ทุกหมู่บ้านของตำบลน้ำผุด มีสภาพพื้นที่อยู่ติดภูเขา สภาพอากาศจึงชุ่มชื้นตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังเหมาะแก่การเจริญเติบโตของ "ต้นคลุ้ม" ซึ่งถือเป็นพืชท้องถิ่นที่ขึ้นอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในป่า ชาวบ้านจึงได้นำพืชชนิดนี้มาทำเครื่องจักสานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และมีมากเพียงพอที่จะนำมาทำขายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวมานานนับ 100 ปี
ต้นคลุ้ม ที่สามารถตัดมาทำจักสานได้นั้นจะต้องแก่จัดเต็มที่ โดยที่ส่วนยอดจะต้องแตกกิ่งออกประมาณ 3 - 6 ยอด และเมื่อใช้มีดพร้าขูดบริเวณลำต้นต้องเป็นสีแดง แสดงว่าแก่จัด เหมาะที่จะทำมาทำเครื่องจักสาน
ยายเหม็ด และ ตาปอง คนจักสานเก่งประจำหมู่บ้าน สืบทอดมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย สานได้หลากหลายลายโบราณเช่น ลายดอกพิกุล ลายลูกแก้ว ลายกลัด ลายนกพร้าว ซึ่งนำมาทำเป็นของใช้ในครัวเรือนแบบดั้งเดิม เช่น ข้อง, นาง, กระด้ง, สุ่ม, ไซดักปลา, ตะกร้า ชาวบ้านที่นี่ยังนิยมใช้ตะกร้าจากคลุ้มในการใช้ใส่ของทั้งผักผลไม้และใส่ของไปวัด
ผู้ช่วยต้อม ผู้ช่วยกำนัน เล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพทำสวนยาง และที่มากกว่านั้นบางคนมี "สวนยางโบราณ" ที่อยู่บนควนหรือภูเขา เช่น น้าบาว เจ้าของสวนยางโบราณมรดกที่ได้รับจากพ่อแม่ ในสวนมีต้นยางกว่า 300 ต้น บางต้นมีขนาดใหญ่อายุนับ 100 ปี แต่ยังให้ผลผลิตอยู่กรีดยางและเก็บขี้ยาง ขนลงโดยรถมอเตอร์ไซด์ สวนยางโบราณนี้ยังเป็นสวนสมรมด้วย มีผลไม้หลากหลาย ทั้งทุเรียน มังคุด และจำปาดะ
ผู้ช่วยต้อม เล่าว่าในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคมนั้น เป็นช่วงที่สนุกสนานของชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากต้องขึ้นควนเข้าป่าไปหาสิ่งล้ำค่าอย่างหนึ่งของคนที่นี่คือ "ลูกประ" ผลไม้ป่าสำคัญ ที่หนึ่งปีจะได้กินเพียงครั้งเดียว ป่าประมีพื้นที่หลายร้อยไร่ ต้นประแต่ละต้นสูงประมาณ 20 - 40 เมตร มีอายุยืนยาว 400 - 500ปี ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน
หากเมื่อใดที่ลูกยางพาราแตก ชาวบ้านรู้ว่าลูกประตกแล้ว โดยดูแสงแดด วันใดมีแดดออกถือเป็นฤกษ์ดีเพราะลูกประจะแตกและตกมาก คนที่หาลูกประเก่ง เช่น น้าเอียดและป้าเหลือม หลังจากทำงานบ้านกรีดยางเสร็จ ประมาณ 8 - 9 โมง จะขี่มอเตอร์ไซด์ออกจากบ้านไปควนประ ป้าเหลือมบอกว่า การขึ้นไปเก็บลูกประเป็นทั้งความสนุกและความท้าทาย เพราะต้องเดินเก็บบนเขาที่ชันและลื่น หากไม่ระวังอาจจะพลัดตกลงมาบาดเจ็บ คนที่จะขึ้นไปเก็บลูกประในป่าต้องแต่ตัวมิดชิด และขาดไม่ได้ คือ "ข้อง" ใส่ลูกประ แต่ของป้าจะพิเศษคือใส่ในพกผ้าถุง วิธีเก็บก็ไม่ยากไปตามใต้ต้นใต้ต้นประ เมื่อลูกประหล่นก็ใช้มีดเขี่ยหาแล้วเก็บ คนเก็บลุกประบางคนห่อข้าวไปกินด้วย กลับมาอีกที 4 - 5 โมงเย็น เก็บให้ได้เยอะ ๆ เอามาขาย “ลูกประ” สามารถสร้างรายได้ ราคากิโลกรัมละ 70 - 300 บาท ลูกประนิยมนำมาทำได้หลายเมนู ทั้งแกง ต้ม ดอง สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้เป็นปีทีเดียว “ลูกประ” เป็นความสุขปีละครั้งของคน ตำบลน้ำผุดได้อย่างดีทีเดียว ได้ทั้งกินและสร้างรายได้
