เรื่องราวของหมู่บ้านซาโห่ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่ตั้งอยู่ที่สูง ไกลจากตัวเมืองเบตงที่เรารู้จัก ประมาณ 22 กิโลเมตร ใครจะเชื่อว่าจะได้พบเห็นกับวิถีการอยู่ร่วมกันของพี่น้องจีนกวางไสกับไทยอีสาน ณ หมู่บ้านใต้สุดของประเทศไทย “บ้านซาโห่” ที่ยังอยู่กันแบบเรียบง่าย แบ่งปันซึ่งกันและกัน อุดมทั้งอาหารจีนและอีสาน มีอาชีพทำสวนยางบนภูเขา ไม่มีไฟ ใช้เทียนไขและแสงตะเกียง แต่กลับเต็มไปด้วยรอยยิ้มและความสุขของผู้คนหากได้มาเยือน
ที่นี่มีความแตกต่างจากตัวเมืองเบตงที่เรารู้จัก เบตงนั้นเป็นเมืองเศรษฐกิจ ผู้คนคึกคัก อาชีพส่วนใหญ่คือการค้าขาย แต่ที่ซาโห่กลับไม่ใช่ ที่นี่ชาวบ้านมีอาชีพกรีดยาง อาศัยอยู่ในบ้านที่เรียกว่า "บ้านกงสี" ซึ่งความหมายก็คือเป็นบ้านของครอบครัว ไม่มีใครที่มีความเป็นเจ้าของชัดเจน การมีอาชีพกรีดยางบนที่สูงของที่นี่ ทำให้ต้องมีวิธีที่พิเศษกว่าที่อื่นในการนำน้ำยางลงมาจากสวน
ที่นี่เรียกว่า "การกลิ้งน้ำยางลงเขา" นั่นคือใช้วิธีเอาน้ำยางใส่ถัง ปิดฝาถังให้สนิท แล้วกลิ้งลงมาจากภูเขา ซึ่งเป็นวิธีที่ชาวบ้านใช้กันมาตลอด มากกว่านั้นบางครอบครัวยังทำยางแผ่นยาว 4 - 5 เมตร ซึ่งน่าจะเป็นยางแผ่นที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เพื่อลดจำนวนแผ่นยางให้น้อยลง เพราะการขนลงมาขายนั้นไม่สะดวกแบบพื้นที่ทั่วไป
ติดตามชมความสุขในวิถีของคนบ้านซาโห่ ในรายการซีรีส์วิถีคน ตอน วิถีใต้สุด บ้านซาโห่ จ.ยะลา วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เรื่องราวของหมู่บ้านซาโห่ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่ตั้งอยู่ที่สูง ไกลจากตัวเมืองเบตงที่เรารู้จัก ประมาณ 22 กิโลเมตร ใครจะเชื่อว่าจะได้พบเห็นกับวิถีการอยู่ร่วมกันของพี่น้องจีนกวางไสกับไทยอีสาน ณ หมู่บ้านใต้สุดของประเทศไทย “บ้านซาโห่” ที่ยังอยู่กันแบบเรียบง่าย แบ่งปันซึ่งกันและกัน อุดมทั้งอาหารจีนและอีสาน มีอาชีพทำสวนยางบนภูเขา ไม่มีไฟ ใช้เทียนไขและแสงตะเกียง แต่กลับเต็มไปด้วยรอยยิ้มและความสุขของผู้คนหากได้มาเยือน
ที่นี่มีความแตกต่างจากตัวเมืองเบตงที่เรารู้จัก เบตงนั้นเป็นเมืองเศรษฐกิจ ผู้คนคึกคัก อาชีพส่วนใหญ่คือการค้าขาย แต่ที่ซาโห่กลับไม่ใช่ ที่นี่ชาวบ้านมีอาชีพกรีดยาง อาศัยอยู่ในบ้านที่เรียกว่า "บ้านกงสี" ซึ่งความหมายก็คือเป็นบ้านของครอบครัว ไม่มีใครที่มีความเป็นเจ้าของชัดเจน การมีอาชีพกรีดยางบนที่สูงของที่นี่ ทำให้ต้องมีวิธีที่พิเศษกว่าที่อื่นในการนำน้ำยางลงมาจากสวน
ที่นี่เรียกว่า "การกลิ้งน้ำยางลงเขา" นั่นคือใช้วิธีเอาน้ำยางใส่ถัง ปิดฝาถังให้สนิท แล้วกลิ้งลงมาจากภูเขา ซึ่งเป็นวิธีที่ชาวบ้านใช้กันมาตลอด มากกว่านั้นบางครอบครัวยังทำยางแผ่นยาว 4 - 5 เมตร ซึ่งน่าจะเป็นยางแผ่นที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เพื่อลดจำนวนแผ่นยางให้น้อยลง เพราะการขนลงมาขายนั้นไม่สะดวกแบบพื้นที่ทั่วไป
ติดตามชมความสุขในวิถีของคนบ้านซาโห่ ในรายการซีรีส์วิถีคน ตอน วิถีใต้สุด บ้านซาโห่ จ.ยะลา วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live