ที่อำเภอมางทึ้ด จังหวัดหวิญล็อง อยู่ทางภาคใต้ของประเทศเวียดนาม ที่นี่เป็นหมู่บ้านที่ทำอิฐแดงแบบดั้งเดิมใหญ่ที่สุด ที่นี่ได้รับขนานนามว่า "อาณาจักรเตาอิฐโบราณ" เป็นหมู่บ้านผลิตอิฐแดง ที่มีชื่อเสียงของประเทศ สมัยก่อนนี่มีโรงทำอิฐแดงกว่า 1,000 แห่ง เรียงรายไปตามริมแม่น้ำ ปัจจุบันเหลือประมาณ 10 กว่าเตาสร้างเรียงรายริมแม่น้ำในแถบนี้
"เตาอิฐโบราณ" ที่นี่มีลักษณะคล้ายสถูปเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ สูงประมาณ 13 - 14 เมตร ภายในเตาโค้งเป็นรูปวงกลมจากใหญ่ไปสู่เล็ก ข้างบนยอดมีรูระบายอากาศ เมื่อเข้าไปข้างในเหมือนอยู่ในถ้ำ เตาอิฐเหล่านี้เก่าแก่เพราะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่ละเตาอายุมากกว่า 30 ปี บางเตาเก่าแก่นับ 100 ปีแต่ก็ชำรุดซ่อมไม่ได้ต้องปล่อยทิ้งร้าง
วิถีของคนทำอิฐแบบดั้งเดิม จะเริ่มตั้งแต่เช้า เมื่อเดินเข้ามาในหมู่บ้านจะเห็นชาวบ้านจะเริ่มปั้นดิน เผาก้อนอิฐ จนได้ที่ก็จะนำมาตากแดดรอการขาย ดินเหนียว ที่เป็นหัวใจหลักในการทำอิฐนั้น มีความพิเศษเกิดจากตะกอนดินที่ไหลจากแม่น้ำโขงมาทับถมกัน ทำให้อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ ทำให้เมื่อเผาแล้วอิฐจะสวย และแกร่งทนทาน
คนที่สำคัญในการเผาอิฐคือ "คนเฝ้าเตา" เพราะจะเป็นผู้รักษาไฟให้ได้อุณหภูมิต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ซึ่งการเผาอิฐใช้เวลาตั้งแต่เผาจนขายประมาณ 45 วัน ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงในการเผาอย่างเดียว และที่เตาเผาอิฐจะมี "ศาลเตา" เป็นดั่งเจ้าที่ปกปักรักษาเตา ทุกเช้าเย็นจะมีคนจุดธูปไหว้เตาเชื่อว่าเพื่อขอให้การเผาอิฐได้ผลดีเสร็จเร็ว เตาอิฐใหญ่สามารถบรรจุอิฐได้นับแสนก้อน บางเตาได้เกือบ 5 แสนก้อนเลยทีเดียว
ด้วยอิฐที่นี่มีเอกลักษณ์คือมีคุณภาพที่ดีที่สุดเพราะ ทำแบบโบราณ, ใช้เวลานานในการเผา, ดินที่เอามาอิฐมีคุณภาพดี ทำให้อิฐที่นี่เป็นที่ต้องการแทบจะไม่พอขาย การทำอิฐสร้างอาชีพให้คนแถวนี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็สามารถทำได้หมด มีการขายทั้งทางบก และทางเรือที่เรายังเห็นว่า เรือขนอิฐยังถูกใช้งานอยู่บ้าง แม้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา
วิถีการกินข้าวเกรียบเวียดนามที่เรียกว่า "บั๋นตร๊าง" ของกินประจำท้องถิ่นที่ขาดไม่ได้ ซึ่งมีหลากหลายชนิด และยังมีวิธีทำแบบโบราณ ซึ่งคนทำส่วนใหญ่สืบทอดอาชีพนี้มาจากพ่อแม่