พบกับเรื่องราววิถีชีวิตของคนกับลูกประ ผลไม้ป่าชนิดนี้สำคัญกับชีวิตพวกเขาอย่างไรและหมู่บ้านแห่งนี้ มีความสุขแค่ไหนกับป่ารอบหมู่บ้าน ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน ตอน วิถีคนน้ำผุด ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2568 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ทุกหมู่บ้านของตำบลน้ำผุด มีสภาพพื้นที่อยู่ติดภูเขา สภาพอากาศจึงชุ่มชื้นตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังเหมาะแก่การเจริญเติบโตของ "ต้นคลุ้ม" ซึ่งถือเป็นพืชท้องถิ่นที่ขึ้นอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในป่า ชาวบ้านจึงได้นำพืชชนิดนี้มาทำเครื่องจักสานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และมีมากเพียงพอที่จะนำมาทำขายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวมานานนับ 100 ปี
ต้นคลุ้ม ที่สามารถตัดมาทำจักสานได้นั้นจะต้องแก่จัดเต็มที่ โดยที่ส่วนยอดจะต้องแตกกิ่งออกประมาณ 3 - 6 ยอด และเมื่อใช้มีดพร้าขูดบริเวณลำต้นต้องเป็นสีแดง แสดงว่าแก่จัด เหมาะที่จะทำมาทำเครื่องจักสาน
ยายเหม็ด และ ตาปอง คนจักสานเก่งประจำหมู่บ้าน สืบทอดมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย สานได้หลากหลายลายโบราณเช่น ลายดอกพิกุล ลายลูกแก้ว ลายกลัด ลายนกพร้าว ซึ่งนำมาทำเป็นของใช้ในครัวเรือนแบบดั้งเดิม เช่น ข้อง, นาง, กระด้ง, สุ่ม, ไซดักปลา, ตะกร้า ชาวบ้านที่นี่ยังนิยมใช้ตะกร้าจากคลุ้มในการใช้ใส่ของทั้งผักผลไม้และใส่ของไปวัด
ผู้ช่วยต้อม ผู้ช่วยกำนัน เล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพทำสวนยาง และที่มากกว่านั้นบางคนมี "สวนยางโบราณ" ที่อยู่บนควนหรือภูเขา เช่น น้าบาว เจ้าของสวนยางโบราณมรดกที่ได้รับจากพ่อแม่ ในสวนมีต้นยางกว่า 300 ต้น บางต้นมีขนาดใหญ่อายุนับ 100 ปี แต่ยังให้ผลผลิตอยู่กรีดยางและเก็บขี้ยาง ขนลงโดยรถมอเตอร์ไซด์ สวนยางโบราณนี้ยังเป็นสวนสมรมด้วย มีผลไม้หลากหลาย ทั้งทุเรียน มังคุด และจำปาดะ
ผู้ช่วยต้อม เล่าว่าในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคมนั้น เป็นช่วงที่สนุกสนานของชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากต้องขึ้นควนเข้าป่าไปหาสิ่งล้ำค่าอย่างหนึ่งของคนที่นี่คือ "ลูกประ" ผลไม้ป่าสำคัญ ที่หนึ่งปีจะได้กินเพียงครั้งเดียว ป่าประมีพื้นที่หลายร้อยไร่ ต้นประแต่ละต้นสูงประมาณ 20 - 40 เมตร มีอายุยืนยาว 400 - 500ปี ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน
หากเมื่อใดที่ลูกยางพาราแตก ชาวบ้านรู้ว่าลูกประตกแล้ว โดยดูแสงแดด วันใดมีแดดออกถือเป็นฤกษ์ดีเพราะลูกประจะแตกและตกมาก คนที่หาลูกประเก่ง เช่น น้าเอียดและป้าเหลือม หลังจากทำงานบ้านกรีดยางเสร็จ ประมาณ 8 - 9 โมง จะขี่มอเตอร์ไซด์ออกจากบ้านไปควนประ ป้าเหลือมบอกว่า การขึ้นไปเก็บลูกประเป็นทั้งความสนุกและความท้าทาย เพราะต้องเดินเก็บบนเขาที่ชันและลื่น หากไม่ระวังอาจจะพลัดตกลงมาบาดเจ็บ คนที่จะขึ้นไปเก็บลูกประในป่าต้องแต่ตัวมิดชิด และขาดไม่ได้ คือ "ข้อง" ใส่ลูกประ แต่ของป้าจะพิเศษคือใส่ในพกผ้าถุง วิธีเก็บก็ไม่ยากไปตามใต้ต้นใต้ต้นประ เมื่อลูกประหล่นก็ใช้มีดเขี่ยหาแล้วเก็บ คนเก็บลุกประบางคนห่อข้าวไปกินด้วย กลับมาอีกที 4 - 5 โมงเย็น เก็บให้ได้เยอะ ๆ เอามาขาย “ลูกประ” สามารถสร้างรายได้ ราคากิโลกรัมละ 70 - 300 บาท ลูกประนิยมนำมาทำได้หลายเมนู ทั้งแกง ต้ม ดอง สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้เป็นปีทีเดียว “ลูกประ” เป็นความสุขปีละครั้งของคน ตำบลน้ำผุดได้อย่างดีทีเดียว ได้ทั้งกินและสร้างรายได้
พบกับเรื่องราววิถีชีวิตของคนกับลูกประ ผลไม้ป่าชนิดนี้สำคัญกับชีวิตพวกเขาอย่างไรและหมู่บ้านแห่งนี้ มีความสุขแค่ไหนกับป่ารอบหมู่บ้าน ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน ตอน วิถีคนน้ำผุด ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2568 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live