ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ
ละคร แสงปลายฟ้า
ละคร แสงปลายฟ้า

ละคร แสงปลายฟ้า : ตอนที่ 1

หน้ารายการ
10 ก.ค. 64

พ.ศ. 2526 ยุคที่ประเทศไทยกำลังเริ่มสร้างและพัฒนำมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ ขยายไปตามภูมิภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ และเป็นยุคที่อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอนก็ยังไม่พร้อม กฤษณา ดอกเตอร์สาวในวัย 30 ปี ซึ่งเธอเรียนจบปริญญาเอกด้านเภสัชเคมีจากประเทศอังกฤษ มองเห็นว่าการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น เป็นแค่การเรียนแบบท่องตามตำราเหมือนนกแก้วนกขุนทอง ไม่มีอุปกรณ์ หรือเครื่องมือให้เด็ก ๆ นักศึกษาได้ลองปฏิบัติใช้จริง เมื่อเด็กเหล่านั้นจบการศึกษาออกไป ก็ไม่มีโอกาสได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา เพราะไม่สามารถจะปฏิบัติได้จริง ๆ เธอจึงรู้สึกเบื่อหน่าย และในที่สุดเธอก็ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเดินทางไปหางานที่ท้าทายและได้ปฏิบัติจริงในกรุงเทพฯ เมื่อเป็นดังนั้น พ่อของเธอจึงแนะนำให้รู้จักกับเพื่อนของพ่อที่เป็นนายแพทย์ทหาร และเป็นผู้อำนวยการอยู่ที่องค์การเภสัชกรรมแห่งประเทศไทย กฤษณาจึงลองไปสมัครงานที่นั่น และเธอก็ได้ทำงานที่องค์การเภสัชฯ ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกพัฒนาวิธีวิเคราะห์

กฤษณาทำงานที่องค์การเภสัชฯ ได้ไม่นาน เธอก็สามารถประกอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ผลิตยาเป็นชิ้น ๆ ได้สำเร็จ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชฯ จึงเลื่อนตำแหน่งให้เธอไปเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม ซึ่งมีหน้าที่หลักในการวิจัยตัวยาใหม่ ๆ ให้ทางองค์การฯ และผลิตยาที่มีคุณภาพให้กับคนไทย และผู้อำนวยการฯ ก็ได้ให้คำมั่นกับกฤษณาว่าจะให้การสนับสนุนในการทำวิจัยอย่างเต็มที่

ที่จริงแล้ว สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรมนี้ก่อตั้งมานานแล้ว แต่ไม่มีใครเข้ามาทำ จึงถูกทิ้งให้ร้าง เครื่องมือวิจัยในการผลิตยาถูกปล่อยให้วางระเกะระกะ ฝุ่นเกาะหนาเขรอะ เมื่อกฤษณาเข้ามาที่หน่วยวิจัยของแผนกนี้ เธอจึงต้องมาเก็บกวาด เช็ดถู ติดตั้งอุปกรณ์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เสียใหม่ โดยมีอัจฉรา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่วิจัยอยู่ที่นี่คอยช่วยเหลือ

เมื่อกฤษณาและอัจฉราช่วยกันแปลงโฉมห้องวิจัยจนสะอาดเรียบร้อย กฤษณาก็รับนักวิจัยที่เป็นนักศึกษาจบใหม่เข้ามาทำงานในแผนกนี้ 5 คน ได้แก่ รุ่งฤดี, ทรงชัย, คมกริช, สุวิทย์ และกิตติ โดยนักวิจัยทั้ง 5 คนนี้ ต่างช่วยกฤษณาวิจัยและคิดค้นตัวยาต่าง ๆ จนเวลาผ่านไป 2 ปี แผนกของกฤษณาก็สามารถพัฒนาสูตรยาได้มากกว่าร้อยรายการ นอกจากนี้ก็ยังมีเครื่องสำอางที่มาจากสมุนไพรอีกถึง 64 รายการ รวมถึงการพัฒนายาให้มีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศออกสู่ตลาดมากขึ้น จนทำให้ราคายาถูกลงด้วย ขณะเดียวกัน นายแพทย์ทหาร ผู้อำนวยการฯ คนเดิมเกษียณอายุราชการออกไป ลิขิต ก็เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมฯ แทน

