วิถี "คนเลี้ยงผึ้ง" เรื่องราวของครอบครัวหนึ่งจากจังหวัดหนองบัวลำภูที่ "รักผึ้ง" เหมือนลูกหลาน...พวกเขา "อพยพผึ้ง" นับล้าน ๆ ตัวเดินทางหลายร้อยกิโลเมตร ไปตามหาแหล่งอาหารเกือบทั่วประเทศไทย
น้านิคม โคตรสุวรรณ วัย 53 ปี และภรรยา เป็นคนเลี้ยงผึ้งมานานกว่า 20 ปี เริ่มเลี้ยงผึ้งเพราะปัญหาสุขภาพของตัวเองจึงเลี้ยงผึ้งเพื่อรักษาตัว จึงผูกพันและต่อยอดมาเป็นคนเลี้ยงผึ้งเช่นปัจจุบัน ในทุก ๆ ปีจะต้องอพยพผึ้งจากบ้านเกิดออกเดินทางด้วยรถกระบะ พร้อมทีมงานและกล่องที่มีบรรดาผึ้งนับล้านตัว เดินทางไปเกือบทุกภาคในเมืองไทย และค้างแรมเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งพื้นที่ อ.ลี้ จ.ลำพูน แหล่งปลูกลำไยแหล่งใหญ่ของประเทศ เป็นแหล่งอาหารหลักของผึ้ง เพราะเกสรของลำไยจะเป็นที่ชื่นชอบของผึ้งและมีน้ำหวานให้ผึ้งได้เก็บกิน
การเลือกสวนที่จะให้ผึ้งไปอยู่อาศัย ต้องเลือกสวนที่ปลอดสารเคมี เพราะอาจทำให้ผึ้งตายยกรังได้ สวนที่นำลังผึ้งมาวางนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นญาติพี่น้องอะไรกัน แต่อาศัยความเชื่อใจและคุ้นเคย โดยผึ้งเหล่านี้จะทำหน้าที่ผสมเกสรในสวนผลไม้ให้ฟรีบ้าง จ่ายเงินเล็กน้อยบ้าง เพื่อแลกกับการได้ดื่มกินน้ำหวานจากดอกไม้เพื่อผลิตน้ำผึ้งให้กับสามีภรรยาสองท่านนี้นำไปจำหน่าย ถ้าไม่ใช้ผึ้งผสมเกสร เจ้าของสวนผลไม้อาจจะต้องจ้างคนงานให้ผสมเกสรเทียม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีประสิทธิภาพดีเท่าผึ้ง เป็นการพึ่งพากันระหว่างเจ้าของผึ้งและเจ้าของสวนผลไม้
การขนย้ายผึ้งเพื่อไปผสมเกสรนั้นทำกันกลางคืน เพราะเป็นช่วงเวลาที่ผึ้งนอน แดดไม่ร้อนและป้องกันการตายของผึ้ง
วงจรการเดินทางไปหาเกสรดอกไม้กินของ "ผึ้ง" ใน 1 ปี
วัฏจักรของการหาเกสรดอกไม้กินของผึ้งจะเป็นอย่างนี้ไปทุกปี เมื่อถึงเวลาทำงาน ผึ้งจะตื่นตั้งแต่เช้าตี 4 บินพุ่งไปดูดน้ำหวาน ผึ้งสามารถทำงาน 24 ชั่วโมงโดยไม่พัก ผึ้ง 20 ลัง ผลิตน้ำผึ้งเฉลี่ย 300 ลิตร 5 วันเก็บน้ำผึ้ง 1 ครั้ง เก็บใส่ถุงแยกไว้ขายขวดละ 250 - 300 บาท ส่วนรวงผึ้งสดขายปลีก กิโลกรัมละ 500 บาท
วิถีของคนเลี้ยงผึ้งต้องอดทน ทุ่มเทด้วยใจรัก และผึ้งก็ยังให้ข้อคิดและนำมาปรับใช้ในชีวิต เรื่องของการทำหน้าที่ของตัวเองให้สมบูรณ์ "นิสัยผึ้งยอมตายเพื่อรักษารัง ใครไปทำลายรังเขาจะปกป้องรังจนตัวตาย"
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
