บ้านหนองพิมานเหนือ ต.กระเบื้อง อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ตั้งอยู่ในบริเวณ ทุ่งกุลาร้องไห้ ผืนดินแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดของประเทศไทย พื้นที่ของทุ่งกุลาร้องไห้แห่งนี้มีขนาดใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ถึง 2 เท่าตัว ด้วยเนื้อที่ประมาณ 2 ล้านกว่าไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และยโสธร พื้นที่ของที่นี่จะมี “บ่อน้ำกลางทุ่งนา” ซึ่งบ่อเหล่านี้มีความสำคัญกับชาวบ้านที่ทำนามาก ในฤดูทำนาหากฝนทิ้งช่วงก็จะอาศัยสูบน้ำจากบ่อเข้านาข้าว หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จ บ่อน้ำนี้ก็จะกลายเป็น “ขุมทรัพย์กลางนา” ที่สร้างเงินให้กับชาวบ้าน บ่อน้ำส่วนใหญ่จะถูกประมูลจากคนที่มีอาชีพจับปลา ได้มากน้อยก็จะแตกต่างกันไปแต่ละบ่อ
“ลุงเทพ” คือคนจับปลาแห่งบ้านหนองพิมานเหนือ จ.สุรินทร์ เล่าว่าทุกครั้งก่อนที่จะมีการจับปลา จะต้องมาดูปลาก่อนว่าบ่อนั้นมีปลามากแค่ไหน เคล็ดลับดูปลาในบ่อน้ำ เช่น
1.“โยนก้อนดิน” ลงไปในบ่อ เพื่อให้ปลาตกใจว่ายน้ำขึ้นมาให้เห็น
2. “ดำน้ำ ดมกลิ่นโคลน” เพื่อดูว่ามีกลิ่นปลาชนิดไหน
3. มีคราบขาว “คาวปลา” ติดตามร่างกายหรือไม่ เพื่อดูว่าในน้ำมีปลามากแค่ไหน
4. “วงน้ำกระจาย” เพื่อดูว่าเป็นปลาตัวใหญ่หรือเล็ก
ความน่าสนใจของปลาที่นี่คือ ช่วงฤดูฝนเมื่อน้ำท่วมทุ่ง ปลาจะไหลตามน้ำเข้าไปกินข้าวที่ตกในทุ่งนา ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิ จึงทำให้ปลาที่นี่มีกลิ่นหอม ไม่เหม็นโคลนและมีรสชาติที่หวานอร่อย ปลาที่จับได้จะนำมาขายที่ “ตลาดปลาทางพาด” ซึ่งเป็น “ตลาดปลานาที่ใหญ่ที่สุดในอีสานใต้” ซึ่งตลาดปลานี้จะคึกคักมากในช่วงหลังเก็บเกี่ยว ประมาณเดือน พ.ย. - เม.ย. ของทุกปี
ติดตามเรื่องราววิถีชีวิตการจับปลาใน “บ่อน้ำ” ที่ไม่ได้เป็นเพียงแหล่งน้ำ แต่ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทางตักบาตรข้าวเหนียว www.thaipbs.or.th/Live
บ้านหนองพิมานเหนือ ต.กระเบื้อง อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ตั้งอยู่ในบริเวณ ทุ่งกุลาร้องไห้ ผืนดินแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดของประเทศไทย พื้นที่ของทุ่งกุลาร้องไห้แห่งนี้มีขนาดใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ถึง 2 เท่าตัว ด้วยเนื้อที่ประมาณ 2 ล้านกว่าไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และยโสธร พื้นที่ของที่นี่จะมี “บ่อน้ำกลางทุ่งนา” ซึ่งบ่อเหล่านี้มีความสำคัญกับชาวบ้านที่ทำนามาก ในฤดูทำนาหากฝนทิ้งช่วงก็จะอาศัยสูบน้ำจากบ่อเข้านาข้าว หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จ บ่อน้ำนี้ก็จะกลายเป็น “ขุมทรัพย์กลางนา” ที่สร้างเงินให้กับชาวบ้าน บ่อน้ำส่วนใหญ่จะถูกประมูลจากคนที่มีอาชีพจับปลา ได้มากน้อยก็จะแตกต่างกันไปแต่ละบ่อ
“ลุงเทพ” คือคนจับปลาแห่งบ้านหนองพิมานเหนือ จ.สุรินทร์ เล่าว่าทุกครั้งก่อนที่จะมีการจับปลา จะต้องมาดูปลาก่อนว่าบ่อนั้นมีปลามากแค่ไหน เคล็ดลับดูปลาในบ่อน้ำ เช่น
1.“โยนก้อนดิน” ลงไปในบ่อ เพื่อให้ปลาตกใจว่ายน้ำขึ้นมาให้เห็น
2. “ดำน้ำ ดมกลิ่นโคลน” เพื่อดูว่ามีกลิ่นปลาชนิดไหน
3. มีคราบขาว “คาวปลา” ติดตามร่างกายหรือไม่ เพื่อดูว่าในน้ำมีปลามากแค่ไหน
4. “วงน้ำกระจาย” เพื่อดูว่าเป็นปลาตัวใหญ่หรือเล็ก
ความน่าสนใจของปลาที่นี่คือ ช่วงฤดูฝนเมื่อน้ำท่วมทุ่ง ปลาจะไหลตามน้ำเข้าไปกินข้าวที่ตกในทุ่งนา ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิ จึงทำให้ปลาที่นี่มีกลิ่นหอม ไม่เหม็นโคลนและมีรสชาติที่หวานอร่อย ปลาที่จับได้จะนำมาขายที่ “ตลาดปลาทางพาด” ซึ่งเป็น “ตลาดปลานาที่ใหญ่ที่สุดในอีสานใต้” ซึ่งตลาดปลานี้จะคึกคักมากในช่วงหลังเก็บเกี่ยว ประมาณเดือน พ.ย. - เม.ย. ของทุกปี
ติดตามเรื่องราววิถีชีวิตการจับปลาใน “บ่อน้ำ” ที่ไม่ได้เป็นเพียงแหล่งน้ำ แต่ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทางตักบาตรข้าวเหนียว www.thaipbs.or.th/Live