ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ
Thailand Fantastic
5 ก.ย. 64

***สารคดี "Thailand Fantastic" มีการจำกัดระยะเวลาที่ให้บริการชมย้อนหลัง เนื่องด้วยเงื่อนไขด้านลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ ท่านสามารถรับชมตอน "Into The Realm of Lagoon" ย้อนหลังได้ ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. 64 - 5 ก.ย. 65 และรับชมได้บนเว็บไซต์นี้เท่านั้น***

"ทะเลน้อย" คือทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ตอนบนสุดของทะเลสาบสงขลา โดยมีทะเลหลวงในเขตจังหวัดพัทลุงกั้นกลาง และทะเลสาบคูขุดที่อยู่ทางใต้ในเขตจังหวัดสงขลา มีอาณาเขตครอบคลุม 3 จังหวัดคือ พัทลุง, สงขลา และนครศรีธรรมราช

นอกจากได้รับการประกาศเป็น "เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย" แล้ว ยังเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ จนได้รับการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือ "แรมซาร์ไซต์" (Ramsar Site) แห่งแรกในเมืองไทย ทะเลน้อยจึงเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ายิ่ง ที่มีพืชน้ำทั้งบัวสาย, บัวหลวง, กระจูด, หญ้าน้ำกก, ปรือ, กง และสาหร่ายหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งยังเป็นแหล่งทำรังวางไข่ของนกนานาชนิดอีกด้วย และที่แห่งนี้ยังเป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับคลองอีกหลายสายที่ไหลมาบรรจบกัน หนึ่งในนั้นก็คือคลองขนาดใหญ่อย่าง "คลองปากประ" ที่ไม่ได้มีความน่าสนใจในแง่ของธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวเพื่อถ่ายภาพความงดงามของดวงอาทิตย์เพียงเท่านั้น แต่บริบททางภูมิศาสตร์, ธรรมชาติ และฤดูกาล ยังก่อกำเนิดอารยะธรรม, วิถีชีวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี และอัตลักษณ์ของผู้คนที่ผูกพันและขึ้นต่อฤดูกาลแห่งสายน้ำที่น่าสนใจอีกมากมาย

"ทะเลน้อย" และ "คลองปากประ" จึงเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตอาหารและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณปากประ - ทะเลน้อย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ภาพชีวิตของผู้ชายชาวบ้านที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน กับวิถีการเลี้ยงควายน้ำ วิถียอยักษ์ วิถีการทำประมงสองฝั่ง ที่มีวิธีการภูมิปัญญาในการจับและชนิดของสัตว์น้ำที่แตกต่างกัน การพึ่งพาหากินในป่าพรุ ในขณะที่ฝ่ายหญิงก็ดูแลจัดการหัตถกรรมสานเสื่อกระจูด และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกระจูด การทำแป้งจากต้นสาคู การเลี้ยงด้วงสาคู การปลูกข้าวทำนาริมทะเลสาบ จนถึงการแปรรูปปลาที่จับมาได้เพื่อจะเก็บไว้กินต่อไป

ใกล้ประเพณีชักพระที่เกิดขึ้นช่วงเดือนตุลาคม ในขณะที่หมู่บ้านอื่นต่างตระเตรียมสร้างเรือพระ ซึ่งเมื่อถึงเวลาชาวบ้านจะต้องร่วมมือร่วมใจลากเรือพระไปประกวดแข่งขันแต่ละหมู่บ้านริมหาดลำปำ และการแข่งขันตีตะโพนประชันเสียงที่จัดเป็นประจำทุกปีของจังหวัดพัทลุง เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้วที่เสียงตะโพนไม่ได้ดังมาจากหมู่บ้านปากประ พวกเขาช่วยกันรื้อฟื้นสืบสานประเพณี, วัฒนธรรม, ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของชุมชนที่มีมานานไม่ให้หายไป นั่นคือการทำตะโพน ชาวบ้านชายหญิงต่างสละเวลาช่วงว่างจากงานมาลงมือช่วยกันตามสิ่งที่ตัวเองถนัด รวมไปถึงเหล่าบรรดาเด็ก ๆ ต่างตื่นเต้นที่หมู่บ้านปากประของพวกเขาจะมีเสียงตะโพนดังไปไกลประชันหมู่บ้านอื่น เป้าหมายของพวกเขาต่างไปในทิศทางเดียวกัน คือต้องการรักษาวัฒนธรรมไว้ให้ลูกหลานได้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนให้คงอยู่สืบไป

