"บ้านป่าหัด" ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน หมู่บ้านที่อยู่ติดริม "แม่น้ำน่าน" ที่นี่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและยังมีการสืบทอดวัฒนธรรมชุมชนแบบดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่นที่เรียกว่าเช่น "การถวายขันข้าวกลางเรือน" เป็นวัฒนธรรมในการรำลึกบุญคุณของผู้มีพระคุณ จะทำในช่วงวันคล้ายวันเกิด, ปีใหม่ โดยถือพานใส่ข้าว ขนม ดอกไม้ เทียน เพื่อไปไหว้ขอพรพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ มากกว่านั้นที่สำคัญคือที่หมู่บ้านนี้ยังใช้ "วัวเทียมเกวียน" ซึ่งคือการที่ชาวบ้านเอาวัวของตนเองนั้นมาผูกกับเกวียนเพื่อใช้ในการทำงาน การขนของในชีวิตประจำวัน ขนของหลายอย่างทั้งด้านการเกษตร เช่น ขนฟาง, ขนหญ้า, ขนปุ๋ย โดยเฉพาะการไปงมหินในแม่น้ำน่าน เพื่อเอามาขายให้กับร้านวัสดุก่อสร้าง อาชีพนี้เป็นวิถีอาชีพที่ทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การเอาวัวมาเทียมเกวียนนั้นต้องมีการฝึก
โดยที่นี่จะมี "พ่อประยูร สุทธิ" อายุ 60 ปี เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัวเทียมเกวียนที่สุด พ่อเล่าให้ฟังว่า ในอดีตหมู่บ้านป่าหัดมีวัวเทียมเกวียน 100 กว่าเล่ม ตอนนี้เหลือ 3 - 4 เล่มเกวียน ในการฝึกวัวสำหรับเทียมเกวียนพ่อประยูรจะมีทีมงานประมาณ 3 - 4 คน ที่เป็นลูกทีมในการช่วยจับเชือกดึงวัว ฝึกเพียง 3 - 4 วัน วัวก็สามารถออกเทียมเกวียนได้ โดยมีเทคนิคในการฝึกคือการออกคำสั่งให้วัวทำตาม เช่น ถ้าจะให้วัวไปขวา จะสั่งว่า ซ้าย ๆ, หากจะให้วัวไปทางซ้าย สั่ง ขวา ๆ แป่ ๆ คือ ให้เดิน, ยอ ๆ คือ ให้หยุด, ถอยมา ๆ คือให้ถอยหลัง เป็นต้น พ่อประยูรบอกว่าการเป็นครูฝึกวัว นอกจากจะออกคำสั่งเป็นแล้ว สิ่งที่สำคัญคือต้องมีความใส่ใจให้กับลูกศิษย์ที่เป็นวัว ๆ ทั้งหลาย เมื่อฝึกจนเป็น หลังจากนั้นถ้ามีเวลาก็ต้องคอยไปดูให้กำลังใจลูกศิษย์ตามคอกด้วย
"วัวเทียมเกวียน" ที่ถูกฝึกจะถูกใช้ไปไปขนหินในแม่น้ำน่าน โดยจะนำเกวียนไปลอยลำอยู่กลางแม่น้ำบริเวณที่มีหินทรายอยู่ใต้น้ำ ใช้เท้าควานหาจนเจอหินจึงลงมือขุดตักทราย ใส่บุ้งกี๋แล้วร่อนใส่เกวียนจนเต็ม แล้วบรรทุกไปใส่รถกระบะขาย ซึ่งยังใช้วัวเทียมเกวียนในการขนหินทราย เพราะรถกระบะลงไม่ได้แต่เกวียนลงได้ สร้างรายได้วันละ 1,000 - 1,500 บาท แล้วแต่กำลังที่จะหาได้ในแต่ละวัน ซึ่งถือว่าคุ้มมาก เนื่องจากไม่มีต้นทุน หินทรายที่ขุดก็มาจากธรรมชาติ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"บ้านป่าหัด" ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน หมู่บ้านที่อยู่ติดริม "แม่น้ำน่าน" ที่นี่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและยังมีการสืบทอดวัฒนธรรมชุมชนแบบดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่นที่เรียกว่าเช่น "การถวายขันข้าวกลางเรือน" เป็นวัฒนธรรมในการรำลึกบุญคุณของผู้มีพระคุณ จะทำในช่วงวันคล้ายวันเกิด, ปีใหม่ โดยถือพานใส่ข้าว ขนม ดอกไม้ เทียน เพื่อไปไหว้ขอพรพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ มากกว่านั้นที่สำคัญคือที่หมู่บ้านนี้ยังใช้ "วัวเทียมเกวียน" ซึ่งคือการที่ชาวบ้านเอาวัวของตนเองนั้นมาผูกกับเกวียนเพื่อใช้ในการทำงาน การขนของในชีวิตประจำวัน ขนของหลายอย่างทั้งด้านการเกษตร เช่น ขนฟาง, ขนหญ้า, ขนปุ๋ย โดยเฉพาะการไปงมหินในแม่น้ำน่าน เพื่อเอามาขายให้กับร้านวัสดุก่อสร้าง อาชีพนี้เป็นวิถีอาชีพที่ทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การเอาวัวมาเทียมเกวียนนั้นต้องมีการฝึก
โดยที่นี่จะมี "พ่อประยูร สุทธิ" อายุ 60 ปี เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัวเทียมเกวียนที่สุด พ่อเล่าให้ฟังว่า ในอดีตหมู่บ้านป่าหัดมีวัวเทียมเกวียน 100 กว่าเล่ม ตอนนี้เหลือ 3 - 4 เล่มเกวียน ในการฝึกวัวสำหรับเทียมเกวียนพ่อประยูรจะมีทีมงานประมาณ 3 - 4 คน ที่เป็นลูกทีมในการช่วยจับเชือกดึงวัว ฝึกเพียง 3 - 4 วัน วัวก็สามารถออกเทียมเกวียนได้ โดยมีเทคนิคในการฝึกคือการออกคำสั่งให้วัวทำตาม เช่น ถ้าจะให้วัวไปขวา จะสั่งว่า ซ้าย ๆ, หากจะให้วัวไปทางซ้าย สั่ง ขวา ๆ แป่ ๆ คือ ให้เดิน, ยอ ๆ คือ ให้หยุด, ถอยมา ๆ คือให้ถอยหลัง เป็นต้น พ่อประยูรบอกว่าการเป็นครูฝึกวัว นอกจากจะออกคำสั่งเป็นแล้ว สิ่งที่สำคัญคือต้องมีความใส่ใจให้กับลูกศิษย์ที่เป็นวัว ๆ ทั้งหลาย เมื่อฝึกจนเป็น หลังจากนั้นถ้ามีเวลาก็ต้องคอยไปดูให้กำลังใจลูกศิษย์ตามคอกด้วย
"วัวเทียมเกวียน" ที่ถูกฝึกจะถูกใช้ไปไปขนหินในแม่น้ำน่าน โดยจะนำเกวียนไปลอยลำอยู่กลางแม่น้ำบริเวณที่มีหินทรายอยู่ใต้น้ำ ใช้เท้าควานหาจนเจอหินจึงลงมือขุดตักทราย ใส่บุ้งกี๋แล้วร่อนใส่เกวียนจนเต็ม แล้วบรรทุกไปใส่รถกระบะขาย ซึ่งยังใช้วัวเทียมเกวียนในการขนหินทราย เพราะรถกระบะลงไม่ได้แต่เกวียนลงได้ สร้างรายได้วันละ 1,000 - 1,500 บาท แล้วแต่กำลังที่จะหาได้ในแต่ละวัน ซึ่งถือว่าคุ้มมาก เนื่องจากไม่มีต้นทุน หินทรายที่ขุดก็มาจากธรรมชาติ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live