บ้านหนองแข้ ต.จุมจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำดี จากลำห้วยจุมจัง และดินที่มีคุณภาพสามารถเพาะปลูกได้ทั้งข้าว ถั่วลิสง มันสำปะหลัง และอ้อย ซึ่งพืชเหล่านี้เป็นทั้งอาหาร และรายได้ของผู้คนที่นี่มาอย่างยาวนาน
โดยเฉพาะอ้อย ซึ่งมีพื้นที่ปลูกค่อนข้างมาก ทั้งเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรม และเพื่อทำ "น้ำอ้อยก้อน" ซึ่งการทำน้ำอ้อยก้อนนั้น ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตหนึ่งของคนบ้านหนองแข้ มานานนับร้อยปี
การทำน้ำอ้อยก้อนจะทำครั้งเดียว ในระยะเวลา 3 - 4 เดือนหลังเกี่ยวข้าว คือ ประมาณเดือนธันวาคม - เมษายน ครอบครัวที่ทำน้ำอ้อยต้องไปกินอยู่หลับนอนที่ "ทับอ้อย" ใช้ชีวิตนอนหนึ่งทุ่ม ตื่นตีหนึ่ง เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ต้องใช้แรงงาน และเวลาที่ต่อเนื่องยาวนาน นับจากการหีบ ต้ม เคี่ยว และเทใส่แม่พิมพ์ให้เป็นก้อน บรรจุใส่ "กะทอ" เพื่อขายให้พ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง ส่วนช่วงบ่ายจะออกไปตัดและขนนำเข้ามาเตรียมไว้ในทับอ้อย โดยในแต่ละวันจะทำหมุนเวียนแทบไม่มีวันหยุด ขั้นตอนต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ยังมีอุปกรณ์ และวิธีการดั้งเดิมเกือบทั้งหมด
คนบ้านหนองแข้บอกว่า น้ำอ้อยก้อนเป็นทั้งของกินประจำบ้าน และเป็นรายได้ในฤดูแล้ง การทำแม้จะเหนื่อยล้า แต่คุ้มค่า เพราะสามารถสร้างรายได้มากกว่าการขายอ้อยสด ถึง 3 เท่า
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านหนองแข้ ต.จุมจัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำดี จากลำห้วยจุมจัง และดินที่มีคุณภาพสามารถเพาะปลูกได้ทั้งข้าว ถั่วลิสง มันสำปะหลัง และอ้อย ซึ่งพืชเหล่านี้เป็นทั้งอาหาร และรายได้ของผู้คนที่นี่มาอย่างยาวนาน
โดยเฉพาะอ้อย ซึ่งมีพื้นที่ปลูกค่อนข้างมาก ทั้งเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรม และเพื่อทำ "น้ำอ้อยก้อน" ซึ่งการทำน้ำอ้อยก้อนนั้น ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตหนึ่งของคนบ้านหนองแข้ มานานนับร้อยปี
การทำน้ำอ้อยก้อนจะทำครั้งเดียว ในระยะเวลา 3 - 4 เดือนหลังเกี่ยวข้าว คือ ประมาณเดือนธันวาคม - เมษายน ครอบครัวที่ทำน้ำอ้อยต้องไปกินอยู่หลับนอนที่ "ทับอ้อย" ใช้ชีวิตนอนหนึ่งทุ่ม ตื่นตีหนึ่ง เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ต้องใช้แรงงาน และเวลาที่ต่อเนื่องยาวนาน นับจากการหีบ ต้ม เคี่ยว และเทใส่แม่พิมพ์ให้เป็นก้อน บรรจุใส่ "กะทอ" เพื่อขายให้พ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง ส่วนช่วงบ่ายจะออกไปตัดและขนนำเข้ามาเตรียมไว้ในทับอ้อย โดยในแต่ละวันจะทำหมุนเวียนแทบไม่มีวันหยุด ขั้นตอนต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ยังมีอุปกรณ์ และวิธีการดั้งเดิมเกือบทั้งหมด
คนบ้านหนองแข้บอกว่า น้ำอ้อยก้อนเป็นทั้งของกินประจำบ้าน และเป็นรายได้ในฤดูแล้ง การทำแม้จะเหนื่อยล้า แต่คุ้มค่า เพราะสามารถสร้างรายได้มากกว่าการขายอ้อยสด ถึง 3 เท่า
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live