นักผจญเพลง Replay สัปดาห์นี้จะพาท่านผู้ชมไปพบกับเพลง Jazz เพลงที่ใครหลาย ๆ คนบอกว่าต้องปีนบันไดฟังเพลงที่ถูกมองว่าเข้าถึงยาก แต่บทเพลงดังในความทรงจำทั้ง 6 เพลงวันนี้จะทำให้เห็นว่าจริง ๆ แล้ว Jazz ไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด ผ่านศิลปินคุณภาพทั้งสี่ท่านอย่าง แต๋ง ภูศิษ, โก้ Mr. Saxman, ป้อม Autobahn และจุ๋ม นรีกระจ่าง คันทะมาศ ที่จะมาพูดคุยถึงมุมมองของการเติบโตเปลี่ยนแปลงดนตรี Jazz ในสังคมไทย ตั้งแต่จุดเริ่มต้นถึงปัจจุบัน และอนาคตของดนตรี Jazz รวมไปถึงบทเพลง Jazz ไทยที่อยู่ในความทรงจำ
พบกับเพลง
เสน่หา - สุเทพ วงศ์กําแหง
ความรัก - Autobahn
ความรักเพรียกหา - วินัย พันธุรักษ์
รักฉันวันละนิด - Coco Jazz
คิดถึงเธอทุกทีที่อยู่คนเดียว
ดอกไม้เหนือหู - White Home Gang
ป้อม Autobahn หรือ โชติชู พึ่งอุดม หนึ่งในนักดนตรีคุณภาพที่ร่วมก่อตั้งวงดนตรีออโต้บาห์น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวงดนตรีแนวป๊อปที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวงหนึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2532 ป้อม Autobahn ชอบเพลงJazz ตามคุณพ่อ ยุคนั้นไม่ค่อยมีใครเล่นเพลง Jazz มีไม่กี่วง เสน่ของดนตรีJazz คือ "มันเป็นของเรา เล่นกี่ครั้งมันก็แตกต่าง ไม่เหมือนใคร ไม่มีกรอบ"
แต๋ง ภูศิษ ไล้ทอง นักดนตรี โปรดิวเซอร์ค่ายคีตา เรคคอร์ดส์ และผู้บริหารบริษัททีวีธันเดอร์ จบการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกดนตรี ได้รับการฝึกฝนด้านทฤษฎีเบื้องต้นทางดนตรีจาก อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี สมาชิกวงคาราบาว เข้ามาเป็นสมาชิกของวงดนตรีเฉลียงในยุคที่ 2 แต๋ง ภูศิษ รู้จักดนตรีแจ๊ส ตอนเรียน ได้เล่นใน CU Band แจ๊สเข้ามาตั้งแต่ช่วง ร.6 แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม จนกระทั่งยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง จอมมพล ป.ส่งเสริมวัฒนธรรมตะวันตก แจ๊สจึงมีความสําคัญมากขึ้น ในยุคนั้นทุกกรมจะมีวงบิ๊กแบนด์ของตัวเอง เช่น กรมประชาสัมพันธ์ และอื่นๆหลังจากนั้นก็มีการเอาเนื้อร้องภาษาไทยมาใส่ ทําให้เริ่มเปลี่ยนแปลงมาเป็น สุนทราภรณ์,เพลงลูกทุ่ง, ลูกกรุง สุนทราภรณ์ ยุคแรกจะเป็นนักดนตรีจากฟิลิปปินส์เป็นส่วนใหญ่ทําให้ความเป็นแจ๊สชัดเจนกว่ายุคหลัง ๆ
