เรื่องราวของ "เมืองอูบุด" เมืองเล็ก ๆ ทางตอนกลางของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลกเรื่องวิถีและวัฒนธรรมบาหลี จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของอูบุดคือ ธรรมชาติอันงดงามและวิถีเก่าที่ยังแทรกตัวอยู่ท่ามกลางรีสอร์ตอันสวยหรู และเป็นที่พักของนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศของโลก โดยเฉพาะเรื่องการทำเกษตรบนภูเขาที่เรียกว่า "การทำนาขั้นบันได" ที่ต้องอาศัยระบบของการแบ่งปันน้ำ หรือที่เรียกว่า "ซูบัค" (Subak) เรียกง่าย ๆ ว่า สหกรณ์น้ำ โดยชาวบ้านที่นี่จะอยู่ภายใต้ข้อตกลง ซึ่งสมาชิกทุกคนจะเกี่ยวข้าวตามตารางการเพาะปลูกที่ตกลงร่วมกัน ช่วยกันดูแลและใช้ระบบชลประทานร่วมกัน โดยหัวหน้าจะมีหน้าที่ในการแบ่งน้ำไม่มีการแย่งกัน ใช้วิถีแบ่งปันน้ำในการทำเกษตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นอกจากนี้เกษตรกรที่อูบุดยังนิยมเลี้ยงเป็ด หรือที่ชาวบาหลีเรียกว่า BEBEK เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาที่ยังเคร่งครัดอยู่
ไกลออกมาจาก อูบุด ประมาณ 2 ชั่วโมง บริเวณชายหาดสีดำที่ชื่อว่า "คูซัมบา" (Kusamba Beach) มีการทำ "เกลือในวิถีโบราณ" คือชาวบ้านจะทำเกลืออยู่ในกระท่อม ซึ่งปลูกอยู่บนหาด การทำนั้นใช้กรรมวิธีดั้งเดิมและอาศัยธรรมชาติล้วน ๆ นั่นคือ จะลงไปตักน้ำในทะเล ซึ่งชาวบ้านเล่าว่าเป็นน้ำทะเลที่ค่อนข้างสะอาด หลังจากนั้นก็หาบขึ้นมาราดบนทรายดำที่ยกพื้นเตรียมไว้ เมื่อราดเสร็จแล้วก็ตากแดด ทิ้งไว้ 5 - 6 ชั่วโมง ทิ้งไว้จนมีเกล็ดเกลือขึ้นแล้วค่อยตักทรายที่ราดน้ำทะเลไปใส่ในรางไม้ จากนั้นนำน้ำเกลือไปเทในรางไม้มะพร้าวทิ้งไว้จนแห้งก็จะกลายเป็นเกลือขาวบริสุทธิ์ แล้วขูดออกจากรางเพื่อเอาไปขายต่อไป ซึ่งเกลือเหล่านี้เป็นที่ต้องการมาก ไม่ต้องเอาออกไปขายเพราะมีคนมาซื้อถึงที่ โดยเหลือคนทำทั้งเกาะบาหลีไม่กี่ครอบครัว เงินจากการขายเกลือสามารถส่งเสียลูกหลานเรียนหนังสือ รวมถึงเป็นค่าใช้จ่ายประจำวันมายาวนานรุ่นต่อรุ่น
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เรื่องราวของ "เมืองอูบุด" เมืองเล็ก ๆ ทางตอนกลางของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลกเรื่องวิถีและวัฒนธรรมบาหลี จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของอูบุดคือ ธรรมชาติอันงดงามและวิถีเก่าที่ยังแทรกตัวอยู่ท่ามกลางรีสอร์ตอันสวยหรู และเป็นที่พักของนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศของโลก โดยเฉพาะเรื่องการทำเกษตรบนภูเขาที่เรียกว่า "การทำนาขั้นบันได" ที่ต้องอาศัยระบบของการแบ่งปันน้ำ หรือที่เรียกว่า "ซูบัค" (Subak) เรียกง่าย ๆ ว่า สหกรณ์น้ำ โดยชาวบ้านที่นี่จะอยู่ภายใต้ข้อตกลง ซึ่งสมาชิกทุกคนจะเกี่ยวข้าวตามตารางการเพาะปลูกที่ตกลงร่วมกัน ช่วยกันดูแลและใช้ระบบชลประทานร่วมกัน โดยหัวหน้าจะมีหน้าที่ในการแบ่งน้ำไม่มีการแย่งกัน ใช้วิถีแบ่งปันน้ำในการทำเกษตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นอกจากนี้เกษตรกรที่อูบุดยังนิยมเลี้ยงเป็ด หรือที่ชาวบาหลีเรียกว่า BEBEK เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาที่ยังเคร่งครัดอยู่
ไกลออกมาจาก อูบุด ประมาณ 2 ชั่วโมง บริเวณชายหาดสีดำที่ชื่อว่า "คูซัมบา" (Kusamba Beach) มีการทำ "เกลือในวิถีโบราณ" คือชาวบ้านจะทำเกลืออยู่ในกระท่อม ซึ่งปลูกอยู่บนหาด การทำนั้นใช้กรรมวิธีดั้งเดิมและอาศัยธรรมชาติล้วน ๆ นั่นคือ จะลงไปตักน้ำในทะเล ซึ่งชาวบ้านเล่าว่าเป็นน้ำทะเลที่ค่อนข้างสะอาด หลังจากนั้นก็หาบขึ้นมาราดบนทรายดำที่ยกพื้นเตรียมไว้ เมื่อราดเสร็จแล้วก็ตากแดด ทิ้งไว้ 5 - 6 ชั่วโมง ทิ้งไว้จนมีเกล็ดเกลือขึ้นแล้วค่อยตักทรายที่ราดน้ำทะเลไปใส่ในรางไม้ จากนั้นนำน้ำเกลือไปเทในรางไม้มะพร้าวทิ้งไว้จนแห้งก็จะกลายเป็นเกลือขาวบริสุทธิ์ แล้วขูดออกจากรางเพื่อเอาไปขายต่อไป ซึ่งเกลือเหล่านี้เป็นที่ต้องการมาก ไม่ต้องเอาออกไปขายเพราะมีคนมาซื้อถึงที่ โดยเหลือคนทำทั้งเกาะบาหลีไม่กี่ครอบครัว เงินจากการขายเกลือสามารถส่งเสียลูกหลานเรียนหนังสือ รวมถึงเป็นค่าใช้จ่ายประจำวันมายาวนานรุ่นต่อรุ่น
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live