หมู่บ้านห้วยต้า ต.นางพญา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนดินช่องเขาขาด เหนือเขื่อนสิริกิติ์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าปลาประมาณ 30 กม. ชาวบ้านประมาณ 150 หลังคาเรือน ประชากรประมาณ 600 คน ชาวบ้านเล่าว่า หมู่บ้านนี้เก่าแก่มากว่า 100 ปี อยู่กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่หลังจากการสร้างเขื่อนทำให้มีน้ำล้อมรอบจนกลายเป็นหมู่บ้านบนเกาะ มานานกว่า 56 ปี แต่ชาวบ้านทุกคนอยู่ได้ ปรับตัวกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ยังอาศัยอยู่ที่เดิม ไม่ย้ายถิ่นฐานไปไหน เพราะมีนา, สวนและที่ทำกินที่นี่
ชาวบ้านบางส่วนที่นี่อาศัยอยู่ใน "เรือนแพ" อย่างเช่น "ปอนด์" ที่อาศัยอยู่กับสามีชาวเรือนแพ ในพื้นที่นี้มีประมาณ 30 กว่าหลัง ซึ่งแพแต่ละหลังนั้นจะมี "ทะเบียนเรือนแพ" การเดินทางเข้า - ออกหมู่บ้านใช้เรือเพียงอย่างเดียว ชาวบ้านแทบทุกหลังคาจึงมีเรือส่วนตัว เพราะต้องใช้ขนส่งสินค้าและเดินทาง ซึ่งระยะเวลาเดินทางโดยเรือ (ขนาดเล็ก) จะใช้เวลาเดินทาง ไป 1 ชม. กลับ 1 ชม. เรือใหญ่ (บรรจุผู้โดยสาร 30 คน) จะใช้เวลาไปกลับ 3 ชม.
พื้นที่ทำกินของชาวบ้านส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่สวน โดยเฉพาะสวนผลไม้ และผลไม้ที่สำคัญที่สุดก็น่าจะคือ "ทุเรียน" ซึ่งปลูกไว้บนภูเขาสูง ทุกเช้าเย็นชาวบ้านจะตัดทุเรียนที่ปลูกไว้บนเขา และขนลงมาด้วยรถมอเตอร์ไซค์, รถอีหอบ, รสอีแต๊ก ออกจากสวน เพื่อมาลงเรือที่ท่าเรือหมู่บ้าน จากนั้นจะขนทุเรียนไปขายด้วยเรือ ซึ่งต้องฝ่าสายน้ำและโต้กับคลื่นลม โดยจะมีลูกค้ามารอซื้อถึงท่าเรือ ถือเป็นความโชคดีของชาวบ้าน ก็อาจจะพูดได้เพราะว่าดินที่ดีและเหมาะ สำหรับการปลูกทุเรียน ทำให้ชาวบ้านที่นี่นอกจากมีทุเรียนรสชาติดีไว้กินแล้วยังสามารถส่งขายได้ด้วย
ภูเขาสูง คลื่นลมและผืนน้ำกว้างใหญ่ ไม่ใช่อุปสรรคในการขนทุเรียนไปขายของคนที่นี่ "คนเหนือเขื่อน" พบกับวิถีของคนบ้านห้วยต้า ในรายการซีรีส์วิถีคน ตอน วิถีคนบ้านห้วยต้า อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
หมู่บ้านห้วยต้า ต.นางพญา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนดินช่องเขาขาด เหนือเขื่อนสิริกิติ์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าปลาประมาณ 30 กม. ชาวบ้านประมาณ 150 หลังคาเรือน ประชากรประมาณ 600 คน ชาวบ้านเล่าว่า หมู่บ้านนี้เก่าแก่มากว่า 100 ปี อยู่กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่หลังจากการสร้างเขื่อนทำให้มีน้ำล้อมรอบจนกลายเป็นหมู่บ้านบนเกาะ มานานกว่า 56 ปี แต่ชาวบ้านทุกคนอยู่ได้ ปรับตัวกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ยังอาศัยอยู่ที่เดิม ไม่ย้ายถิ่นฐานไปไหน เพราะมีนา, สวนและที่ทำกินที่นี่
ชาวบ้านบางส่วนที่นี่อาศัยอยู่ใน "เรือนแพ" อย่างเช่น "ปอนด์" ที่อาศัยอยู่กับสามีชาวเรือนแพ ในพื้นที่นี้มีประมาณ 30 กว่าหลัง ซึ่งแพแต่ละหลังนั้นจะมี "ทะเบียนเรือนแพ" การเดินทางเข้า - ออกหมู่บ้านใช้เรือเพียงอย่างเดียว ชาวบ้านแทบทุกหลังคาจึงมีเรือส่วนตัว เพราะต้องใช้ขนส่งสินค้าและเดินทาง ซึ่งระยะเวลาเดินทางโดยเรือ (ขนาดเล็ก) จะใช้เวลาเดินทาง ไป 1 ชม. กลับ 1 ชม. เรือใหญ่ (บรรจุผู้โดยสาร 30 คน) จะใช้เวลาไปกลับ 3 ชม.
พื้นที่ทำกินของชาวบ้านส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่สวน โดยเฉพาะสวนผลไม้ และผลไม้ที่สำคัญที่สุดก็น่าจะคือ "ทุเรียน" ซึ่งปลูกไว้บนภูเขาสูง ทุกเช้าเย็นชาวบ้านจะตัดทุเรียนที่ปลูกไว้บนเขา และขนลงมาด้วยรถมอเตอร์ไซค์, รถอีหอบ, รสอีแต๊ก ออกจากสวน เพื่อมาลงเรือที่ท่าเรือหมู่บ้าน จากนั้นจะขนทุเรียนไปขายด้วยเรือ ซึ่งต้องฝ่าสายน้ำและโต้กับคลื่นลม โดยจะมีลูกค้ามารอซื้อถึงท่าเรือ ถือเป็นความโชคดีของชาวบ้าน ก็อาจจะพูดได้เพราะว่าดินที่ดีและเหมาะ สำหรับการปลูกทุเรียน ทำให้ชาวบ้านที่นี่นอกจากมีทุเรียนรสชาติดีไว้กินแล้วยังสามารถส่งขายได้ด้วย
ภูเขาสูง คลื่นลมและผืนน้ำกว้างใหญ่ ไม่ใช่อุปสรรคในการขนทุเรียนไปขายของคนที่นี่ "คนเหนือเขื่อน" พบกับวิถีของคนบ้านห้วยต้า ในรายการซีรีส์วิถีคน ตอน วิถีคนบ้านห้วยต้า อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live