กฤษณาเสนอโครงการวิจัย โครงการแล้วโครงการเล่าให้แก่ลิขิต แต่ถูกลิขิตปฏิเสธการให้การสนับสนุนมาโดยตลอด เพราะอ้างว่าไม่คุ้มทุน กฤษณาจึงเกิดความอึดอัด และไม่พอใจต่อการกระทำของลิขิตเป็นที่สุด จนกระทั่งกฤษณาได้เห็นข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อ H.I.V. หรือเอดส์ ที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ภาพข่าวนั้นทำให้กฤษณารู้สึกสงสารเด็กผู้ติดเชื้ออย่างจับใจ จึงทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจที่จะวิจัยยารักษาโรคเอดส์

กฤษณานำโครงการวิจัยยารักษาโรคเอดส์มาเสนอต่อลิขิต แต่กลับถูกลิขิตปฏิเสธโดยไม่ใยดี กฤษณาจึงคิดหาหนทางเพื่อที่จะหาแหล่งเงินทุนมาสนับสนุนงานวิจัยของเธอ ในที่สุดเธอก็ตัดสินไปขอความช่วยเหลือจาก ส.ส. สถาพร แต่เธอกลับพบกับความผิดหวัง เมื่อ ส.ส. สถาพร ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ และยังดูถูกเหยียดหยามผู้ป่วยโรคเอดส์อีกด้วย

กฤษณายังคงดันทุรังที่จะทำวิจัยศึกษายารักษาโรคเอดส์ต่อไป แม้ว่าเธอจะต้องควักเงินซื้อสารเคมีที่เป็นวัตถุดิบเองก็ตาม ในขณะที่ผู้ช่วยนักวิจัยทั้ง 5 คนของเธอก็ต่างขอถอนตัวจำกโครงการวิจัยนี้ เพราะกลัวผลกระทบข้างเคียงของสารเคมีวัตถุดิบที่เป็นสารก่อมะเร็ง

แม้จะรู้สึกว่าเหมือนอยู่ตัวคนเดียว แต่กฤษณาก็ยังจะมุ่งมานะทำวิจัยยารักษาโรคเอดส์ต่อไป โดยเธอกับอัจฉราช่วยกันดัดแปลงห้องเก็บเล็ก ๆ ในแผนกวิจัย ให้เป็นห้องวิจัยยาต้านเชื้อเอดส์

เวลาผ่านไปวันแล้ววันเล่า กฤษณาใช้เวลาศึกษาทดลอง คิดค้นอย่างหามรุ่งหามค่ำเพียงคนเดียวภายในห้องวิจัยเล็ก ๆ โดยมีอัจฉราคอยช่วยเหลืออยู่ห่าง ๆ จนกระทั่ง 6 เดือนผ่านไป กฤษณาก็ทำให้เม็ดยาที่คิดค้นขึ้นมาใหม่เกาะตัวกันได้สาเร็จ และเธอก็เอายาที่ได้จากการทดลองใส่ปากตัวเองทันที ต่อหน้าต่อตาอัจฉราที่ยืนอัจฉราตาค้าง อ้าปากหวออยู่ และนั่นก็ทาให้กฤษณาต้องแพ้ยา มีผื่นขึ้นเต็มหน้าไปหมด และต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลถึง 3 วัน

ทันทีที่ออกจากโรงพยาบาล กฤษณาก็กลับมาที่แผนกวิจัย และยังคงค้นคว้ายาต้านเอดส์ต่อไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยมีผู้ช่วยวิจัยทั้งห้าแอบดูกฤษณาอยู่ห่าง ๆ ด้วยความเป็นห่วง จนเวลาผ่านไปไม่นาน ในที่สุดกฤษณาก็ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ตัวใหม่ได้ขึ้นมาได้อีก เธอเอายาเม็ดนั้นใส่ปาก เพื่อทดลองกินยานั้นด้วยตัวเองอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เธอไม่เกิดอาการแพ้เหมือนเช่นคราวก่อน ๆ ทุกคนต่างยินดีกับความสำเร็จของกฤษณา ที่คิดค้นยาต้านไวรัสเอดส์ตัวแรกได้สำเร็จ

ยาของกฤษณาที่คิดค้นขึ้นมาใหม่นี้ เป็นการรวมยาต้านไวรัสเอดส์ 3 ขนานคือ stavudine, lamivudine และ nevirapine ไว้ในเม็ดเดียวกัน และมีราคาเพียงเม็ดละ 8 บาท ถูกกว่ายาที่นำเข้าจากต่างประเทศถึง 18 เท่า โดยเธอตั้งชื่อยาตัวใหม่นี้ว่า GPO-VIR หรือเรียกยาสูตรผสมนี้ง่าย ๆ ว่า “ค็อกเทล” และเอกสารงานวิจัยคิดค้นยาต้านไวรัสเอดส์ “ค็อกเทล” ของกฤษณาก็ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก

แต่ในความโชคดีนี้ กฤษณาก็ได้พบกับความโชคร้ายแบบที่เธอไม่ทันตั้งตัว เมื่อบริษัทไบร์ตัน ไมล์ส ฟาร์มาซูติคอล ผู้ถือสิทธิบัตรตัวยาต้านรีโทรไวรัส ddl กับ stavudine ได้เข้ามาพบลิขิตและอ้างว่ากฤษณาได้ละเมิดสิทธิบัตรของเขา แม้ว่ากฤษณาจะอ้างถึงสิทธิบัตรฉบับนั้นว่าครอบคลุมยาที่ผลิตออกมาในขนาด 5 ถึง 100 มิลลิกรัมต่อหน่วยการใช้แต่ละครั้ง ขณะที่ยา ddl ที่เธอทำออกมามีขนาด 150 มิลลิกรัม แต่ตัวแทนจากบริษัทไบร์ตัน ไมล์ส ฟาร์มาซูติคอลก็ไม่ยินยอม และได้ยื่นฟ้องเอาผิดกฤษณาและองค์การเภสัชกรรมฯ โดยปลอมแปลงลบข้อความที่ระบุถึงสูตรยาในสิทธิบัตรออก

กฤษณาหนีความวุ่นวายมาพักผ่อนที่ชายทะเลในแถบจังหวัดระยอง และที่นั่นเองที่ทาให้เธอได้พบกับบาทหลวงจีโอวานนี บาทหลวงจีโอวานนีพากฤษณามายังมูลนิธิคามิลเลียน ศูนย์เลี้ยงเด็กกำพร้าที่ติดเชื้อ โดยพูดให้กำลังใจเธอ บอกเธอว่าเด็กที่ติดเชื้อทุก ๆ คนที่มูลนิธิคามิลเลียน ยังรอความช่วยเหลือจากเธออยู่ อีกทั้งยังได้อวยพรให้เธอประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวังด้วย

กฤษณาได้รับข่าวดีจากอัจฉราว่า ดร.ฟอน เชอร์น-แอรฺเกอเรอร์ หรือ ดร. ทิโด้ จากองค์กรแพทย์ไร้พรมแดน มาเสนอให้ความช่วยเหลือ กฤษณาจึงรีบกลับมาที่องค์การเภสัชเพื่อพบกับ ดร.ทิโด้ โดย ดร.ทิโด้ ยื่นข้อเสนอว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่กฤษณาในการฟ้องกลับแก่บริษัท ไบร์ตัน ไมล์ส ฟาร์มาซูติคอล ที่ได้ทำการตัดข้อความบางส่วนออกจากเอกสารสิทธิบัตรของประเทศไทย ก่อนที่จะได้รับอนุมัติจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทั้ง ๆ ที่เอกสารนั้นได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้ว ซึ่งไม่ถูกต้องตามวิธีอนุมัติสิทธิบัตรระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ดร.ทิโด้ ได้ขอให้กฤษณาผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ให้เขา โดยเขาจะรับซื้อทั้งมดเป็นข้อแลกเปลี่ยน

ขณะที่กฤษณา และผู้ช่วยวิจัยทั้ง 5 คน ที่กลับมาช่วยงานอีกครั้ง กำลังเร่งผลิตยาต้านเอดส์ให้ทันต่อยอดสั่งซื้อของ ดร.ทิโด้ พวกเขาก็ได้รับการแจ้งข่าวดีจาก ดร.ทิโด้ ว่าบริษัทบริษัท ไบร์ตัน ไมล์ส ฟาร์มาซูติคอลได้ถอนฟ้องคดีแล้ว และขอมอบสิทธิบัตรยา ddl ให้แก่ประเทศไทย กฤษณาและผู้ช่วยวิจัยทั้ง 5 คน ต่างยินดีที่กฤษณาหลุดพ้นข้อกล่าวหาและเดินหน้าผลิตยาต่อได้

ติดตามชมละคร "แสงปลายฟ้า" วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.15 - 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ละคร แสงปลายฟ้า : ตอนที่ 1

