"จองพารา" ถูกสมมุติเป็นเหมือนปราสาทที่สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ในวันออกพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญในงานเทศกาลออกพรรษาของชาวไทใหญ่ คำว่า "จอง" แปลว่าวัดหรือ ปราสาท ส่วนคำว่า "พารา" แปลว่าพระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้า พ่อหลวงตรี ชาตรี คำจิ่ง กำนันตำบลห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เล่าให้ฟังว่าชาวบ้านที่นี่นั้นมีเชื้อสายไทใหญ่ที่อพยพเดินข้ามฝั่งมาจากรัฐฉาน ประเทศเมียนมา และมีวิถีผูกพันยึดมั่นในการสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดตามบรรพบุรุษ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลออกพรรษาจะมีการทำจองพาราแบบวิถีเก่าดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น
โดยจองพารามี 3 แบบ
1. จองยอด = มียอดปราสาท 5 ถึง 9 ยอด
2. จองปิ๊กต่าน = ไม่มียอด นิยมบูชาไว้ที่บ้าน
3. จองเข่งต่าง หรือ จองผาสาน = ใช้ตอกสานต่อกันเป็นทรงสามเหลี่ยม ไม่มียอดปราสาท
ส่วนตัวโครงทำด้วยไม้ไผ่ มีทั้งตกแต่งด้วยกระดาษสีสันต่าง ๆ และแบบไม้ไผ่เปล่า ๆ ข้างในจะแบ่งเป็น 2 ชั้น โดยชั้นบนบางบ้านจะมีพระพุทธรูปและใส่อาหารต่าง ๆ ส่วนชั้นล่างจะใส่ผักผลไม้ เพื่อไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไป จากนั้นก็จะยกจองพาราขึ้นไว้นอกชายคาหรือนอกรั้วบ้าน "จองพารา" แต่ละหลังใช้เวลาประดิษฐ์ประมาณ 1-2 วัน "จองพารา" จะถูกตั้งไว้จนครบ 7 วัน จึงจะรื้อถอนจองพาราออกไปทิ้งหรือเผา ปีต่อไปก็ทำขึ้นมาบูชาใหม่ไม่นำมา ใช้ซ้ำ ส่วนผักผลไม้ก็ถือเป็นของมงคลนำมาทานต่อภายในบ้าน กำนันบอกว่า "ไม่ว่าจะเป็นจองพาราเล็กหรือจองพาราใหญ่ จองพาราสวยงามวิจิตรหรือจองพาราไม้ไผ่สานอันเรียบง่าย ต่างได้บุญเหมือนกัน สิ่งสำคัญมันขึ้นอยู่กับจิตใจที่ศรัทธาต่างหาก"
วันออกพรรษาของที่นี่ จะมี "การหุงข้าวมธุปายาส" หรืออาหารสมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นข้าวที่หุงเจือด้วย เนย นม และน้ำผึ้ง ตามความเชื่อที่นางสุชาดาได้นำมาถวายเป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ซึ่งที่ต้องตื่นมาหุงตอนเช้ามืด ประมาณตีสาม เพื่อให้ทันถวายพระสงฆ์ก่อนการสวดมนต์ ทำวัตรเช้า และทุกครั้งที่ทำพิธีต้องมีการกั้นพื้นที่ด้วยราชวัตรหรือรั้วมณฑลพิธีเล็ก ๆ เป็นแผงไม้ไผ่สานเป็นตาข่าย กำหนดขอบเขตในพื้นที่ต้องห้าม ซึ่งปัจจุบันหาคนมาทำพิธีนี้ค่อนข้างยากบางที่ไม่ทำแล้ว แต่ชาวบ้านที่นี่ยังคงมีอยู่ และทำมาไม่เคยขาด ซึ่งความศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งนี้ ได้หลอมรวมเป็นเอกลักษณ์อันทรงคุณค่า ที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"จองพารา" ถูกสมมุติเป็นเหมือนปราสาทที่สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ในวันออกพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญในงานเทศกาลออกพรรษาของชาวไทใหญ่ คำว่า "จอง" แปลว่าวัดหรือ ปราสาท ส่วนคำว่า "พารา" แปลว่าพระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้า พ่อหลวงตรี ชาตรี คำจิ่ง กำนันตำบลห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เล่าให้ฟังว่าชาวบ้านที่นี่นั้นมีเชื้อสายไทใหญ่ที่อพยพเดินข้ามฝั่งมาจากรัฐฉาน ประเทศเมียนมา และมีวิถีผูกพันยึดมั่นในการสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดตามบรรพบุรุษ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลออกพรรษาจะมีการทำจองพาราแบบวิถีเก่าดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น
โดยจองพารามี 3 แบบ
1. จองยอด = มียอดปราสาท 5 ถึง 9 ยอด
2. จองปิ๊กต่าน = ไม่มียอด นิยมบูชาไว้ที่บ้าน
3. จองเข่งต่าง หรือ จองผาสาน = ใช้ตอกสานต่อกันเป็นทรงสามเหลี่ยม ไม่มียอดปราสาท
ส่วนตัวโครงทำด้วยไม้ไผ่ มีทั้งตกแต่งด้วยกระดาษสีสันต่าง ๆ และแบบไม้ไผ่เปล่า ๆ ข้างในจะแบ่งเป็น 2 ชั้น โดยชั้นบนบางบ้านจะมีพระพุทธรูปและใส่อาหารต่าง ๆ ส่วนชั้นล่างจะใส่ผักผลไม้ เพื่อไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไป จากนั้นก็จะยกจองพาราขึ้นไว้นอกชายคาหรือนอกรั้วบ้าน "จองพารา" แต่ละหลังใช้เวลาประดิษฐ์ประมาณ 1-2 วัน "จองพารา" จะถูกตั้งไว้จนครบ 7 วัน จึงจะรื้อถอนจองพาราออกไปทิ้งหรือเผา ปีต่อไปก็ทำขึ้นมาบูชาใหม่ไม่นำมา ใช้ซ้ำ ส่วนผักผลไม้ก็ถือเป็นของมงคลนำมาทานต่อภายในบ้าน กำนันบอกว่า "ไม่ว่าจะเป็นจองพาราเล็กหรือจองพาราใหญ่ จองพาราสวยงามวิจิตรหรือจองพาราไม้ไผ่สานอันเรียบง่าย ต่างได้บุญเหมือนกัน สิ่งสำคัญมันขึ้นอยู่กับจิตใจที่ศรัทธาต่างหาก"
วันออกพรรษาของที่นี่ จะมี "การหุงข้าวมธุปายาส" หรืออาหารสมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นข้าวที่หุงเจือด้วย เนย นม และน้ำผึ้ง ตามความเชื่อที่นางสุชาดาได้นำมาถวายเป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ซึ่งที่ต้องตื่นมาหุงตอนเช้ามืด ประมาณตีสาม เพื่อให้ทันถวายพระสงฆ์ก่อนการสวดมนต์ ทำวัตรเช้า และทุกครั้งที่ทำพิธีต้องมีการกั้นพื้นที่ด้วยราชวัตรหรือรั้วมณฑลพิธีเล็ก ๆ เป็นแผงไม้ไผ่สานเป็นตาข่าย กำหนดขอบเขตในพื้นที่ต้องห้าม ซึ่งปัจจุบันหาคนมาทำพิธีนี้ค่อนข้างยากบางที่ไม่ทำแล้ว แต่ชาวบ้านที่นี่ยังคงมีอยู่ และทำมาไม่เคยขาด ซึ่งความศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งนี้ ได้หลอมรวมเป็นเอกลักษณ์อันทรงคุณค่า ที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live