหลลงมาทับถมกันเบื้องล่างให้ชาวบ้านได้ร่อนทองหารายได้ วิธีการร่อนก็คือตักทรายหรือดินในแม่น้ำมาร่อนบนเลียง ซึ่งสายตาต้องไวเป็นพิเศษเนื่องจากทองคำจะมีลักษณะเล็กมากทับซ้อนอยู่ในชั้นดิน ร่อนซ้ำ ๆไปอย่างนั้นจนกว่าจะเจอ "ทอง"
นอกจากการร่อนทองด้วยเลียงไม้แล้ว ก็ยังหาทองด้วยวิธี "การดำน้ำหาเศษทอง" ด้วย ชาวบ้านที่นี่รักและผูกพันกับแม่น้ำสายบุรี แม่น้ำที่เป็นเหมือนบ้าน เป็นเหมือนหัวใจ และเป็นทั้งชีวิตของคนที่นี่
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live