10 ก.ค. 64

พ.ศ. 2526 ยุคที่ประเทศไทยกำลังเริ่มสร้างและพัฒนำมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ ขยายไปตามภูมิภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ และเป็นยุคที่อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอนก็ยังไม่พร้อม กฤษณา ดอกเตอร์สาวในวัย 30 ปี ซึ่งเธอเรียนจบปริญญาเอกด้านเภสัชเคมีจากประเทศอังกฤษ มองเห็นว่าการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น เป็นแค่การเรียนแบบท่องตามตำราเหมือนนกแก้วนกขุนทอง ไม่มีอุปกรณ์ หรือเครื่องมือให้เด็ก ๆ นักศึกษาได้ลองปฏิบัติใช้จริง เมื่อเด็กเหล่านั้นจบการศึกษาออกไป ก็ไม่มีโอกาสได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา เพราะไม่สามารถจะปฏิบัติได้จริง ๆ เธอจึงรู้สึกเบื่อหน่าย และในที่สุดเธอก็ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเดินทางไปหางานที่ท้าทายและได้ปฏิบัติจริงในกรุงเทพฯ เมื่อเป็นดังนั้น พ่อของเธอจึงแนะนำให้รู้จักกับเพื่อนของพ่อที่เป็นนายแพทย์ทหาร และเป็นผู้อำนวยการอยู่ที่องค์การเภสัชกรรมแห่งประเทศไทย กฤษณาจึงลองไปสมัครงานที่นั่น และเธอก็ได้ทำงานที่องค์การเภสัชฯ ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกพัฒนาวิธีวิเคราะห์

กฤษณาทำงานที่องค์การเภสัชฯ ได้ไม่นาน เธอก็สามารถประกอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ผลิตยาเป็นชิ้น ๆ ได้สำเร็จ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชฯ จึงเลื่อนตำแหน่งให้เธอไปเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม ซึ่งมีหน้าที่หลักในการวิจัยตัวยาใหม่ ๆ ให้ทางองค์การฯ และผลิตยาที่มีคุณภาพให้กับคนไทย และผู้อำนวยการฯ ก็ได้ให้คำมั่นกับกฤษณาว่าจะให้การสนับสนุนในการทำวิจัยอย่างเต็มที่

ที่จริงแล้ว สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรมนี้ก่อตั้งมานานแล้ว แต่ไม่มีใครเข้ามาทำ จึงถูกทิ้งให้ร้าง เครื่องมือวิจัยในการผลิตยาถูกปล่อยให้วางระเกะระกะ ฝุ่นเกาะหนาเขรอะ เมื่อกฤษณาเข้ามาที่หน่วยวิจัยของแผนกนี้ เธอจึงต้องมาเก็บกวาด เช็ดถู ติดตั้งอุปกรณ์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เสียใหม่ โดยมีอัจฉรา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่วิจัยอยู่ที่นี่คอยช่วยเหลือ

เมื่อกฤษณาและอัจฉราช่วยกันแปลงโฉมห้องวิจัยจนสะอาดเรียบร้อย กฤษณาก็รับนักวิจัยที่เป็นนักศึกษาจบใหม่เข้ามาทำงานในแผนกนี้ 5 คน ได้แก่ รุ่งฤดี, ทรงชัย, คมกริช, สุวิทย์ และกิตติ โดยนักวิจัยทั้ง 5 คนนี้ ต่างช่วยกฤษณาวิจัยและคิดค้นตัวยาต่าง ๆ จนเวลาผ่านไป 2 ปี แผนกของกฤษณาก็สามารถพัฒนาสูตรยาได้มากกว่าร้อยรายการ นอกจากนี้ก็ยังมีเครื่องสำอางที่มาจากสมุนไพรอีกถึง 64 รายการ รวมถึงการพัฒนายาให้มีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศออกสู่ตลาดมากขึ้น จนทำให้ราคายาถูกลงด้วย ขณะเดียวกัน นายแพทย์ทหาร ผู้อำนวยการฯ คนเดิมเกษียณอายุราชการออกไป ลิขิต ก็เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมฯ แทน

กฤษณาเสนอโครงการวิจัย โครงการแล้วโครงการเล่าให้แก่ลิขิต แต่ถูกลิขิตปฏิเสธการให้การสนับสนุนมาโดยตลอด เพราะอ้างว่าไม่คุ้มทุน กฤษณาจึงเกิดความอึดอัด และไม่พอใจต่อการกระทำของลิขิตเป็นที่สุด จนกระทั่งกฤษณาได้เห็นข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อ H.I.V. หรือเอดส์ ที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ภาพข่าวนั้นทำให้กฤษณารู้สึกสงสารเด็กผู้ติดเชื้ออย่างจับใจ จึงทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจที่จะวิจัยยารักษาโรคเอดส์

