ความสัมพันธ์ของผู้คนในพื้นที่บ้านสระแก้ว อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น ใช้การแลกเปลี่ยนสิ่งของเพื่อตอบสนองในสิ่งที่ตนเองขาด โดยแม่เบา แตกหนองโน และแม่สมบัติ ปริธรรมา สองศรีพี่น้องแห่งบ้านสระแก้ว เล่าให้เราฟังว่าวิถีการแลกเปลี่ยนนี้เป็นวิถีของคนอีสานอย่างแท้จริง โดยเฉพาะที่นี่แม้แต่ "ผ้าไหม" ก็ยังเอามาแลกกันได้ แม่เบาเล่าอีกว่าชาวบ้านทอผ้าไหมเอง ผ้าไหมของคนที่นี่เป็นดั่งผ้าที่มีคุณค่า เป็นสมบัติติดตัว และ "ซิ่นไหม" เหล่านี้จะถูกเก็บไว้เป็น "มรดก" เพื่อส่งต่อให้ลูกหลาน แต่หากถึงคราวจำเป็นเราก็จะนำสมบัติมีค่าชิ้นนี้ไปแลกเปลี่ยนของมา ซึ่งซิ่นไหมสามารถไปแลกได้ของหลายอย่าง เช่น เสื้อ, ผ้าห่ม, ซึ้ง, หม้อ, ขันเงิน และกระติกน้ำ เป็นต้น วิถีการแลกเปลี่ยนนั้นเป็นการแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มาขอแลกกับคนที่ให้แลก ใครมีอะไรก็เอามาแลกแม้แต่ แตงโมและไข่ ก็จะถูกนำมาจากพ่อค้าเพื่อมาแลกเปลี่ยนกับข้าวของคนที่นี่
วิถีการแลกเปลี่ยนที่มีมานานเหล่านี้ ยังก่อให้เกิดอาชีพ "รถแลกเปลี่ยน" อย่างเช่น ผู้ชายที่ชื่อ ชาติฉะกัลป์ ยศคำลือ พ่อค้าปลารถเร่แลกเปลี่ยน สุดยอดคนขยันที่จะขับรถเอา "ปลาไปแลกข้าว" ซึ่งในทุกวันจะออกไปตระเวนขายปลา และเอาปลาไปแลกข้าว ทั้งในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ในรถมีอุปกรณ์การขายปลา เช่น ลังปลา, ตู้แช่, ลำโพง และที่ขาดไม่ได้คือ "เปาะ" หรือตะกร้าใส่ข้าวเปลือกสำหรับแลกข้าว ที่เป็นเสมือนเครื่องชั่งตวงวัดแบบโบราณ ซึ่งหมู่บ้านที่เอาปลาไปแลกนั้น ก็จะเลือกหมู่บ้านที่ทำนาเยอะ ๆ เพราะจะได้มีข้าวมาแลกกับปลา แต่ช่วงเวลาของการแลกนั้น ใน 1 ปีจะแลกกันได้เพียง 6 เดือน เริ่มเดือนพฤศจิกายน - เมษายน แล้วก็หยุดช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เพราะพ่อค้าปลาต้องหยุดไปทำนา
วิถีการแลกเปลี่ยน ก่อเกิดความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มาขอแลกกับคนที่ให้แลก และที่สำคัญสิ่งที่เขาได้รับกลับมาระหว่างกันและกันนั้น มันคือน้ำใจและมิตรภาพ ซึ่งมีค่ากว่าเงินทอง นับเป็นอีกหนึ่งวิถีที่งดงามที่หาได้ยาก แต่ยังดำรงอยู่สืบไปในสังคมที่ต่างคนต่างอยู่ในปัจจุบัน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทางตักบาตรข้าวเหนียว www.thaipbs.or.th/Live
ความสัมพันธ์ของผู้คนในพื้นที่บ้านสระแก้ว อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น ใช้การแลกเปลี่ยนสิ่งของเพื่อตอบสนองในสิ่งที่ตนเองขาด โดยแม่เบา แตกหนองโน และแม่สมบัติ ปริธรรมา สองศรีพี่น้องแห่งบ้านสระแก้ว เล่าให้เราฟังว่าวิถีการแลกเปลี่ยนนี้เป็นวิถีของคนอีสานอย่างแท้จริง โดยเฉพาะที่นี่แม้แต่ "ผ้าไหม" ก็ยังเอามาแลกกันได้ แม่เบาเล่าอีกว่าชาวบ้านทอผ้าไหมเอง ผ้าไหมของคนที่นี่เป็นดั่งผ้าที่มีคุณค่า เป็นสมบัติติดตัว และ "ซิ่นไหม" เหล่านี้จะถูกเก็บไว้เป็น "มรดก" เพื่อส่งต่อให้ลูกหลาน แต่หากถึงคราวจำเป็นเราก็จะนำสมบัติมีค่าชิ้นนี้ไปแลกเปลี่ยนของมา ซึ่งซิ่นไหมสามารถไปแลกได้ของหลายอย่าง เช่น เสื้อ, ผ้าห่ม, ซึ้ง, หม้อ, ขันเงิน และกระติกน้ำ เป็นต้น วิถีการแลกเปลี่ยนนั้นเป็นการแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มาขอแลกกับคนที่ให้แลก ใครมีอะไรก็เอามาแลกแม้แต่ แตงโมและไข่ ก็จะถูกนำมาจากพ่อค้าเพื่อมาแลกเปลี่ยนกับข้าวของคนที่นี่
วิถีการแลกเปลี่ยนที่มีมานานเหล่านี้ ยังก่อให้เกิดอาชีพ "รถแลกเปลี่ยน" อย่างเช่น ผู้ชายที่ชื่อ ชาติฉะกัลป์ ยศคำลือ พ่อค้าปลารถเร่แลกเปลี่ยน สุดยอดคนขยันที่จะขับรถเอา "ปลาไปแลกข้าว" ซึ่งในทุกวันจะออกไปตระเวนขายปลา และเอาปลาไปแลกข้าว ทั้งในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ในรถมีอุปกรณ์การขายปลา เช่น ลังปลา, ตู้แช่, ลำโพง และที่ขาดไม่ได้คือ "เปาะ" หรือตะกร้าใส่ข้าวเปลือกสำหรับแลกข้าว ที่เป็นเสมือนเครื่องชั่งตวงวัดแบบโบราณ ซึ่งหมู่บ้านที่เอาปลาไปแลกนั้น ก็จะเลือกหมู่บ้านที่ทำนาเยอะ ๆ เพราะจะได้มีข้าวมาแลกกับปลา แต่ช่วงเวลาของการแลกนั้น ใน 1 ปีจะแลกกันได้เพียง 6 เดือน เริ่มเดือนพฤศจิกายน - เมษายน แล้วก็หยุดช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เพราะพ่อค้าปลาต้องหยุดไปทำนา
วิถีการแลกเปลี่ยน ก่อเกิดความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มาขอแลกกับคนที่ให้แลก และที่สำคัญสิ่งที่เขาได้รับกลับมาระหว่างกันและกันนั้น มันคือน้ำใจและมิตรภาพ ซึ่งมีค่ากว่าเงินทอง นับเป็นอีกหนึ่งวิถีที่งดงามที่หาได้ยาก แต่ยังดำรงอยู่สืบไปในสังคมที่ต่างคนต่างอยู่ในปัจจุบัน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทางตักบาตรข้าวเหนียว www.thaipbs.or.th/Live