บ้านโคกหว่าน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ หมู่บ้านที่สร้างรายได้จากการผลิต "ข้าวเม่า" ขายตลอดทั้งปี สร้างรายได้ให้กับชุมชนสูงกว่า 30 ล้านบาทต่อปี แต่ท่ามกลางการสร้างรายได้ที่สูง ฟืนที่เป็นเชื้อเพลิงสำคัญในการทำให้ข้าวเม่าที่นี่เป็นเอกลักษณ์ กินแล้วติดใจ กลับเข้าสู่วิกฤติขาดแคลนฟืน ถึงขึ้นต้องไปหาซื้อจากโรงแปรรูปไม้ ทำให้เกิดต้นทุนที่สูง และผลที่ตามมาติด ๆ คือกำไรที่ลดลง
เมื่อป่าหัวไร่ปลายนาในชุมชนเริ่มขาดแคลน พี่มานพ, พี่วิลัย, พี่บอย และเพื่อนบ้าน อีก 5-6 คน เริ่มหันมาปรับคันนาให้กว้างขึ้น แล้วเอาไม้ป่ามาปลูกรอบ ๆ นา ท่ามกลางคนที่มาพบเห็น ต่างให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า “บ้า” คนอะไรเอาป่ามาปลูกไว้ที่นา คนอื่นเขามีแต่จะตัดออกให้หมด เพื่อทำนาได้ง่ายขึ้น
แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่อยากเห็นพื้นที่สีเขียวเกิดขึ้น อีกทั้งอยากสร้างฟืนให้กับลูกหลานที่ผลิตข้าวเม่า ไม่อยากให้อาชีพนี้หายไปเพราะทำแล้วไม่เห็นกำไร คนเหล่านี้จึงต่างก้มหน้าก้มตาสร้างป่าในนาขึ้นด้วยระยะเวลาหลายสิบปี จนปัจจุบันป่าเริ่มให้ผลตอบแทนเขาแล้ว ด้วยการเปลี่ยนนาที่เคยแห้งแล้งให้กลายเป็นพื้นที่ไม่เคยขาดน้ำ เปลี่ยนนาที่โล่งเตียนให้กลับเป็นพื้นที่เขียวขจี เป็นที่พักที่อาศัยของสรรพสัตว์ และที่สำคัญต้นไม้เหล่านี้ยังได้แบ่งกิ่งเล็ก ๆ ของตัวเองออกมาเป็นฟืน แบ่งซากใบไม้ให้กลายเป็นเห็ดเป็นปุ๋ย แบ่งรากเป็นธนาคารน้ำให้ชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี แบ่งร่มเงาให้เจ้าของได้แอบอิง และร่วมใช้ผลผลิตดอกผลที่ออกมาได้
องค์ความรู้จากการสร้างป่าในนา ยังถูกขยายแนวคิดไปถึงคนใน อ.นางรอง ให้ลุกขึ้นมาสร้างป่าในพื้นที่ว่างเปล่า ในหัวไร่ปลายนา หรือแม้กระทั่งในนาข้าว ในนาม “กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียว” กว่าร้อยคน และยังปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องป่าไปถึงลูกหลานนักเรียนในชุมชนด้วย เพื่อความยั่งยืนของป่า อาชีพการทำข้าวเม่า และผู้คนในชุมชน
ติดตามชมรายการสะเทือนไทย วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านโคกหว่าน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ หมู่บ้านที่สร้างรายได้จากการผลิต "ข้าวเม่า" ขายตลอดทั้งปี สร้างรายได้ให้กับชุมชนสูงกว่า 30 ล้านบาทต่อปี แต่ท่ามกลางการสร้างรายได้ที่สูง ฟืนที่เป็นเชื้อเพลิงสำคัญในการทำให้ข้าวเม่าที่นี่เป็นเอกลักษณ์ กินแล้วติดใจ กลับเข้าสู่วิกฤติขาดแคลนฟืน ถึงขึ้นต้องไปหาซื้อจากโรงแปรรูปไม้ ทำให้เกิดต้นทุนที่สูง และผลที่ตามมาติด ๆ คือกำไรที่ลดลง
เมื่อป่าหัวไร่ปลายนาในชุมชนเริ่มขาดแคลน พี่มานพ, พี่วิลัย, พี่บอย และเพื่อนบ้าน อีก 5-6 คน เริ่มหันมาปรับคันนาให้กว้างขึ้น แล้วเอาไม้ป่ามาปลูกรอบ ๆ นา ท่ามกลางคนที่มาพบเห็น ต่างให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า “บ้า” คนอะไรเอาป่ามาปลูกไว้ที่นา คนอื่นเขามีแต่จะตัดออกให้หมด เพื่อทำนาได้ง่ายขึ้น
แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่อยากเห็นพื้นที่สีเขียวเกิดขึ้น อีกทั้งอยากสร้างฟืนให้กับลูกหลานที่ผลิตข้าวเม่า ไม่อยากให้อาชีพนี้หายไปเพราะทำแล้วไม่เห็นกำไร คนเหล่านี้จึงต่างก้มหน้าก้มตาสร้างป่าในนาขึ้นด้วยระยะเวลาหลายสิบปี จนปัจจุบันป่าเริ่มให้ผลตอบแทนเขาแล้ว ด้วยการเปลี่ยนนาที่เคยแห้งแล้งให้กลายเป็นพื้นที่ไม่เคยขาดน้ำ เปลี่ยนนาที่โล่งเตียนให้กลับเป็นพื้นที่เขียวขจี เป็นที่พักที่อาศัยของสรรพสัตว์ และที่สำคัญต้นไม้เหล่านี้ยังได้แบ่งกิ่งเล็ก ๆ ของตัวเองออกมาเป็นฟืน แบ่งซากใบไม้ให้กลายเป็นเห็ดเป็นปุ๋ย แบ่งรากเป็นธนาคารน้ำให้ชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี แบ่งร่มเงาให้เจ้าของได้แอบอิง และร่วมใช้ผลผลิตดอกผลที่ออกมาได้
องค์ความรู้จากการสร้างป่าในนา ยังถูกขยายแนวคิดไปถึงคนใน อ.นางรอง ให้ลุกขึ้นมาสร้างป่าในพื้นที่ว่างเปล่า ในหัวไร่ปลายนา หรือแม้กระทั่งในนาข้าว ในนาม “กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียว” กว่าร้อยคน และยังปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องป่าไปถึงลูกหลานนักเรียนในชุมชนด้วย เพื่อความยั่งยืนของป่า อาชีพการทำข้าวเม่า และผู้คนในชุมชน
ติดตามชมรายการสะเทือนไทย วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live