วิถี "คนเลี้ยงผึ้ง" เรื่องราวของครอบครัวหนึ่งจากจังหวัดหนองบัวลำภูที่ "รักผึ้ง" เหมือนลูกหลาน...พวกเขา "อพยพผึ้ง" นับล้าน ๆ ตัวเดินทางหลายร้อยกิโลเมตร ไปตามหาแหล่งอาหารเกือบทั่วประเทศไทย
น้านิคม โคตรสุวรรณ วัย 53 ปี และภรรยา เป็นคนเลี้ยงผึ้งมานานกว่า 20 ปี เริ่มเลี้ยงผึ้งเพราะปัญหาสุขภาพของตัวเองจึงเลี้ยงผึ้งเพื่อรักษาตัว จึงผูกพันและต่อยอดมาเป็นคนเลี้ยงผึ้งเช่นปัจจุบัน ในทุก ๆ ปีจะต้องอพยพผึ้งจากบ้านเกิดออกเดินทางด้วยรถกระบะ พร้อมทีมงานและกล่องที่มีบรรดาผึ้งนับล้านตัว เดินทางไปเกือบทุกภาคในเมืองไทย และค้างแรมเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งพื้นที่ อ.ลี้ จ.ลำพูน แหล่งปลูกลำไยแหล่งใหญ่ของประเทศ เป็นแหล่งอาหารหลักของผึ้ง เพราะเกสรของลำไยจะเป็นที่ชื่นชอบของผึ้งและมีน้ำหวานให้ผึ้งได้เก็บกิน
การเลือกสวนที่จะให้ผึ้งไปอยู่อาศัย ต้องเลือกสวนที่ปลอดสารเคมี เพราะอาจทำให้ผึ้งตายยกรังได้ สวนที่นำลังผึ้งมาวางนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นญาติพี่น้องอะไรกัน แต่อาศัยความเชื่อใจและคุ้นเคย โดยผึ้งเหล่านี้จะทำหน้าที่ผสมเกสรในสวนผลไม้ให้ฟรีบ้าง จ่ายเงินเล็กน้อยบ้าง เพื่อแลกกับการได้ดื่มกินน้ำหวานจากดอกไม้เพื่อผลิตน้ำผึ้งให้กับสามีภรรยาสองท่านนี้นำไปจำหน่าย ถ้าไม่ใช้ผึ้งผสมเกสร เจ้าของสวนผลไม้อาจจะต้องจ้างคนงานให้ผสมเกสรเทียม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีประสิทธิภาพดีเท่าผึ้ง เป็นการพึ่งพากันระหว่างเจ้าของผึ้งและเจ้าของสวนผลไม้
การขนย้ายผึ้งเพื่อไปผสมเกสรนั้นทำกันกลางคืน เพราะเป็นช่วงเวลาที่ผึ้งนอน แดดไม่ร้อนและป้องกันการตายของผึ้ง
วงจรการเดินทางไปหาเกสรดอกไม้กินของ "ผึ้ง" ใน 1 ปี
วัฏจักรของการหาเกสรดอกไม้กินของผึ้งจะเป็นอย่างนี้ไปทุกปี เมื่อถึงเวลาทำงาน ผึ้งจะตื่นตั้งแต่เช้าตี 4 บินพุ่งไปดูดน้ำหวาน ผึ้งสามารถทำงาน 24 ชั่วโมงโดยไม่พัก ผึ้ง 20 ลัง ผลิตน้ำผึ้งเฉลี่ย 300 ลิตร 5 วันเก็บน้ำผึ้ง 1 ครั้ง เก็บใส่ถุงแยกไว้ขายขวดละ 250 - 300 บาท ส่วนรวงผึ้งสดขายปลีก กิโลกรัมละ 500 บาท
วิถีของคนเลี้ยงผึ้งต้องอดทน ทุ่มเทด้วยใจรัก และผึ้งก็ยังให้ข้อคิดและนำมาปรับใช้ในชีวิต เรื่องของการทำหน้าที่ของตัวเองให้สมบูรณ์ "นิสัยผึ้งยอมตายเพื่อรักษารัง ใครไปทำลายรังเขาจะปกป้องรังจนตัวตาย"
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live