"วัวควาย" มรดกที่มีชีวิตของชาวบ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ หมู่บ้านเล็ก ๆ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ชาวบ้านที่นี่แทบทุกหลังคาเลี้ยงวัวควาย ที่ได้รับเป็นมรดกตกทอดมาจากรุ่นพ่อ รุ่นแม่ พอลูกแต่งงานพ่อแม่ก็มอบให้ลูกออกเรือน โดยเรียกมรดกนี้ว่า "มูลมัง" ดังนั้นวัวควายจึงมีความสำคัญต่อชาวบ้านที่นี่เป็นอย่างมาก เพราะเป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งมิตร เป็นทั้งธนาคาร เป็นทั้งเครดิตค้ำประกัน เป็นทั้งเงินส่งลูกเรียน ลูกได้เป็นเจ้าเป็นนายก็เพราะวัวควาย ดังนั้นจึงรักและดูแลวัวควายเหมือนลูกหลาน วัวควายที่นี่จึงถูกดูแลเปรียบเสมือนคนในบ้าน เช้า ๆ ก็จะพาออกไปหากินหญ้ากลางทุ่ง จนเย็นจึงพากลับบ้าน
การใช้ชีวิตกลางทุ่งของชาวบ้านที่นี่ก่อให้เกิดสังคมย่อย ๆ ที่คนเลี้ยงสัตว์มารวมตัวกัน โดยแม้ว่าต่างคนจะมาจากต่างถิ่น แต่เมื่อวัวควายตนเองถูกปล่อยไปเลี้ยงก็มักจะมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม เช่น กินข้าวกลางวัน หาอาหารกลางทุ่ง เช่น หนูนา กบ เขียด และปู สามารถที่จะช่วยกันดูแลสัตว์เลี้ยง กลายเป็นความรักความผูกพันที่ไม่ต้องใช้เงินเข้ามาแลกซื้อ แค่รักสัตว์ชนิดเดียวกันก็สามารถเป็นเพื่อนกันได้ นอกจากนั้นความรักในวัวควายของที่นี่ยังถูกถ่ายทอดไปยังเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ที่นอกจากจะมีวัวควายเป็นเพื่อนเล่น ยังสามารถที่จะมีเป็นสัตว์เลี้ยงของตนเองได้ด้วย เช่น น้องแพมวัย 13 ปี และน้องต้าร์วัย 9 ปี สองพี่น้องที่คลุกคลีกับสัตว์ประเภทนี้ โดยเอาไปเลี้ยงกลางทุ่ง หาอาหารให้กิน ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูก็จะได้มาจากพ่อแม่ที่ทำให้ดู จนเด็ก ๆ เกิดความผูกพัน
วิถีของคนที่นี่ นอกจากเปิดโลกให้เราเห็นว่า ความผูกพันในวิถีเดิม ๆ ของชาวบ้านในชนบทที่ยังดำรงอยู่แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความฉลาดของบรรพบุรุษในการคิดที่จะให้มรดกลูกหลานเป็นวัวควาย ทรัพยสินที่เป็นเสมือนธนาคาร สามารถเบิกใช้ได้ตลอดเวลา
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"วัวควาย" มรดกที่มีชีวิตของชาวบ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ หมู่บ้านเล็ก ๆ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ชาวบ้านที่นี่แทบทุกหลังคาเลี้ยงวัวควาย ที่ได้รับเป็นมรดกตกทอดมาจากรุ่นพ่อ รุ่นแม่ พอลูกแต่งงานพ่อแม่ก็มอบให้ลูกออกเรือน โดยเรียกมรดกนี้ว่า "มูลมัง" ดังนั้นวัวควายจึงมีความสำคัญต่อชาวบ้านที่นี่เป็นอย่างมาก เพราะเป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งมิตร เป็นทั้งธนาคาร เป็นทั้งเครดิตค้ำประกัน เป็นทั้งเงินส่งลูกเรียน ลูกได้เป็นเจ้าเป็นนายก็เพราะวัวควาย ดังนั้นจึงรักและดูแลวัวควายเหมือนลูกหลาน วัวควายที่นี่จึงถูกดูแลเปรียบเสมือนคนในบ้าน เช้า ๆ ก็จะพาออกไปหากินหญ้ากลางทุ่ง จนเย็นจึงพากลับบ้าน
การใช้ชีวิตกลางทุ่งของชาวบ้านที่นี่ก่อให้เกิดสังคมย่อย ๆ ที่คนเลี้ยงสัตว์มารวมตัวกัน โดยแม้ว่าต่างคนจะมาจากต่างถิ่น แต่เมื่อวัวควายตนเองถูกปล่อยไปเลี้ยงก็มักจะมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม เช่น กินข้าวกลางวัน หาอาหารกลางทุ่ง เช่น หนูนา กบ เขียด และปู สามารถที่จะช่วยกันดูแลสัตว์เลี้ยง กลายเป็นความรักความผูกพันที่ไม่ต้องใช้เงินเข้ามาแลกซื้อ แค่รักสัตว์ชนิดเดียวกันก็สามารถเป็นเพื่อนกันได้ นอกจากนั้นความรักในวัวควายของที่นี่ยังถูกถ่ายทอดไปยังเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ที่นอกจากจะมีวัวควายเป็นเพื่อนเล่น ยังสามารถที่จะมีเป็นสัตว์เลี้ยงของตนเองได้ด้วย เช่น น้องแพมวัย 13 ปี และน้องต้าร์วัย 9 ปี สองพี่น้องที่คลุกคลีกับสัตว์ประเภทนี้ โดยเอาไปเลี้ยงกลางทุ่ง หาอาหารให้กิน ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูก็จะได้มาจากพ่อแม่ที่ทำให้ดู จนเด็ก ๆ เกิดความผูกพัน
วิถีของคนที่นี่ นอกจากเปิดโลกให้เราเห็นว่า ความผูกพันในวิถีเดิม ๆ ของชาวบ้านในชนบทที่ยังดำรงอยู่แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความฉลาดของบรรพบุรุษในการคิดที่จะให้มรดกลูกหลานเป็นวัวควาย ทรัพยสินที่เป็นเสมือนธนาคาร สามารถเบิกใช้ได้ตลอดเวลา
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live