กฤษณานำโครงการวิจัยยารักษาโรคเอดส์มาเสนอต่อลิขิต แต่กลับถูกลิขิตปฏิเสธโดยไม่ใยดี กฤษณาจึงคิดหาหนทางเพื่อที่จะหาแหล่งเงินทุนมาสนับสนุนงานวิจัยของเธอ ในที่สุดเธอก็ตัดสินไปขอความช่วยเหลือจาก ส.ส. สถาพร แต่เธอกลับพบกับความผิดหวัง เมื่อ ส.ส. สถาพร ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ และยังดูถูกเหยียดหยามผู้ป่วยโรคเอดส์อีกด้วย

กฤษณายังคงดันทุรังที่จะทำวิจัยศึกษายารักษาโรคเอดส์ต่อไป แม้ว่าเธอจะต้องควักเงินซื้อสารเคมีที่เป็นวัตถุดิบเองก็ตาม ในขณะที่ผู้ช่วยนักวิจัยทั้ง 5 คนของเธอก็ต่างขอถอนตัวจำกโครงการวิจัยนี้ เพราะกลัวผลกระทบข้างเคียงของสารเคมีวัตถุดิบที่เป็นสารก่อมะเร็ง

แม้จะรู้สึกว่าเหมือนอยู่ตัวคนเดียว แต่กฤษณาก็ยังจะมุ่งมานะทำวิจัยยารักษาโรคเอดส์ต่อไป โดยเธอกับอัจฉราช่วยกันดัดแปลงห้องเก็บเล็ก ๆ ในแผนกวิจัย ให้เป็นห้องวิจัยยาต้านเชื้อเอดส์

เวลาผ่านไปวันแล้ววันเล่า กฤษณาใช้เวลาศึกษาทดลอง คิดค้นอย่างหามรุ่งหามค่ำเพียงคนเดียวภายในห้องวิจัยเล็ก ๆ โดยมีอัจฉราคอยช่วยเหลืออยู่ห่าง ๆ จนกระทั่ง 6 เดือนผ่านไป กฤษณาก็ทำให้เม็ดยาที่คิดค้นขึ้นมาใหม่เกาะตัวกันได้สาเร็จ และเธอก็เอายาที่ได้จากการทดลองใส่ปากตัวเองทันที ต่อหน้าต่อตาอัจฉราที่ยืนอัจฉราตาค้าง อ้าปากหวออยู่ และนั่นก็ทาให้กฤษณาต้องแพ้ยา มีผื่นขึ้นเต็มหน้าไปหมด และต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลถึง 3 วัน

ทันทีที่ออกจากโรงพยาบาล กฤษณาก็กลับมาที่แผนกวิจัย และยังคงค้นคว้ายาต้านเอดส์ต่อไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยมีผู้ช่วยวิจัยทั้งห้าแอบดูกฤษณาอยู่ห่าง ๆ ด้วยความเป็นห่วง จนเวลาผ่านไปไม่นาน ในที่สุดกฤษณาก็ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ตัวใหม่ได้ขึ้นมาได้อีก เธอเอายาเม็ดนั้นใส่ปาก เพื่อทดลองกินยานั้นด้วยตัวเองอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เธอไม่เกิดอาการแพ้เหมือนเช่นคราวก่อน ๆ ทุกคนต่างยินดีกับความสำเร็จของกฤษณา ที่คิดค้นยาต้านไวรัสเอดส์ตัวแรกได้สำเร็จ

ยาของกฤษณาที่คิดค้นขึ้นมาใหม่นี้ เป็นการรวมยาต้านไวรัสเอดส์ 3 ขนานคือ stavudine, lamivudine และ nevirapine ไว้ในเม็ดเดียวกัน และมีราคาเพียงเม็ดละ 8 บาท ถูกกว่ายาที่นำเข้าจากต่างประเทศถึง 18 เท่า โดยเธอตั้งชื่อยาตัวใหม่นี้ว่า GPO-VIR หรือเรียกยาสูตรผสมนี้ง่าย ๆ ว่า “ค็อกเทล” และเอกสารงานวิจัยคิดค้นยาต้านไวรัสเอดส์ “ค็อกเทล” ของกฤษณาก็ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก

แต่ในความโชคดีนี้ กฤษณาก็ได้พบกับความโชคร้ายแบบที่เธอไม่ทันตั้งตัว เมื่อบริษัทไบร์ตัน ไมล์ส ฟาร์มาซูติคอล ผู้ถือสิทธิบัตรตัวยาต้านรีโทรไวรัส ddl กับ stavudine ได้เข้ามาพบลิขิตและอ้างว่ากฤษณาได้ละเมิดสิทธิบัตรของเขา แม้ว่ากฤษณาจะอ้างถึงสิทธิบัตรฉบับนั้นว่าครอบคลุมยาที่ผลิตออกมาในขนาด 5 ถึง 100 มิลลิกรัมต่อหน่วยการใช้แต่ละครั้ง ขณะที่ยา ddl ที่เธอทำออกมามีขนาด 150 มิลลิกรัม แต่ตัวแทนจากบริษัทไบร์ตัน ไมล์ส ฟาร์มาซูติคอลก็ไม่ยินยอม และได้ยื่นฟ้องเอาผิดกฤษณาและองค์การเภสัชกรรมฯ โดยปลอมแปลงลบข้อความที่ระบุถึงสูตรยาในสิทธิบัตรออก

กฤษณาหนีความวุ่นวายมาพักผ่อนที่ชายทะเลในแถบจังหวัดระยอง และที่นั่นเองที่ทาให้เธอได้พบกับบาทหลวงจีโอวานนี บาทหลวงจีโอวานนีพากฤษณามายังมูลนิธิคามิลเลียน ศูนย์เลี้ยงเด็กกำพร้าที่ติดเชื้อ โดยพูดให้กำลังใจเธอ บอกเธอว่าเด็กที่ติดเชื้อทุก ๆ คนที่มูลนิธิคามิลเลียน ยังรอความช่วยเหลือจากเธออยู่ อีกทั้งยังได้อวยพรให้เธอประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวังด้วย

กฤษณาได้รับข่าวดีจากอัจฉราว่า ดร.ฟอน เชอร์น-แอรฺเกอเรอร์ หรือ ดร. ทิโด้ จากองค์กรแพทย์ไร้พรมแดน มาเสนอให้ความช่วยเหลือ กฤษณาจึงรีบกลับมาที่องค์การเภสัชเพื่อพบกับ ดร.ทิโด้ โดย ดร.ทิโด้ ยื่นข้อเสนอว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่กฤษณาในการฟ้องกลับแก่บริษัท ไบร์ตัน ไมล์ส ฟาร์มาซูติคอล ที่ได้ทำการตัดข้อความบางส่วนออกจากเอกสารสิทธิบัตรของประเทศไทย ก่อนที่จะได้รับอนุมัติจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทั้ง ๆ ที่เอกสารนั้นได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้ว ซึ่งไม่ถูกต้องตามวิธีอนุมัติสิทธิบัตรระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ดร.ทิโด้ ได้ขอให้กฤษณาผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ให้เขา โดยเขาจะรับซื้อทั้งมดเป็นข้อแลกเปลี่ยน

ขณะที่กฤษณา และผู้ช่วยวิจัยทั้ง 5 คน ที่กลับมาช่วยงานอีกครั้ง กำลังเร่งผลิตยาต้านเอดส์ให้ทันต่อยอดสั่งซื้อของ ดร.ทิโด้ พวกเขาก็ได้รับการแจ้งข่าวดีจาก ดร.ทิโด้ ว่าบริษัทบริษัท ไบร์ตัน ไมล์ส ฟาร์มาซูติคอลได้ถอนฟ้องคดีแล้ว และขอมอบสิทธิบัตรยา ddl ให้แก่ประเทศไทย กฤษณาและผู้ช่วยวิจัยทั้ง 5 คน ต่างยินดีที่กฤษณาหลุดพ้นข้อกล่าวหาและเดินหน้าผลิตยาต่อได้

ติดตามชมละคร "แสงปลายฟ้า" วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.15 - 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ละคร แสงปลายฟ้า

ล่าสุด
กำลังเล่น...
ละคร แสงปลายฟ้า : ตอนที่ 1
ละคร แสงปลายฟ้า : ตอนที่ 1
10 ก.ค. 64
ละคร แสงปลายฟ้า : ตอนจบ
ละคร แสงปลายฟ้า : ตอนจบ
11 ก.ค. 64

ละคร แสงปลายฟ้า

ล่าสุด
กำลังเล่น...
ละคร แสงปลายฟ้า : ตอนที่ 1
ละคร แสงปลายฟ้า : ตอนที่ 1
10 ก.ค. 64
ละคร แสงปลายฟ้า : ตอนจบ
ละคร แสงปลายฟ้า : ตอนจบ
11 ก.ค. 64

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด
ละครบ้านชนะใจ

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย