กฤษณาได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมงานประชุม ณ เวทีประชุมใหญ่องค์การอนามัยโลก ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยในงานนั้น รัฐมนตรีของไทยได้กล่าวสุนทรพจน์เชิดชูเกียรติกฤษณา ถึงความสามารถในการผลิตยาต้านเอดส์ที่มีราคาถูกได้สำเร็จ และรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นสัญญาต่อเวทีโลกว่าประเทศไทยยินดีที่จะส่งบุคลากรคุณภาพไปยังประเทศยากจนในแอฟริกาเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยาให้พวกเขาอย่างเท่าเทียม
หลังจากการกล่าวสุนทรพจน์จบลง รัฐมนตรีได้เข้ามาแสดงความยินดีกับกฤษณา กฤษณาจึงถามถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยาให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในแถบแอฟริกา แต่รัฐมนตรีก็ได้แต่บอกปัดอ้างว่าให้รอการอนุมัติงบประมาณจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อน กฤษณาจึงเริ่มไม่แน่ใจในท่าทีของรัฐมนตรี
3 ปีต่อมา กฤษณาก็ยังคงไม่ได้รับข่าวใด ๆ จากรัฐมนตรี ขณะที่หลาย ๆ ประเทศในแอฟริกาก็เขียนจดหมายถึงกฤษณา เพื่อสอบถามถึงความคืบหน้าของโครงการที่จะเข้าไปถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยาให้แก่พวกเขา กฤษณากลุ้มใจและอึดอัดใจอย่างบอกไม่ถูก แม้ว่ากฤษณาจะพยายามโทรศัพท์ไปสอบถามความคืบหน้าของโครงการนี้จากรัฐมนตรีนับครั้งไม่ถ้วนแล้วก็ตาม แต่โทรฯ ไปกี่ครั้ง ๆ รัฐมนตรีก็ไม่เคยว่างรับโทรศัพท์จากเธอเสียที เธอจึงตัดสินใจไปขอพบรัฐมนตรีที่กระทรวงสาธารณสุข โดยกฤษณาต้องไปนั่งรอรัฐมนตรีตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ ทันทีที่รัฐมนตรีเสร็จสิ้นจากการประชุมก็เป็นเวลาของมื้อเย็นพอดี รัฐมนตรีจึงเชิญให้เธอไปพูดคุย และรับประทานอาหารเย็นด้วยกัน แต่แล้วกฤษณาก็ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้ง เมื่อรัฐมนตรีไม่เห็นถึงความสำคัญของโครงการ แต่กลับมองเฉพาะเรื่องผลประโยชน์เท่านั้น เธอรู้สึกท้อแท้และสิ้นหวังเป็นอย่างมาก
หลังจากนั้นไม่นาน ดร.ทิโด้ ได้แนะนำให้กฤษณาได้รู้จักกับ “คุณเกบเบิร์ส เกบเบิร์ส” ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทฟาร์มาคินา ที่ผลิตยาควินินที่ใหญ่ที่สุดในโลก กฤษณาสนทนากับเกบเบิร์ส โดยมี ดร.ทิโด้ เป็นล่ามแปลภาษาเยอรมัน เกบเบิร์สได้อ่านบทสัมภาษณ์ของกฤษณาเรื่อง “ถ้าเธอจน เธอตาย” จากนิตยสารเดอร์ สปีเกล (Der Spiegel) ของเยอรมัน เกี่ยวกับเรื่องถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ให้กับประเทศยากจนในแอฟริกา เขาจึงสนใจ และต้องการเชิญให้กฤษณาช่วยไปสอนพนักงานของบริษัทฟาร์มาคินา ผลิตยาต้านเอดส์ ในโรงงานที่เมืองบูคาวู สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แอฟริกา โดยจะขอเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดเอง และเกบเบิร์สยังให้สัญญากับเธอว่า เมื่อผลิตยาได้แล้ว เขาจะจำหน่ายยาในราคาที่ถูกที่สุด กฤษณาตอบตกลงในทันที เพราะเธอคิดว่านั่นคือหนทางที่เธอจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือคนแอฟริกาที่ติดเชื้อเอดส์ได้
กฤษณายื่นใบลาออกจากองค์การเภสัชกรรม ท่ามกลางความตกใจของผู้ร่วมงาน ขณะเดียวกัน ลิขิตเองก็ไม่อนุมัติให้กฤษณาลาออก เพราะในส่วนลึก ๆ ของจิตใจ ลิขิตก็อดใจหายไม่ได้ ที่ต้องสูญเสียเพื่อนร่วมงานที่เก่งและมีความสามารถอย่างกฤษณาไป แต่คำคัดค้านของลิขิตก็ไม่สามารถต้านทานความตั้งใจอันแรงกล้าของกฤษณาได้
กฤษณากลับมาหาพ่อและแม่ของเธอที่เกาะสมุย เพื่อบอกถึงการลาออกของเธอจากองค์การเภสัชกรรมฯ โดยเธอบอกับพ่อและแม่ว่าเธอจะขอไปพักผ่อนที่ต่างประเทศสักระยะ โดยที่พ่อและแม่ของเธอไม่รู้สักนิดเลยว่าแท้จริงแล้วเธอจะไปแอฟริกา
อัจฉรานำคณะวิจัยที่ต่างต่อสู้ร่วมกันมา มาส่งกฤษณาที่สนามบินดอนเมือง ทุกคนต่างรู้สึกเป็นห่วงกฤษณาที่จะต้องเดินทางไกล ไปทำงานในประเทศทุรกันดาร กฤษณาจึงบอกกับทุกคนว่าทุกคนควรดีใจที่เธอไป เพราะเธอไปเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เมื่อจบคำร่ำลา กฤษณาก็เดินลากกระเป๋าเดินทางหันหลังเข้าประตูผู้โดยสารไปอย่างมุ่งมั่น
เมื่อถึงคองโก กฤษณาก็หมั่นเขียนจดหมายเล่าถึงเรื่องชีวิตและเหตุการณ์ขณะที่เธออาศัยอยู่ที่คองโกมาถึงอัจฉราอยู่เสมอ ขณะเดียวกันอัจฉราก็เขียนจดหมายแสดงความเป็นห่วงไต่ถามถึงทุกข์สุขของกฤษณาอยู่มิได้ขาด กฤษณาได้ทำความฝันของตนเองให้เป็นจริง ด้วยการไปสอนคนในแถบแอฟริกาให้ทำยาต้านเอดส์ได้สำเร็จ นอกจากนี้เธอยังออกแบบแปลนโรงงานผลิตยา รวมถึงไปช่วยดูแลการก่อสร้าง การควบคุมการเอาเครื่องจักรมาติดตั้งในโรงงานต่าง ๆ ทั่วแอฟริกา จนมีชื่อเสียงไปทั่ว
ขณะเดียวกันในประเทศไทย ก็ได้มีการนำเสนอบทสัมภาษณ์และชื่นชมผลงานของกฤษณา ในฐานะ ดร.หญิงของไทย ที่เธอทำประโยชน์ให้ประเทศไทยและแอฟริกามีอยู่มากมาย นับตั้งแต่บุกเบิกสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเพื่อใช้เป็นยา และเครื่องสำอางหลายรายการ ผลิตยาต้านเอดส์ให้คนไทยใช้ในราคาถูก รวมถึงสอนคนแอฟริกันในหลายประเทศตั้งโรงงานผลิตยาต้านเอดส์และยาป้องกันโรคมาลาเรีย ทุกคนที่แผนกวิจัยขององค์การเภสัชกรรม ตั้งหน้าตั้งตารอฟังสัมภาษณ์ของกฤษณาทางโทรทัศน์ด้วยความภาคภูมิใจ ขณะที่ลิขิตและรัฐมนตรีก็ได้ดูรายการสัมภาษณ์ของกฤษณาเช่นกัน ส่วนพ่อและแม่ของกฤษณาเองก็เพิ่งรู้ว่าลูกสาวของตนไปทำงานที่แอฟริกา แต่ทั้งสองคนต่างก็รู้สึกภูมิใจ ขณะเดียวกันที่มูลนิธิคามิลเลียน บาทหลวงจีโอวานนี และเด็ก ๆ ผู้ติดเชื้อทุกคนต่างก็ตั้งใจฟังกฤษณาให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ด้วยเช่นกัน
กฤษณากล่าวทิ้งท้ายกับทุกคนว่า...
ติดตามชมละคร "แสงปลายฟ้า" วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.15 - 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Live
กฤษณาได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมงานประชุม ณ เวทีประชุมใหญ่องค์การอนามัยโลก ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยในงานนั้น รัฐมนตรีของไทยได้กล่าวสุนทรพจน์เชิดชูเกียรติกฤษณา ถึงความสามารถในการผลิตยาต้านเอดส์ที่มีราคาถูกได้สำเร็จ และรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นสัญญาต่อเวทีโลกว่าประเทศไทยยินดีที่จะส่งบุคลากรคุณภาพไปยังประเทศยากจนในแอฟริกาเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยาให้พวกเขาอย่างเท่าเทียม
หลังจากการกล่าวสุนทรพจน์จบลง รัฐมนตรีได้เข้ามาแสดงความยินดีกับกฤษณา กฤษณาจึงถามถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยาให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในแถบแอฟริกา แต่รัฐมนตรีก็ได้แต่บอกปัดอ้างว่าให้รอการอนุมัติงบประมาณจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อน กฤษณาจึงเริ่มไม่แน่ใจในท่าทีของรัฐมนตรี
3 ปีต่อมา กฤษณาก็ยังคงไม่ได้รับข่าวใด ๆ จากรัฐมนตรี ขณะที่หลาย ๆ ประเทศในแอฟริกาก็เขียนจดหมายถึงกฤษณา เพื่อสอบถามถึงความคืบหน้าของโครงการที่จะเข้าไปถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยาให้แก่พวกเขา กฤษณากลุ้มใจและอึดอัดใจอย่างบอกไม่ถูก แม้ว่ากฤษณาจะพยายามโทรศัพท์ไปสอบถามความคืบหน้าของโครงการนี้จากรัฐมนตรีนับครั้งไม่ถ้วนแล้วก็ตาม แต่โทรฯ ไปกี่ครั้ง ๆ รัฐมนตรีก็ไม่เคยว่างรับโทรศัพท์จากเธอเสียที เธอจึงตัดสินใจไปขอพบรัฐมนตรีที่กระทรวงสาธารณสุข โดยกฤษณาต้องไปนั่งรอรัฐมนตรีตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ ทันทีที่รัฐมนตรีเสร็จสิ้นจากการประชุมก็เป็นเวลาของมื้อเย็นพอดี รัฐมนตรีจึงเชิญให้เธอไปพูดคุย และรับประทานอาหารเย็นด้วยกัน แต่แล้วกฤษณาก็ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้ง เมื่อรัฐมนตรีไม่เห็นถึงความสำคัญของโครงการ แต่กลับมองเฉพาะเรื่องผลประโยชน์เท่านั้น เธอรู้สึกท้อแท้และสิ้นหวังเป็นอย่างมาก
หลังจากนั้นไม่นาน ดร.ทิโด้ ได้แนะนำให้กฤษณาได้รู้จักกับ “คุณเกบเบิร์ส เกบเบิร์ส” ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทฟาร์มาคินา ที่ผลิตยาควินินที่ใหญ่ที่สุดในโลก กฤษณาสนทนากับเกบเบิร์ส โดยมี ดร.ทิโด้ เป็นล่ามแปลภาษาเยอรมัน เกบเบิร์สได้อ่านบทสัมภาษณ์ของกฤษณาเรื่อง “ถ้าเธอจน เธอตาย” จากนิตยสารเดอร์ สปีเกล (Der Spiegel) ของเยอรมัน เกี่ยวกับเรื่องถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ให้กับประเทศยากจนในแอฟริกา เขาจึงสนใจ และต้องการเชิญให้กฤษณาช่วยไปสอนพนักงานของบริษัทฟาร์มาคินา ผลิตยาต้านเอดส์ ในโรงงานที่เมืองบูคาวู สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แอฟริกา โดยจะขอเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดเอง และเกบเบิร์สยังให้สัญญากับเธอว่า เมื่อผลิตยาได้แล้ว เขาจะจำหน่ายยาในราคาที่ถูกที่สุด กฤษณาตอบตกลงในทันที เพราะเธอคิดว่านั่นคือหนทางที่เธอจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือคนแอฟริกาที่ติดเชื้อเอดส์ได้