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ที่อำเภอมางทึ้ด จังหวัดหวิญล็อง อยู่ทางภาคใต้ของประเทศเวียดนาม ที่นี่เป็นหมู่บ้านที่ทำอิฐแดงแบบดั้งเดิมใหญ่ที่สุด ที่นี่ได้รับขนานนามว่า "อาณาจักรเตาอิฐโบราณ" เป็นหมู่บ้านผลิตอิฐแดง ที่มีชื่อเสียงของประเทศ สมัยก่อนนี่มีโรงทำอิฐแดงกว่า 1,000 แห่ง เรียงรายไปตามริมแม่น้ำ ปัจจุบันเหลือประมาณ 10 กว่าเตาสร้างเรียงรายริมแม่น้ำในแถบนี้
"เตาอิฐโบราณ" ที่นี่มีลักษณะคล้ายสถูปเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ สูงประมาณ 13 - 14 เมตร ภายในเตาโค้งเป็นรูปวงกลมจากใหญ่ไปสู่เล็ก ข้างบนยอดมีรูระบายอากาศ เมื่อเข้าไปข้างในเหมือนอยู่ในถ้ำ เตาอิฐเหล่านี้เก่าแก่เพราะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่ละเตาอายุมากกว่า 30 ปี บางเตาเก่าแก่นับ 100 ปีแต่ก็ชำรุดซ่อมไม่ได้ต้องปล่อยทิ้งร้าง
วิถีของคนทำอิฐแบบดั้งเดิม จะเริ่มตั้งแต่เช้า เมื่อเดินเข้ามาในหมู่บ้านจะเห็นชาวบ้านจะเริ่มปั้นดิน เผาก้อนอิฐ จนได้ที่ก็จะนำมาตากแดดรอการขาย ดินเหนียว ที่เป็นหัวใจหลักในการทำอิฐนั้น มีความพิเศษเกิดจากตะกอนดินที่ไหลจากแม่น้ำโขงมาทับถมกัน ทำให้อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ ทำให้เมื่อเผาแล้วอิฐจะสวย และแกร่งทนทาน
คนที่สำคัญในการเผาอิฐคือ "คนเฝ้าเตา" เพราะจะเป็นผู้รักษาไฟให้ได้อุณหภูมิต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ซึ่งการเผาอิฐใช้เวลาตั้งแต่เผาจนขายประมาณ 45 วัน ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงในการเผาอย่างเดียว และที่เตาเผาอิฐจะมี "ศาลเตา" เป็นดั่งเจ้าที่ปกปักรักษาเตา ทุกเช้าเย็นจะมีคนจุดธูปไหว้เตาเชื่อว่าเพื่อขอให้การเผาอิฐได้ผลดีเสร็จเร็ว เตาอิฐใหญ่สามารถบรรจุอิฐได้นับแสนก้อน บางเตาได้เกือบ 5 แสนก้อนเลยทีเดียว
ด้วยอิฐที่นี่มีเอกลักษณ์คือมีคุณภาพที่ดีที่สุดเพราะ ทำแบบโบราณ, ใช้เวลานานในการเผา, ดินที่เอามาอิฐมีคุณภาพดี ทำให้อิฐที่นี่เป็นที่ต้องการแทบจะไม่พอขาย การทำอิฐสร้างอาชีพให้คนแถวนี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็สามารถทำได้หมด มีการขายทั้งทางบก และทางเรือที่เรายังเห็นว่า เรือขนอิฐยังถูกใช้งานอยู่บ้าง แม้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา
วิถีการกินข้าวเกรียบเวียดนามที่เรียกว่า "บั๋นตร๊าง" ของกินประจำท้องถิ่นที่ขาดไม่ได้ ซึ่งมีหลากหลายชนิด และยังมีวิธีทำแบบโบราณ ซึ่งคนทำส่วนใหญ่สืบทอดอาชีพนี้มาจากพ่อแม่
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live