"ไฟฟ้า" เป็นพลังงานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตของเรา รวมทั้งขับเคลื่อนภาคการผลิตต่าง ๆ ให้เดินหน้าต่อไปได้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ ด้วยการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) ซึ่งเป็นแผนระยะยาว 20 ปี มีการทบทวนเพื่อปรับปรุงใหม่ในทุก ๆ 2 ปี และแผนปัจจุบันที่เราใช้อยู่ คือ แผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1
แผน PDP มีความสำคัญ เพราะหากมีการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าอย่างแม่นยำจะทำให้การขยายกำลังการผลิตไฟฟ้านั้นเหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการไฟฟ้า แต่หากขยายกำลังไปมากเกินความจำเป็น หรือสำรองกำลังการผลิตล้นเกินไปมาก ก็จะส่งผลกระทบให้ประชาชนผู้ใช้ไฟต้องรับเป็นภาระค่าไฟฟ้าที่สูงตามไปด้วย
ปีล่าสุด 2567 ไทยร้อนทะลุสูงสุดทำสถิติการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งที่ 3 ในรอบปี ในค่ำวันที่ 29 เม.ย. 2567 ยอดสูงสุดพุ่งถึง 36,699 เมกะวัตต์ ท่ามกลางอุณหภูมิสูงสุด 44 องศา ขณะที่กระทรวงพลังงานติดตามสำรองไฟฟ้าใกล้ชิด ยืนยันไฟฟ้ามีเพียงพอ เหลือสำรองไฟฟ้าถึง 25.8%
ในขณะที่การเดินหน้าโรดแมปมุ่งสู่ Net Zero ทำให้ไทยอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan : NEP) ซึ่งเป็นแผนภาพรวมด้านพลังงานของประเทศ ที่มุ่งสู่พลังงานสะอาด บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 - 2070 หรือปี พ.ศ. 2608 - 2613
การพิจารณาเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในรูปแบบต่าง ๆ และปรับลดสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมทั้งวางแผนเพื่อนำพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบอย่างเหมาะสม จึงเป็นความหวังของ "แผน PDP ใหม่" ที่คาดว่าจะถูกเปิดให้รับฟังความคิดเห็นภายในปี 2567 นี้ ก่อนรวมเป็นส่วนหนึ่งของแผนพลังงานชาติ และนั่นคือความหวังที่มาเปลี่ยนแปลงตัวเลขในบิลค่าไฟที่คนไทยต้องแบกรับ
ชวนอ่านรายละเอียดเนื้อหาจากวงเสวนาฟังเสียงประเทศไทย และผลโหวตฉากทัศน์แผน PDP แบบไหนที่คนไทยอยากให้เป็น ได้ที่นี่
นี่คือโจทย์ที่ชวนทุกท่านมาร่วมรับฟังข้อเสนอ และโอกาสความเป็นไปได้ กับรายการฟังเสียงประเทศไทย ตอน แผน PDP แบบไหน ที่ทำให้พลเมืองไม่ต้องกลัวบิลค่าไฟ ในรายการฟังเสียงประเทศไทย วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม 2567 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
"ไฟฟ้า" เป็นพลังงานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตของเรา รวมทั้งขับเคลื่อนภาคการผลิตต่าง ๆ ให้เดินหน้าต่อไปได้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ ด้วยการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) ซึ่งเป็นแผนระยะยาว 20 ปี มีการทบทวนเพื่อปรับปรุงใหม่ในทุก ๆ 2 ปี และแผนปัจจุบันที่เราใช้อยู่ คือ แผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1
แผน PDP มีความสำคัญ เพราะหากมีการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าอย่างแม่นยำจะทำให้การขยายกำลังการผลิตไฟฟ้านั้นเหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการไฟฟ้า แต่หากขยายกำลังไปมากเกินความจำเป็น หรือสำรองกำลังการผลิตล้นเกินไปมาก ก็จะส่งผลกระทบให้ประชาชนผู้ใช้ไฟต้องรับเป็นภาระค่าไฟฟ้าที่สูงตามไปด้วย
ปีล่าสุด 2567 ไทยร้อนทะลุสูงสุดทำสถิติการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งที่ 3 ในรอบปี ในค่ำวันที่ 29 เม.ย. 2567 ยอดสูงสุดพุ่งถึง 36,699 เมกะวัตต์ ท่ามกลางอุณหภูมิสูงสุด 44 องศา ขณะที่กระทรวงพลังงานติดตามสำรองไฟฟ้าใกล้ชิด ยืนยันไฟฟ้ามีเพียงพอ เหลือสำรองไฟฟ้าถึง 25.8%
ในขณะที่การเดินหน้าโรดแมปมุ่งสู่ Net Zero ทำให้ไทยอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan : NEP) ซึ่งเป็นแผนภาพรวมด้านพลังงานของประเทศ ที่มุ่งสู่พลังงานสะอาด บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 - 2070 หรือปี พ.ศ. 2608 - 2613
การพิจารณาเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในรูปแบบต่าง ๆ และปรับลดสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมทั้งวางแผนเพื่อนำพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบอย่างเหมาะสม จึงเป็นความหวังของ "แผน PDP ใหม่" ที่คาดว่าจะถูกเปิดให้รับฟังความคิดเห็นภายในปี 2567 นี้ ก่อนรวมเป็นส่วนหนึ่งของแผนพลังงานชาติ และนั่นคือความหวังที่มาเปลี่ยนแปลงตัวเลขในบิลค่าไฟที่คนไทยต้องแบกรับ
ชวนอ่านรายละเอียดเนื้อหาจากวงเสวนาฟังเสียงประเทศไทย และผลโหวตฉากทัศน์แผน PDP แบบไหนที่คนไทยอยากให้เป็น ได้ที่นี่
นี่คือโจทย์ที่ชวนทุกท่านมาร่วมรับฟังข้อเสนอ และโอกาสความเป็นไปได้ กับรายการฟังเสียงประเทศไทย ตอน แผน PDP แบบไหน ที่ทำให้พลเมืองไม่ต้องกลัวบิลค่าไฟ ในรายการฟังเสียงประเทศไทย วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม 2567 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live