กฤษณายื่นใบลาออกจากองค์การเภสัชกรรม ท่ามกลางความตกใจของผู้ร่วมงาน ขณะเดียวกัน ลิขิตเองก็ไม่อนุมัติให้กฤษณาลาออก เพราะในส่วนลึก ๆ ของจิตใจ ลิขิตก็อดใจหายไม่ได้ ที่ต้องสูญเสียเพื่อนร่วมงานที่เก่งและมีความสามารถอย่างกฤษณาไป แต่คำคัดค้านของลิขิตก็ไม่สามารถต้านทานความตั้งใจอันแรงกล้าของกฤษณาได้
กฤษณากลับมาหาพ่อและแม่ของเธอที่เกาะสมุย เพื่อบอกถึงการลาออกของเธอจากองค์การเภสัชกรรมฯ โดยเธอบอกับพ่อและแม่ว่าเธอจะขอไปพักผ่อนที่ต่างประเทศสักระยะ โดยที่พ่อและแม่ของเธอไม่รู้สักนิดเลยว่าแท้จริงแล้วเธอจะไปแอฟริกา
อัจฉรานำคณะวิจัยที่ต่างต่อสู้ร่วมกันมา มาส่งกฤษณาที่สนามบินดอนเมือง ทุกคนต่างรู้สึกเป็นห่วงกฤษณาที่จะต้องเดินทางไกล ไปทำงานในประเทศทุรกันดาร กฤษณาจึงบอกกับทุกคนว่าทุกคนควรดีใจที่เธอไป เพราะเธอไปเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เมื่อจบคำร่ำลา กฤษณาก็เดินลากกระเป๋าเดินทางหันหลังเข้าประตูผู้โดยสารไปอย่างมุ่งมั่น
เมื่อถึงคองโก กฤษณาก็หมั่นเขียนจดหมายเล่าถึงเรื่องชีวิตและเหตุการณ์ขณะที่เธออาศัยอยู่ที่คองโกมาถึงอัจฉราอยู่เสมอ ขณะเดียวกันอัจฉราก็เขียนจดหมายแสดงความเป็นห่วงไต่ถามถึงทุกข์สุขของกฤษณาอยู่มิได้ขาด กฤษณาได้ทำความฝันของตนเองให้เป็นจริง ด้วยการไปสอนคนในแถบแอฟริกาให้ทำยาต้านเอดส์ได้สำเร็จ นอกจากนี้เธอยังออกแบบแปลนโรงงานผลิตยา รวมถึงไปช่วยดูแลการก่อสร้าง การควบคุมการเอาเครื่องจักรมาติดตั้งในโรงงานต่าง ๆ ทั่วแอฟริกา จนมีชื่อเสียงไปทั่ว
ขณะเดียวกันในประเทศไทย ก็ได้มีการนำเสนอบทสัมภาษณ์และชื่นชมผลงานของกฤษณา ในฐานะ ดร.หญิงของไทย ที่เธอทำประโยชน์ให้ประเทศไทยและแอฟริกามีอยู่มากมาย นับตั้งแต่บุกเบิกสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเพื่อใช้เป็นยา และเครื่องสำอางหลายรายการ ผลิตยาต้านเอดส์ให้คนไทยใช้ในราคาถูก รวมถึงสอนคนแอฟริกันในหลายประเทศตั้งโรงงานผลิตยาต้านเอดส์และยาป้องกันโรคมาลาเรีย ทุกคนที่แผนกวิจัยขององค์การเภสัชกรรม ตั้งหน้าตั้งตารอฟังสัมภาษณ์ของกฤษณาทางโทรทัศน์ด้วยความภาคภูมิใจ ขณะที่ลิขิตและรัฐมนตรีก็ได้ดูรายการสัมภาษณ์ของกฤษณาเช่นกัน ส่วนพ่อและแม่ของกฤษณาเองก็เพิ่งรู้ว่าลูกสาวของตนไปทำงานที่แอฟริกา แต่ทั้งสองคนต่างก็รู้สึกภูมิใจ ขณะเดียวกันที่มูลนิธิคามิลเลียน บาทหลวงจีโอวานนี และเด็ก ๆ ผู้ติดเชื้อทุกคนต่างก็ตั้งใจฟังกฤษณาให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ด้วยเช่นกัน
กฤษณากล่าวทิ้งท้ายกับทุกคนว่า...
ติดตามชมละคร "แสงปลายฟ้า" วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.15 - 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Live