ในช่วงฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน วิถีชีวิตการดำรงชีวิตของชาวบ้าน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นทั้งหมดถูกปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาลที่เกิดขึ้น พวกเขาคุ้นเคยและสัมผัสได้ด้วยกลิ่นและลมที่พัดผ่านมากระทบ จนเมื่อการมาถึงในช่วงฤดูฝน ที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม - มกราคม เป็นช่วงที่มรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์ที่พึ่งพิงและอาศัยอยู่สถานที่แห่งนี้ก็ปรับเปลี่ยนไปตามวงจร ทะเลสาบแห่งนี้เกี่ยวพันกับพวกเขาตั้งแต่เกิดจนตาย

ฤดูกาลธรรมชาติต่างทำให้เกิดการหากินที่ต่างกัน สภาพพื้นที่ที่ต่างกัน ความน่าสนใจของการผลิตเครื่องมือเพื่อประกอบอาชีพประมงเลี้ยงชีวิตก็ต่างกันเช่นกัน ภาพชีวิตของผู้คนที่ผูกโยงการดำรงชีวิตกับปฏิทินตามฤดูกาลที่ปรับเปลี่ยนไปตามธรรมชาติ พวกเขามีวิธีรับมือและมีวิถีชีวิตอยู่กับฤดูน้ำหลากที่เกิดขึ้นในทุกปีอย่างไรให้มีความสุขกับ "ทะเลสาบแห่งชีวิต" แห่งนี้ คงเป็นพวกเขาเท่านั้นที่ให้คำตอบได้

ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "Thailand Fantastic" วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

Into The Realm of Lagoon

5 ก.ย. 64

***สารคดี "Thailand Fantastic" มีการจำกัดระยะเวลาที่ให้บริการชมย้อนหลัง เนื่องด้วยเงื่อนไขด้านลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ ท่านสามารถรับชมตอน "Into The Realm of Lagoon" ย้อนหลังได้ ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. 64 - 5 ก.ย. 65 และรับชมได้บนเว็บไซต์นี้เท่านั้น***

"ทะเลน้อย" คือทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ตอนบนสุดของทะเลสาบสงขลา โดยมีทะเลหลวงในเขตจังหวัดพัทลุงกั้นกลาง และทะเลสาบคูขุดที่อยู่ทางใต้ในเขตจังหวัดสงขลา มีอาณาเขตครอบคลุม 3 จังหวัดคือ พัทลุง, สงขลา และนครศรีธรรมราช

นอกจากได้รับการประกาศเป็น "เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย" แล้ว ยังเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ จนได้รับการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือ "แรมซาร์ไซต์" (Ramsar Site) แห่งแรกในเมืองไทย ทะเลน้อยจึงเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ายิ่ง ที่มีพืชน้ำทั้งบัวสาย, บัวหลวง, กระจูด, หญ้าน้ำกก, ปรือ, กง และสาหร่ายหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งยังเป็นแหล่งทำรังวางไข่ของนกนานาชนิดอีกด้วย และที่แห่งนี้ยังเป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับคลองอีกหลายสายที่ไหลมาบรรจบกัน หนึ่งในนั้นก็คือคลองขนาดใหญ่อย่าง "คลองปากประ" ที่ไม่ได้มีความน่าสนใจในแง่ของธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวเพื่อถ่ายภาพความงดงามของดวงอาทิตย์เพียงเท่านั้น แต่บริบททางภูมิศาสตร์, ธรรมชาติ และฤดูกาล ยังก่อกำเนิดอารยะธรรม, วิถีชีวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี และอัตลักษณ์ของผู้คนที่ผูกพันและขึ้นต่อฤดูกาลแห่งสายน้ำที่น่าสนใจอีกมากมาย