จุ๋ม นรีกระจ่าง คันธมาส นักร้องนําวงโคโค่แจ๊ซ หลังจากอัลบั้มชุดแรกวางแผง มิวสิควิดีโอเพลงได้เผยแพร่ เพลงเริ่มติดหู เริ่มได้รับรางวัล มีงานถ่ายแบบลงปกหนังสือ ได้ขึ้นเวที 7 สีคอนเสิร์ต และ อีกหลายเวทีตามมา นรีกระจ่างเผยว่า คนเริ่มรู้จักเธอมากขึ้น ขึ้นรถเมล์ไปเรียน ก็มีคนเข้ามาทัก เข้ามาขอลายเซ็น ไปเดินเล่นกันเพื่อนที่มาบุญครอง ร้านขายเทปต่างเปิดเพลงของเธอ เธอรู้จักดนตรีแจ๊สโดยไม่รู้ตัว เพราะ ตอน Coco Jazz ต้องมาร้องเพลง Jazz อาจารย์ปิยะ นําเทปเพลงแจ๊สมาให้ฟังแต่ไม่บอกว่าเป็นเพลงJazz จุ๋มคิดว่าถ้าบอกคงจะปิดกั้นตัวเอง เพราะคําว่า Jazz มันดูยาก
โก้ Mr. Saxman หรือ เศกพล อุ่นสําราญ เริ่มเป็นนักดนตรีอาชีพตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยเล่นแซกโซโฟน ตามโรงแรม, ร้านอาหาร สถานบันเทิงหลายแห่ง ในที่สุดเขาและเพื่อน ๆ จึงตั้งวงดนตรีชื่อว่า Boy Thai และมีอัลบั้มแรกกับวงนี้ โดยการ สนับสนุนของ อัมพร จักกะพาก โดยผสมดนตรีแจ๊สและดนตรีไทย เข้าด้วยกันสร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการดนตรีไทยในยุค 90 โก้กล่าวว่า ในยุคแรก ๆ รู้จักแจ๊สจากเพลง พระราชนิพนธ์ และเพลงสากล เขาชื่นชอบอัลบั้มลูกลิงในหัวใจ ของพี่แต๋ง ภูศิษมาก อยู่ในยุคที่เทศกาลดนตรีแจ๊ส เข้ามาในไทยมากขึ้น และเสน่ของดนตรี Jazz คือความอิสระ
ติดตามรายการนักผจญเพลง REPLAY ตอน JAZZ ไทยไม่ไกลตัว วันเสาร์ที่ 12 เมษายน 68 เวลา 21.30 - 22.20 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
นักผจญเพลง Replay สัปดาห์นี้จะพาท่านผู้ชมไปพบกับเพลง Jazz เพลงที่ใครหลาย ๆ คนบอกว่าต้องปีนบันไดฟังเพลงที่ถูกมองว่าเข้าถึงยาก แต่บทเพลงดังในความทรงจำทั้ง 6 เพลงวันนี้จะทำให้เห็นว่าจริง ๆ แล้ว Jazz ไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด ผ่านศิลปินคุณภาพทั้งสี่ท่านอย่าง แต๋ง ภูศิษ, โก้ Mr. Saxman, ป้อม Autobahn และจุ๋ม นรีกระจ่าง คันทะมาศ ที่จะมาพูดคุยถึงมุมมองของการเติบโตเปลี่ยนแปลงดนตรี Jazz ในสังคมไทย ตั้งแต่จุดเริ่มต้นถึงปัจจุบัน และอนาคตของดนตรี Jazz รวมไปถึงบทเพลง Jazz ไทยที่อยู่ในความทรงจำ
พบกับเพลง
เสน่หา - สุเทพ วงศ์กําแหง
ความรัก - Autobahn
ความรักเพรียกหา - วินัย พันธุรักษ์
รักฉันวันละนิด - Coco Jazz
คิดถึงเธอทุกทีที่อยู่คนเดียว
ดอกไม้เหนือหู - White Home Gang
ป้อม Autobahn หรือ โชติชู พึ่งอุดม หนึ่งในนักดนตรีคุณภาพที่ร่วมก่อตั้งวงดนตรีออโต้บาห์น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวงดนตรีแนวป๊อปที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวงหนึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2532 ป้อม Autobahn ชอบเพลงJazz ตามคุณพ่อ ยุคนั้นไม่ค่อยมีใครเล่นเพลง Jazz มีไม่กี่วง เสน่ของดนตรีJazz คือ "มันเป็นของเรา เล่นกี่ครั้งมันก็แตกต่าง ไม่เหมือนใคร ไม่มีกรอบ"
แต๋ง ภูศิษ ไล้ทอง นักดนตรี โปรดิวเซอร์ค่ายคีตา เรคคอร์ดส์ และผู้บริหารบริษัททีวีธันเดอร์ จบการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกดนตรี ได้รับการฝึกฝนด้านทฤษฎีเบื้องต้นทางดนตรีจาก อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี สมาชิกวงคาราบาว เข้ามาเป็นสมาชิกของวงดนตรีเฉลียงในยุคที่ 2 แต๋ง ภูศิษ รู้จักดนตรีแจ๊ส ตอนเรียน ได้เล่นใน CU Band แจ๊สเข้ามาตั้งแต่ช่วง ร.6 แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม จนกระทั่งยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง จอมมพล ป.ส่งเสริมวัฒนธรรมตะวันตก แจ๊สจึงมีความสําคัญมากขึ้น ในยุคนั้นทุกกรมจะมีวงบิ๊กแบนด์ของตัวเอง เช่น กรมประชาสัมพันธ์ และอื่นๆหลังจากนั้นก็มีการเอาเนื้อร้องภาษาไทยมาใส่ ทําให้เริ่มเปลี่ยนแปลงมาเป็น สุนทราภรณ์,เพลงลูกทุ่ง, ลูกกรุง สุนทราภรณ์ ยุคแรกจะเป็นนักดนตรีจากฟิลิปปินส์เป็นส่วนใหญ่ทําให้ความเป็นแจ๊สชัดเจนกว่ายุคหลัง ๆ
จุ๋ม นรีกระจ่าง คันธมาส นักร้องนําวงโคโค่แจ๊ซ หลังจากอัลบั้มชุดแรกวางแผง มิวสิควิดีโอเพลงได้เผยแพร่ เพลงเริ่มติดหู เริ่มได้รับรางวัล มีงานถ่ายแบบลงปกหนังสือ ได้ขึ้นเวที 7 สีคอนเสิร์ต และ อีกหลายเวทีตามมา นรีกระจ่างเผยว่า คนเริ่มรู้จักเธอมากขึ้น ขึ้นรถเมล์ไปเรียน ก็มีคนเข้ามาทัก เข้ามาขอลายเซ็น ไปเดินเล่นกันเพื่อนที่มาบุญครอง ร้านขายเทปต่างเปิดเพลงของเธอ เธอรู้จักดนตรีแจ๊สโดยไม่รู้ตัว เพราะ ตอน Coco Jazz ต้องมาร้องเพลง Jazz อาจารย์ปิยะ นําเทปเพลงแจ๊สมาให้ฟังแต่ไม่บอกว่าเป็นเพลงJazz จุ๋มคิดว่าถ้าบอกคงจะปิดกั้นตัวเอง เพราะคําว่า Jazz มันดูยาก
โก้ Mr. Saxman หรือ เศกพล อุ่นสําราญ เริ่มเป็นนักดนตรีอาชีพตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยเล่นแซกโซโฟน ตามโรงแรม, ร้านอาหาร สถานบันเทิงหลายแห่ง ในที่สุดเขาและเพื่อน ๆ จึงตั้งวงดนตรีชื่อว่า Boy Thai และมีอัลบั้มแรกกับวงนี้ โดยการ สนับสนุนของ อัมพร จักกะพาก โดยผสมดนตรีแจ๊สและดนตรีไทย เข้าด้วยกันสร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการดนตรีไทยในยุค 90 โก้กล่าวว่า ในยุคแรก ๆ รู้จักแจ๊สจากเพลง พระราชนิพนธ์ และเพลงสากล เขาชื่นชอบอัลบั้มลูกลิงในหัวใจ ของพี่แต๋ง ภูศิษมาก อยู่ในยุคที่เทศกาลดนตรีแจ๊ส เข้ามาในไทยมากขึ้น และเสน่ของดนตรี Jazz คือความอิสระ
ติดตามรายการนักผจญเพลง REPLAY ตอน JAZZ ไทยไม่ไกลตัว วันเสาร์ที่ 12 เมษายน 68 เวลา 21.30 - 22.20 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live