"ทะเลน้อย" และ "คลองปากประ" จึงเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตอาหารและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณปากประ - ทะเลน้อย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ภาพชีวิตของผู้ชายชาวบ้านที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน กับวิถีการเลี้ยงควายน้ำ วิถียอยักษ์ วิถีการทำประมงสองฝั่ง ที่มีวิธีการภูมิปัญญาในการจับและชนิดของสัตว์น้ำที่แตกต่างกัน การพึ่งพาหากินในป่าพรุ ในขณะที่ฝ่ายหญิงก็ดูแลจัดการหัตถกรรมสานเสื่อกระจูด และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกระจูด การทำแป้งจากต้นสาคู การเลี้ยงด้วงสาคู การปลูกข้าวทำนาริมทะเลสาบ จนถึงการแปรรูปปลาที่จับมาได้เพื่อจะเก็บไว้กินต่อไป

ใกล้ประเพณีชักพระที่เกิดขึ้นช่วงเดือนตุลาคม ในขณะที่หมู่บ้านอื่นต่างตระเตรียมสร้างเรือพระ ซึ่งเมื่อถึงเวลาชาวบ้านจะต้องร่วมมือร่วมใจลากเรือพระไปประกวดแข่งขันแต่ละหมู่บ้านริมหาดลำปำ และการแข่งขันตีตะโพนประชันเสียงที่จัดเป็นประจำทุกปีของจังหวัดพัทลุง เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้วที่เสียงตะโพนไม่ได้ดังมาจากหมู่บ้านปากประ พวกเขาช่วยกันรื้อฟื้นสืบสานประเพณี, วัฒนธรรม, ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของชุมชนที่มีมานานไม่ให้หายไป นั่นคือการทำตะโพน ชาวบ้านชายหญิงต่างสละเวลาช่วงว่างจากงานมาลงมือช่วยกันตามสิ่งที่ตัวเองถนัด รวมไปถึงเหล่าบรรดาเด็ก ๆ ต่างตื่นเต้นที่หมู่บ้านปากประของพวกเขาจะมีเสียงตะโพนดังไปไกลประชันหมู่บ้านอื่น เป้าหมายของพวกเขาต่างไปในทิศทางเดียวกัน คือต้องการรักษาวัฒนธรรมไว้ให้ลูกหลานได้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนให้คงอยู่สืบไป

ในช่วงฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน วิถีชีวิตการดำรงชีวิตของชาวบ้าน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นทั้งหมดถูกปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาลที่เกิดขึ้น พวกเขาคุ้นเคยและสัมผัสได้ด้วยกลิ่นและลมที่พัดผ่านมากระทบ จนเมื่อการมาถึงในช่วงฤดูฝน ที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม - มกราคม เป็นช่วงที่มรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์ที่พึ่งพิงและอาศัยอยู่สถานที่แห่งนี้ก็ปรับเปลี่ยนไปตามวงจร ทะเลสาบแห่งนี้เกี่ยวพันกับพวกเขาตั้งแต่เกิดจนตาย

ฤดูกาลธรรมชาติต่างทำให้เกิดการหากินที่ต่างกัน สภาพพื้นที่ที่ต่างกัน ความน่าสนใจของการผลิตเครื่องมือเพื่อประกอบอาชีพประมงเลี้ยงชีวิตก็ต่างกันเช่นกัน ภาพชีวิตของผู้คนที่ผูกโยงการดำรงชีวิตกับปฏิทินตามฤดูกาลที่ปรับเปลี่ยนไปตามธรรมชาติ พวกเขามีวิธีรับมือและมีวิถีชีวิตอยู่กับฤดูน้ำหลากที่เกิดขึ้นในทุกปีอย่างไรให้มีความสุขกับ "ทะเลสาบแห่งชีวิต" แห่งนี้ คงเป็นพวกเขาเท่านั้นที่ให้คำตอบได้

ติดตามชมในรายการสารคดีชุด "Thailand Fantastic" วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน 2564 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย